วิธีสมัครขายของในลาซาด้าด้วยมือถือ พร้อมทริคในการขายให้ปังตั้งแต่เริ่ม
การเปิดร้านใน Lazada จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและการเป็นที่รู้จักให้กับแบรนด์หน้าใหม่ได้ไม่มากก็น้อย โดยแนวโน้มการเติบโตของตลาดอีคอมเมิรซ์ที่พุ่งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย ทำให้ร้านค้าควรเริ่มปรับตัวเข้าสู่การขายบนช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ในบทความชิ้นนี้ เราจึงได้รวบรวมวิธีการขายของในลาซาด้าชนิดเริ่มตั้งแต่การสมัครเปิดร้านไปจนถึงการลงขายสินค้าด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว รวมถึงเอาเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการสร้างร้านให้โดดเด่นมาฝากเหล่าพ่อค้าแม่ขายมือใหม่กัน
วิธีสมัครและเปิดร้านใน Lazada ด้วยมือถือ Step by Step
Step 1: เข้าไปดาว์นโหลดแอป Lazada Seller Center
เลือกดาว์นโหลดบน IOS หรือ Android
Step 2: ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ กรอกรหัส OTP
2.1 ทำการลงทะเบียนอีเมล์ ตั้งรหัสผู้ใช้
2.2 กรอกที่อยู่ร้านค้า
2.3 ส่งเอกสารเพื่อยืนยันตัวตน ได้แก่ ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชนและหน้าสมุดบัญชีที่มีชื่อตรงกัน
Step 3: รอการยืนยันตัวตนจากทาง Lazada ใช้เวลา 3-5 วัน
Step 4: เพิ่มสินค้าชิ้นแรกได้ทันที (ไม่จำเป็นต้องรอการ Verify ร้านค้า)
วิธีลงขายของใน Lazada แบบ Step by Step
Step 1: เข้าไปที่แอป Lazada Seller Center ไปที่แถบ ‘เครื่องมือ’ และเลือก ‘เพิ่มสินค้า’
Step 2: เพิ่มรูปภาพสินค้าหรือวิดีโอ
2.1 เพิ่มรูปภาพ โดยสามารถเลือกลงได้สูงสุด 8 รูปภาพ/วิดีโอ ในขั้นนี้แนะนำว่าให้ใส่ให้ครบจะเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย
2.2 เลือกรูปภาพปกด้วยการกดไปที่รูปภาพที่ต้องการ แล้วติ๊กเลือก ‘รูปภาพหลัก’ ที่มุมล่างขวา
Step 3: ใส่ชื่อสินค้า เพิ่มรายละเอียดสินค้า และทำการเลือกหมวดหมู่ให้ถูกต้อง
Step 4: เพิ่มราคาขายต่อชิ้น และจำนวนสินค้าที่มีอยู่ในคลัง
Step 5: เพิ่มข้อมูลการจัดส่ง
1.1 เพิ่มข้อมูลแพ็คเกจ ระบุน้ำหนักสินค้า (สินค้าและกล่องบรรจุ)
1.2 เพิ่มขนาดของแพ็คเกจ (กว้าง x ยาว x สูง) โดยใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร
Step 6: เมื่อใส่ข้อมูลทุกอย่างเรียบร้อยให้กดยืนยัน
สินค้าที่ลงขายเรียบร้อย เราสามารถกดดูรายละเอียดหรือทำการแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยเลือกไปที่ > เครื่องมือ > ผลิตภัณฑ์
คำถามยอดฮิต–ขายของในลาซาด้าต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม?
การเปิดร้านขายสินค้าใน Lazada มีข้อดีตรงที่เจ้าของร้านไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชันในการขาย (สำหรับ Local Seller) อย่างไรก็ตามลาซาด้ามีการคิดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขายตามรายละเอียดต่อไปนี้
- ค่าธรรมเนียมคงที่ ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ ร้านค้าต้องจ่ายต่อเมื่อมีการขายเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
1. ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 3%* (ฟรีสำหรับผู้ขายใหม่นาน 1 เดือน
2. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส 1% ของราคาขาย (ราคาสินค้า-ส่วนลดสินค้า) ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (ฟรีสำหรับผู้ขายใหม่นาน 1 เดือน)
3. ค่าคอมมิชชัน 5%* (เฉพาะผู้ขาย Lazmall)
- ค่าธรรมเนียมไม่คงที่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการสมัครใช้บริการส่งเสริมการขายต่าง ๆ ของทางร้านค้าเอง
1. ค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรีพิเศษกับลาซาด้า 5% ของราคาขายสินค้าต่อชิ้นสูงสุดไม่เกิน 199 บาท (ฟรีสำหรับผู้ขายใหม่นาน 1 เดือน)
2. ค่าธรรมเนียมโปรแกรมเงินคืนทุกวัน Daily Cashback 3% ของราคาขายสินค้าต่อชิ้นสูงสุดไม่เกิน 100 บาท (ฟรีสำหรับผู้ขายใหม่นาน 1 เดือน)
3. ค่าธรรมเนียมจากโบนัสที่ลูกค้าใช้ในโปรแกรมลาซาด้าโบนัส โดยผู้ขายจ่าย 50% ของส่วนลดโบนัสที่ลูกค้าได้รับ
นอกเหนือจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายที่ร้านตัดสินใจออกเองเพิ่มเติม เช่น โปรโมชันส่วนลดต่าง ๆ การแจกคูปอง การให้สิทธิส่งฟรีเมื่อซื้อถึงยอดขั้นต่ำ หรือการโปรโมทสินค้ากับพาร์ทเนอร์ เป็นต้น
ทริคแนะนำ ขายของในลาซาด้ายังไงให้ปัง
- ตกแต่งหน้าร้านให้น่าเข้าชมด้วยเครื่องมือของลาซาด้า
การที่ร้านค้ามีแบนเนอร์โปรโมชัน โลโก้แบรนด์และภาพสินค้าที่สวยงาม ใส่ข้อมูลครบถ้วน จะเพิ่มโอกาสให้ร้านค้าปรากฎบนหน้าค้นหาได้มากขึ้น อีกทั้งทำให้ร้านค้าดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
- ตั้งเป้าหมายพร้อมเรียนรู้การใช้เครื่องมือเพื่อตรวจสอบกลยุทธ์
ใน Lazada Seller Center จะมีแถบตัวชี้วัดและเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบข้อมูลของร้านค้า ทำให้ผู้ขายสามารถเช็คได้ว่าในแต่ละเดือนมีผู้ใช้เข้ามาเยี่ยมชมร้านมากน้อยขนาดไหน ความพึงพอใจเป็นอย่างไร สินค้าไหนที่ขายดีเป็นพิเศษ ข้อมูลพวกนี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนเพื่อเพิ่มยอดขายได้ดีกว่า
- เข้าร่วมแคมเปญส่งเสริมการขายกับลาซาด้า
ถึงแม้ว่าการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการขายอาจมีค่าธรรมเนียมบางส่วนที่เราต้องเสียเพิ่ม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าหาเราได้มากขึ้นอีกเท่าตัว นอกจากนี้ ทางลาซาด้าจะเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มในกรณีที่มีการขายเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น ลองใช้บริการส่งเสริมการขายเหล่านี้ดูก่อนก็ไม่เสียหาย
- อย่าประมาทด่านสุดท้าย ทางเลือกในการชำระเงินสำคัญมาก
เชื่อหรือไม่ว่า แค่เพียงร้านค้ามีช่องทางการชำระเงินแบบตัดบัตรเครดิต จะเพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากขึ้นถึง 30% เลยทีเดียว ฉะนั้นแล้ว ร้านค้าควรมีทางเลือกในการชำระเงินที่หลากหลายพร้อมให้บริการเสมอ
- อย่าละเลยการใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า
ตอนที่เพิ่มรายละเอียดสินค้า ควรระบุสเปคของสินค้าให้ละเอียดมากที่สุด นอกจากนี้ควรมีการใส่แฮชแทกคำที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าลงไปด้วย เช่น หากเปิดร้านขายแก้ว ก็อาจจะเพิ่ม #แก้วกาแฟ #ถ้วยใส่กาแฟ #แก้วน้ำ #แก้วมีหู ลงไปในส่วนรายละเอียดด้วย การระบุเช่นนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมองเห็นสินค้าของเราเมื่อมีการค้นหามากขึ้น
Lazada เป็นแพลตฟอร์มที่มียอดผู้ใช้รายเดือนมากถึง 35.2 ล้านผู้ใช้ และมีจุดเด่นสำหรับฝั่งผู้ขายอยู่ที่เรื่องเครื่องมือในการจัดการร้านที่ครบครัน เรียกได้ว่าผู้ประกอบการคนไหนเข้ามาสมัครขายของในนี้ย่อมสร้างโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจได้อย่างแน่นอน หากใครที่กำลังคิดอยากเปิดร้านลงขายสินค้าในลาซาด้าอยู่ ก็สามารถเปิดบทความนี้ควบคู่เพื่อใช้เป็นคู่มือได้เลย โดยหากใครมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อศูนย์บริการผู้ขายได้ที่เบอร์ 02-018-0200 ได้ทุกวันจันทร์ถึงเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00-22.00 น.
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
โทร 02.026-6423
Line: @zort