รู้ก่อน! ธุรกิจ OEM ODM OBM ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน?

2,539 views

ไขทุกข้อสงสัย ธุรกิจ OEM ODM OBM แบบไหนดีกว่ากัน?

 

หากคุณคือหนึ่งในคนที่กำลังวางแผนจะเริ่มต้นสร้างแบรนด์เป็นของตนเองและกำลังวางแผนที่จะผลิตสินค้าแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ZORT จะพาคุณผู้อ่านไปทำความเข้าใจว่า ธุรกิจ OEM ODM OBM ที่ใช้โรงงานผลิตสินค้านั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ผ่านการเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละธุรกิจ ซึ่งแบบไหนจะคุ้มกว่ากันไปติดตามได้เลย

 

 

ธุรกิจ OEM ODM และ OBM คืออะไร ?

 

OEM คืออะไร

 

เริ่มต้นกันที่ OEM ย่อมาจาก Origianl Equipment Manufacturer เป็นคำที่หลายคนอาจจะคงรู้สึกคุ้นหูอยู่บ้างซึ่ง โดยจะทำหน้าที่เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง  พร้อมติดชื่อแบรนด์ หรืออาจจะไม่ติดชื่อก็ได้โดยขึ้นอยู่ตามความต้องการของลูกค้า (Customer) ส่วนกระบวนการผลิตจะเริ่มตั้งแต่ต้นไปจนจบ คือตั้งฝ่ายผลิตไปจนถึงแพ็คเกจจิ้งต่าง ๆ ทำให้ผู้จ้างประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก แถมเสี่ยงน้อยและให้ผลการตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า

 

สรุปง่าย ๆ โรงงาน OEM คือจะไม่เน้นสร้างแบรนด์ให้ตนเอง แต่จะเน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการกำลังผลิตปริมาณไม่มากนัก – ปานกลาง หรือแบรนด์ที่ยังไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง

 

OBM คืออะไร

 OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturer จะเป็นการมุ่งเน้นผลิตสินค้าของตนเองออกมา โดยแบรนด์จะค่อนข้างมีความมั่นคง มีความแข็งแรงมากพอ มีความต้องการผลิตจำนวนมากซึ่งโรงงานมีประสิทธิภาพในการตอบโจทย์ผลิตสินค้าและบริการอย่างเต็มที่ อีกทั้งการเลือกสร้างโรงงาน OBM เองจะช่วยในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตได้ดี

 

ODM คืออะไร

ทิ้งท้ายด้วย ODM ย่อมาจาก Original Design Manufactuere จัดเป็นผู้รับจ้างในการออกแบบผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทฯ เพื่อนำไปขายในแบรนด์ตนเองซึ่งค่อนข้างคล้ายคลึง OEM แต่จะแตกต่างตรงที่ผู้รับจ้างสามารถพัฒนารูปแบบสินค้า รวมถึงการนำเสนอขายได้ทั้งลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือจะมาออกแบบร่วมกันซึ่งลูกค้าจะสามารถกระจายและขายสินค้าได้เองและอีกหนึ่งความพิเศษของโรงงาน ODM คือสามารถออกแบบเฉพาะราย (Exclusive) หรือจะให้สิทธิได้หลาย ๆ รายเพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายให้ถูกลงก็ได้เช่นเดียวกัน

 

 

 

OEM ODM และ OBM ต่างกันอย่างไร?

 

ต่อมาจะเป็นการเทียบข้อดี – ข้อเสียของธุรกิจ OEM ODM และ OBM ว่ามีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร

 

โรงงานข้อดี ข้อเสีย
OEM
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตนเอง 
  • ง่ายต่อการดูแล พัฒนา เปลี่ยนลักษณะธุรกิจ หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ 
  • มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทางการผลิตสินค้าและบริการ 
  • เหมาะกับแบรนด์ที่พึ่งเริ่มต้น มียอดคำสั่งซื้อ หรือยอดการผลิตไม่สูงมาก (ประหยัดค่าใช้จ่าย)
  • ง่ายต่อการย้ายฐานการผลิต 
  • ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูงหากเทียบกับการมีโรงงานผลิตเอง
  • สูตรอาจจะคุณภาพไม่ต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก หากเลือกใช้สูตรกลางจากโรงงาน 
OBM
  • มีโรงงานในการผลิตสินค้าเป็นของตนเอง
  • สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก ๆ 
  • ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง 
  • สามารถปรับกลยุทธ์ สูตรการพัฒนา หรือกระบวนการต่าง ๆ ได้ตลอด 
  • ไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาเนื่องจากผลิตออกแบบเองทุกขั้นตอน 
  • ใช้ต้นทุนในการก่อสร้างโรงงานที่ค่อนข้างสูง
  • ย้ายฐานการผลิตยาก 
ODM
  • เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นทำแบรนด์
  • ไม่ต้องออกแบบเอง แต่สามารถขายได้เลย 
  • หากเลือกแบบ Exclusive จะได้แบรนด์ที่ไม่ซ้ำใคร 
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ ย้ายฐานการผลิตได้ง่าย
  • ไม่ต้องมีแบรนด์เป็นของตนเอง 
  • มีทีมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ภาระค่าใช้จ่ายจากต้นทุนในการผลิตที่ค่อนข้างสูงกว่าโรงงานประเภทอื่น ๆ 

 

5 หลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการเลือกโรงงาน

 

ทิ้งท้ายด้วย 5 หลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการเลือกโรงงานสำหรับการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ ยกตัวอย่างการเลือกโรงงงานเพื่อผลิตสินค้าหมวดหมู่การเสริมความงามต่าง ๆ 

 

  1. โรงงานดี มีครบ ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโรงงานควรเลือกที่มีการช้วยพัฒนา คิดค้นสูตรให้ลูกค้า ได้สูตรลับเฉพาะ เสริมความโดดเด่น หรือแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ หรือสามารถดูแลได้ครบตั้งแต่การผลิตจนส่งมอบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อวางขายกระจายสู่ท้องตลาด

     

  2. มีมาตรฐานรับรอง ต่อมาก็ต้องมีความน่าเชื่อถือซึ่งการเลือกโรงงานก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของส่วนผสมที่ใช้ว่าได้คุณภาพตรงตามต้องการหรือไม่ รวมถึงมีเอกสารรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

     

  3. มีทีมดูแลและให้คำปรึกษา เพราะลูกค้าจะได้ทราบถึงกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนผ่านการให้คำปรึกษาตั้งแต่การวิจัย พัฒนา จนเกิดเป็นสูตรสู่การนำไปออกเป็นผลิตภัณฑ์จะได้ต้องมั่นใจว่าได้ตรงตามความต้องการ ตลอดจนการดูแลด้านการขายหลังออกวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์

     

  4. ทดสอบก่อนวางขาย โรงงานที่ดีจะต้องมีการทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนวางขายเสมอว่าผู้ใช้มีอาการแพ้ หรือระคายเคืองระหว่างใช้งานหรือไม่และยังถือเป็นการทดสอบความพึงพอใจของลูกค้าก่อนวางขาย

     

  5. ต้องมีเครื่องหมาย อย.  และที่พลาดไม่ได้เลยคือทุกสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอาง อาหาร และยาต่าง ๆ ควรมีเครื่องหมายอย. รับรองโดยการแจ้งจดทะเบียนซึ่งหากเลือกโรงงานดี มีทีมให้คำปรึกษาจะช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากในการขอยื่นเอกสารให้เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น

 

 

หากคุณคือหนึ่งในผู้สร้างแบรนด์ หรือกำลังมองหาธุรกิจ OEM ODM OBM เพื่อนำมาพิจารณาเลือกเป็นโรงงานผลิตแบรนด์สินค้าคงจะพอเห็นความแตกต่างแล้วว่าธุรกิจ OEM และ OBM จะเหมาะกับแบรนด์ที่เริ่มต้น ยังไม่มีปริมาณการผลิตสินค้ามากนัก หรือต้องการผลิตสินค้าแบบ Exclusive โดยเฉพาะ ส่วน ODM จะเหมาะกับแบรนด์ที่มั่นคงมากกว่าและมีกำลังในการสร้างโรงงานเองซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลตได้ค่อนข้างเยอะ

 

ทำให้สิ่งที่ต้องพิจารณาวันนี้ก่อนเลือกโรงงานผลิต หรือสร้างโรงงานเองคือการถามถึงศักยภาพของแบรนด์ว่าอยู่ในขั้นไหนซึ่งถ้าหากไม่รู้ หรืออยากให้มีทีมที่ช่วยจัดการระบบจัดการร้านค้าครบวงจรโดยทีมผู้เชี่ยวชาญสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x