คนทำอีคอมเมิร์ซควรรู้ ! เลข SKU คืออะไรและทำไมถึงต้องมี?
คุณกำลังประสบปัญหาในการจัดการสต๊อกสินค้าหรือไม่ ? หากใช่ คุณกำลังเดินมาเจอกับทางที่จะช่วยคุณแก้ปัญหาในจัดสต๊อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านระบบที่เรียกว่า SKU ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า SKU คืออะไร แล้วต่างจากรหัสสินค้าอย่างไร พร้อมประโยชน์ที่คุณจะได้รับและตัวอย่าง รวมถึงสิ่งที่คุณควรคำนึงเมื่อสร้าง SKU ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีระบบการจัดสต๊อกที่แข็งแรง ตรวจนับสินค้าได้ไวขึ้น
SKU คืออะไร
SKU ย่อมาจาก Stock Keeping Unit คือ หน่วยที่ใช้จำแนกประเภทสินค้าที่ช่วยแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นและช่วยติดตามสินค้าในคลังว่ามีจำนวนคงเหลือเท่าไร
ยกตัวอย่างเช่น
ร้านขายเสื้อยืดซึ่งมีทั้งหมด 4 ขนาดได้แก่ S, M, L และ XL และมีสีให้เลือกทั้งหมด 5 สี คือ ขาว ดำ กรม แดง และเหลืองซึ่งทั้งขนาดและสีจะมีการนำ SKU มาใช้เพื่อแยกสินค้าให้ละเอียดมากขึ้นและทุกผลิตภัณฑ์ต้องมี SKU ของตัวมันเอง
แล้ว SKU ต่างกับรหัสสินค้าอย่างไร
ปัญหาที่พบบ่อย คือ หลายคนไม่รู้ว่า SKU กับ Parent SKU คือรหัสสินค้าต่างกันโดยรหัสสินค้าจะสามารถกำหนดได้เพียง 1 รหัสต่อ 1 รายการ แต่หากสินค้านั้น ๆ มีรายละเอียดย่อยลงไป เช่น ขนาด ลวดลาย สี ก็จะไม่สามารถใช้รหัสสินค้าแบ่งได้ซึ่งหากจะรู้จำนวนแต่ละแบบที่แน่ชัด เช่น มีเสื้อไซซ์ M สีดำกี่ตัวก็จะต้องอาศัยระบบ SKU เข้ามาเป็นตัวช่วยในการติดตามจำนวนสินค้าเพื่อให้ได้ความละเอียดและแม่นยำขึ้น
ตัวอย่าง ร้านขายรองเท้าสนีกเกอร์
Parent SKU (รหัสสินค้า) จะมีรองเท้า AD ที่มี 4 รุ่น คือ รุ่น 001, 002, 003 และ 004 จึงมีการกำหนดรหัสสินค้าออกเป็น 4 อันคือ AD001, AD002, AD003 และ AD004
Stock Keeping Unit (SKU) ซึ่งรองเท้า AD แต่ละรุ่นมี 3 ไซซ์ คือ 38, 39, 40 และมี 2 สีคือ ขาวและดำ โดยรหัส SKU จะเป็น
Product | |||
AD001 SKU | AD002 SKU | AD003 SKU | AD004 SKU |
AD001 Black 38 AD001 Black 39 AD001 Black 40 AD001 White 38 AD001 White 39 AD001 White 40 | AD002 Black 38 AD002 Black 39 AD002 Black 40 AD002 White 38 AD002 White 39 AD002 White 40 | AD003 Black 38 AD003 Black 39 AD003 Black 40 AD003 White 38 AD003 White 39 AD003 White 40 | AD004 Black 38 AD004 Black 39 AD004 Black 40 AD004 White 38 AD004 White 39 AD004 White 40 |
6 ประโยชน์ที่คุณจะได้รับหากใช้ระบบ SKU ในการจัดการสต๊อกสินค้า
- อัพเดตระบบสต๊อกได้แม่นยำ ช่วยลดการจัดการสต๊อกจำนวนมากที่มีเป็นเรื่องยากและมีโอกาสเกิดความผิดพลาดให้ไม่เกิดขึ้นด้วยระบบ SKU ที่มีตัวเลือกระบุตัวตน หรือจำแนกสินค้าแต่ละรายการตามยี่ห้อ ขนาด สี ผู้ผลิต หรือตัวเลขบนบาร์โค๊ดให้มีความละเอียดแม่นยำมากขึ้นและระบบก็จะตัดสต๊อกตาม SKU ที่มีการสั่งซื้อไป
- วางแผนการตลาดได้ง่ายขึ้น สามารถนำไปวางแผนการตลาดเพื่อดึงเอาสินค้าขายดีมาเป็นจุดเด่นชูร้าน หรือทำโปรโมชั่นสินค้าบางตัวที่ขายออกยากได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า โดยการจำแนกสินค้าแต่ละประเภทบนชั้นวาง ติดแท๊กเพื่อหาสินค้าได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดความรวดเร็วและบริหารสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม เพราะ SKU จะช่วยให้เรารู้ว่าสินค้าไหนกำลังจะหมดและสามารถสั่งซื้อของมาเติมได้ทันซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายอย่างต่อเนื่องและรู้ก่อนทำให้ลูกค้าที่กำลังตามหาจากบางร้านที่ของหมดและต้องการหาสินค้าตัวเดียวกันก็ได้เข้ามาเลือกซื้อกลายเป็นลูกค้าในอนาคตได้
- นำข้อมูลไปวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อได้ เช่น ช่วงนี้รองเท้ายี่ห้อไหนขายดี ไซซ์ที่ซื้อส่วนใหญ่ขนาดเท่าไร สีอะไรซึ่งข้อมูลเหล้านี้จะนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อเพื่อนำมาปรับปรุงการขายสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและตรงตามความต้องการของผู้ซื้อมากขึ้น
- ให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพราะมีระบบติดตามทำให้เห็นว่าสินค้าในคลังมีอยู่เท่าไรและทุกครั้งที่มีการขายจะมีการอัพเดตสินค้าที่เหลือแบบเรียลไทม์ทำให้ได้ข้อมูลอัพเดตตลอดเวลา
3 สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อสร้าง SKU
แม้ระบบ SKU จะมีประโยชน์อย่างมากในการจัดสต๊อกสินค้าในคลังสินค้าตามโรงงาน ร้านค้า หรือสถานที่จัดเก็บต่าง ๆ แต่ก็ยังมีสิ่งที่อยากให้ผู้ใช้งานคำนึง 3 ข้อเมื่อเริ่มต้นใช้งานระบบ SKU
- การกำหนด Keyword ต้องไม่ซ้ำ ซึ่งควรหาคีเวิรโอะไรบางอย่างที่บอกว่าสินค้าคืออะไรและตั้ง SKU ไม่ให้ซ้ำเพราะถ้าหากซ้ำจะเกิดปัญหาเรื่องการในการหยิบสินค้าที่อาจจะผิดรุ่น ผิดสี หรือผิดยี่ห้อได้
- ตั้ง SKU ให้สั้น เพราะหากยาวจะทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดกันได้ง่าย
- เลี่ยงเลขศูนย์ ซึ่งเป็นเลขที่นิยมใช้ตั้งต้นสินค้า แต่อย่าลืมว่าหลาย ๆ ระบบอาทิ Excel จะมีการตัดเลขศูนย์ตัวแรกออกทุกครั้งทำให้เมื่อพนักงานต้องไปหาสินค้าอาจจะไม่เจอ
แล้วจะตั้ง SKU อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ?
หากนำหลักการทั้ง 3 อย่างจากข้างต้นคือการกำหนด Keyword ต้องไม่ซ้ำ ชื่อ SKU ต้องสั้นและเลี่ยงเลขศูนย์ตัวแรกแล้วนำมาใช้ในการจัดการสต๊อกสินค้าร้านขายรองเท้าสนีกเกอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
โดยกำหนดร้ายขายรองเท้าสนีกเกอร์จะมีรองเท้า AD ที่มี 4 รุ่น 3 ไซซ์ (38,39,40) 2 สี (ขาวดำ) ซึ่งอาจจะตั้ง SKU เป็น
- AD138W คือ รองเท้า AD รุ่น 1 ไซซ์ 38 สีขาว
- AD239W คือ รองเท้า AD รุ่น 2 ไซซ์ 39 สีขาว
- AD440B คือ รองเท้า AD รุ่น 4 ไซซ์ 40 สีดำ
- AD340W คือ รองเท้า AD รุ่น 3 ไซซ์ 40 สีขาว
คงจะพอเข้าใจระบบ Stock Keeping Unit หรือเลข SKU ที่จะเข้ามาช่วยในการจำแนกสินค้าแต่ละรายการให้มีความละเอียดแม่นยำมากขึ้นทำให้จัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนำไปสู่การต่อยอดที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในการวางแผนเติมสต๊อกสินค้าได้ทันตามความต้องการ คัดสินค้าที่ขายยากมาทำโปรโมชั่นเพื่อปล่อยสินค้าออกได้เร็วขึ้นด้วยระบบการอัพเดตสต๊อกแบบเรียลไทม์ทำให้คนทำงานง่ายและสินค้ากระจายสู่มือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
แต่ก็ต้องคำนึงถึงการสร้าง SKU ที่ต้องคีเวิร์ดไม่ซ้ำ รหัส SKU สั้นและเลี่ยงเลข 0 ตัวแรกที่ยิ่งช่วยให้ระบบการจัดการสต๊อกสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 02-026-6423
Line: @zort