5 พฤติกรรมที่คนขายออนไลน์ต้องเปลี่ยน

206 views

       ว่ากันว่าการ Work hard ไม่สำคัญเท่าการ Work smart ฉะนั้นแล้วถ้าอยากขายดีมีกำไร ลองสังเกตวิธีการทำงานของเราดูดี ๆ ว่าทุกวันนี้เราทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง? เริ่มจากกำจัดพฤติกรรม และสังเกตผู้ประกอบการรายอื่นๆ พร้อมวิเคราะห์ว่า แม่ค่าออไนลน์ไม่ควรทำอะไร ควรทำอะไร เพื่อจะมาปรับใช้กับธุรกิจของเราให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 วันนี้ Zort รวม 5 สิ่งที่แม่ค้าออนไลน์ไม่ควรทำ พร้อมบอกวิธีขจัด นิสัยที่ไม่ดีของแม่ค้าออนไลน์ พร้อมแล้วก็ไปชมกันเลย

 

       1.) ไม่เก็บข้อมูลลูกค้า

 

       คนไหนลูกค้าเก่า? คนไหนลูกค้าใหม่? ลูกค้าคนนี้เคยซื้ออะไรจากร้านเราไปบ้าง? หากร้านค้าไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ เพราะไม่เคยเก็บข้อมูลเลย ให้รู้ตัวได้แล้วนะว่าต้องเปลี่ยนด่วน! เพราะข้อมูลลูกค้ามีความสำคัญมากโดยเฉพาะกับธุกิจขนาดเล็กที่ต้องการสร้างฐานลูกค้าให้แข็งแกร่ง ความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าคือจะทำให้เราวางแผนการทำการตลาดได้ง่ายขึ้น เพราะสามารถสื่อสารหรือทำโปรโมชั่นได้ตรงกับ Target และเพิ่มโอกาสในการขายได้ ฉะนั้นหาเครื่องมือมาช่วยเก็บข้อมูลลูกค้ากันด้วยนะ 

 

       2.) บันทึกสต๊อกบนกระดาษ/Excel

 

       ปี 2020 แล้ว ยังใช้วิธีบันทึกสต๊อกสินค้าของตัวเองลงบนกระดาษอยู่อีกเหรอ? รู้มั้ยว่าการบันทึกสต๊อกแบบนี้เป็นอะไรที่เสี่ยงสุด ๆ เสี่ยงทำข้อมูลหาย เสี่ยงลืมบันทึกสต๊อก เสี่ยงทำสต๊อกมั่ว หรือแม้แต่การใช้โปรแกรมยอดฮิตอย่าง Microsoft Excel เองก็เสี่ยงเช่นกัน ไหนจะต้องระวังมือลั่นคีย์ข้อมูลทับซ้อน ข้อมูลตกหล่น ใส่สูตรผิด หรือเผลอกดลบ จะดีกว่ามั้ย? ถ้าร้านค้าเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมมาตรฐานที่ออกแบบมาไว้สำหรับจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้าโดยเฉพาะ เพราะนอกจากจะช่วยลดความผิดพลาดแล้ว ยังทำงานง่ายขึ้นด้วยระบบ sync สต๊อกสินค้าจากทุกช่องทางการขายให้ตรงกัน ไม่ต้องเสียเวลาอัพเดตเองอีกด้วย

 

       3.) คำนวณกำไรและยอดขายแบบคร่าว ๆ

 

       ขายของมานาน แต่ไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้วยอดขายหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสรุปรวมเป็นกำไรจริง ๆ เท่าไหร่ แบบนี้แย่แน่ ๆ การคำนวณกำไร ไม่ได้มีแค่นำยอดขายมาลบกับต้นทุนของสินค้าเท่านั้น แต่ยังต้องคำนวณค่าใช้จ่ายยิบย่อยที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง ค่าคอมมิชชั่น ค่าอุปกรณ์แพ็คของ ค่า operation cost ต่าง ๆ ซึ่งหากร้านค้าไม่ทำการบันทึกไว้ จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าแท้ที่จริงแล้วร้านค้าได้กำไรเท่าไหร่กันแน่ ดังนั้นร้านค้าควรทำการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้หรือหาระบบที่สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นและรายงานกำไรที่แท้จริงให้รู้ได้ทันที

 

        4.) ไม่รู้มูลค่าสต๊อกของตัวเอง/สต๊อกจมทุน

 

       ขายของทุกวัน แต่ไม่เคยเช็คว่าสินค้าไหนขายไม่ออก ขายวนอยู่แค่สินค้าเดิม ๆ บางคนอาจมองว่าไม่เห็นจะเป็นไร ของก็อยู่เฉย ๆ ไม่ได้หายไปไหน ไม่ใช่ของที่หมดอายุได้ ไม่เห็นจะต้องกังวล แต่รู้หรือไม่ว่าสต๊อกสินค้าที่ขายไม่ออกนั้นมีเงินของเราไปจมอยู่ตรงนั้นเท่าไหร่? ปล่อยทิ้งไว้ก็เท่ากับว่าแทนที่เราจะได้นำเงินตรงส่วนนั้นไปหมุนเวียนธุรกิจในส่วนอื่น ๆ แต่เงินของเรากลับไปกองอยู่นิ่ง ๆ แถมยิ่งทิ้งไว้นานมูลค่าก็ยิ่งลดลงไปอีก เพราะสินค้าอาจจะเสื่อมลงตามกาลเวลาได้ แบบนี้ต้องรีบหาวิธีมาระบายสต๊อกออกด่วน ๆ 

 

       5.) ไม่มีระบบหรือขั้นตอนในการแพ็ค

 

       ได้ออเดอร์มาก็แพ็คลูกเดียว หยิบชิ้นนี้ใส่กล่องนั้น อันนั้นเอามาเพิ่มในกล่องนี้ พอปิดกล่องจะแปะใบส่งของ อ้าว! กล่องนี้ของออเดอร์ไหนกันนะ? หยุดวางแผนสักหน่อยดีกว่าไหม ลองวางระบบหรือวางแผนขั้นตอนการแพ๊คของอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานแล้ว ยังช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการแพ็ค โดยอาจใช้ Packing List หรือหากร้านค้ามีคลังสินค้าขนาดใหญ่ก็อาจหาระบบ Serial Number มาช่วยในการหยิบแพ็คของ ก็จะทำลดความผิดพลาดในการทำงานได้อย่างดีเลย 

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x