เช็กอาการ Burnout ภาวะหมดไฟในการทำงาน ควรรับมืออย่างไรดี?

666 views

รับมือ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน จะไปต่อหรือพอแค่นี้?

วันนี้ ZORT ชวนทุกคนมารู้จักโรค Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นโรคใหม่ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งมีผลพ่วงจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน ด้วยอาการของโรคนี้ไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าปล่อยไว้สะสมนานจนเกินไป อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น ใครที่เคยรู้สึกเบื่อหน่าย เครียด หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดโกรธง่าย อารมณ์แปรปรวน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน นั่นอาจจะเป็นสัญญาณของโรคนี้ เรามาดูสิว่า ภาวะหมดไฟ คืออะไร อาการเป็นยังไง และมีวิธีรับมืออย่างไร อ่านไปพร้อมกันเลย

Burnout Syndrome คืออะไร?

Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดสะสมเรื้อรัง ภาระงานหนักเกินไป ทำให้รู้สึกกดดัน และไม่ได้รับการจัดการที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจทางด้านอารมณ์ ไม่มีความสุข หมดแรงจูงใจที่จะทำงาน ซึ่งหมดไฟในการทํางานลาออกจากงาน สุดท้ายก็ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดภาวะหมดไฟในการทํางาน

จริงอยู่ที่ว่าภาวะหมดไฟเกิดมาจากการทำงาน แล้วต้องการทำงานขนาดไหนถึงจะทำให้คนเราอยู่ในภาวะหมดไฟในการทํางานได้ สรุปสั้น ๆ มาให้ดังนี้

  • ได้รับมอบหมายภาระงานที่หนักเกินไป
  • มีปริมาณงานของงานมากเกินความรับผิดชอบ
  • งานด่วน งานเร่งรีบ งานซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
  • ผลตอบแทนที่ได้รับไม่เหมาะสมกับงานที่ได้ทำและทุ่มเท
  • ขาดอำนาจในการตัดสินใจในงานที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น
  • ขาดความยุติธรรม ความเชื่อใจ และการยอมรับในการทำงาน
  • รู้สึกว่าตัวเองไม่มีตัวตนในที่งาน หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมเลย
  • มีปัญหาในการเรียงลำดับความสำคัญของงาน ไม่สามารถจัดการได้
  • มีความคาดหวังสูง ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และพยายามควบคุมทุกอย่างให้ได้อย่างที่ต้องการ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค Burnout Syndrome

  • พนักงานออฟฟิศ
  • หัวหน้างานหรือผู้จัดการ
  • ผู้บริหารที่จะต้องแบกรับหน้าที่ที่หนักจนเกินไป
  • กลุ่มคนที่ทำงานอยู่บ้านก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน เช่น แม่บ้าน
  • คนที่ใช้ชีวิคจริงจังเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism)

ภาวะหมดไฟในการทํางาน แบ่งกี่ระยะ มีอะไรบ้าง?

Burnout Syndrome หรือ ภาวะของการหมดไฟในการทำงาน เหมือนโรคทั่วไป ที่มีแบ่งระยะต่าง ๆ ซึ่งภาวะหมดไฟ ตั้งแต่เริ่มต้นจนนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทํางาน โดยแบ่งเป็น 5 ระยะดังต่อไปนี้

1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon)

นับเป็นช่วงเริ่มแรก คือ ช่วงเริ่มงาน คนกำลังมีไฟในการทำงาน จึงทำด้วยความตั้งใจ เต็มที่กับทุกงาน เสียสละเพื่องานให้เต็มที่ และพยายามปรับตัวเองให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานและองค์กร

2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening)

แน่นอนเมื่อเริ่มทำงานสักระยะ ก็ต้องมีความคาดหวังต่อสิ่งที่ทำ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ความคาดหวังนั้น ไม่ใช่สิ่งที่คิด เริ่มรู้สึกว่างานทำกำลังอยู่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ค่าตอบแทนที่ได้รับ และการที่ไม่ได้เป็นยอมรับของเพื่อนร่วมงาน หรือองค์กร ไม่สามารถบริหารจัดการงานได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า

3. ระยะไฟตก (brownout)

คนทำงานเริ่มรู้สึกถึงความเบื่อหน่าย เครียด เหนื่อยล้าเรื้อรัง และมีความอารมณ์ที่หงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน จนเริ่มหาทางออกด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เพื่อจะได้หนีปัญหาสิ่งที่ขับข้องใจ เช่น ดื่มสุรา ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย โดยส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เริ่มมีการแยกตัวออกจากเพื่อนร่วมงาน มีการนินทาถึงองค์กรหรือบริษัทตัวเอง

4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout)

พอเข้าถึงระยะภาวะหมดไฟเต็มที่ เป็นช่วงที่คนทำงานเริ่มรู้สึกตัวเองสิ้นหวังหมดอะไรตายอยาก รู้สึกตัวเองเป็นคนที่ล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการของภาวะหมดไฟในการทํางาน

5. ระยะฟ้ืนตัว (the phoenix phenomenon)

ส่วนระยะนี้คือเป็นช่วงการฟื้นตัว ด้วยการหาอะไรทำเพื่อเป็นการผ่อนคลาย พักผ่อนให้เต็มที่ เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความตรึงเครียดจากการทำงาน ซึ่งข้อดียังช่วยให้คุณสามารถจัดการระบบระเบียบต่าง ๆ ในการทำงาน มีแรงบันดาลใจ และกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ด้วย

เช็กสัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการทำงานมีอะไรบ้าง

ใครกำลังสงสัยว่าตัวเองอยู่ในภาวะหมดไฟในการทํางานหรือไม่ ให้ลองสังเกตและเช็กว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ดังนี้

อาการด้านอารมณ์

  • หดหู่
  • เศร้า
  • อารมณ์แปรปรวน
  • หงุดหงิด โมโหง่าย
  • ไม่พอใจในงานที่ทำ
  • รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง
  • รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ
  • ไม่มีความสุขในการทำงาน

อาการทางด้านความคิด

  • ระแวงง่ายมากขึ้น
  • ชอบโทษคนอื่นตลอด
  • มองคนอื่นในแง่ลงและแง่ร้าย
  • ไม่ชอบเผชิญกับปัญหา เลี่ยงปัญหา
  • ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง

อาการทางพฤติกรรม

  • ผัดวันประกันพรุ่ง
  • ไม่อยากตื่นไปทำงาน
  • ไม่มีสมาธิกับการทำงาน
  • ไม่มีความสุขกับการทำงาน
  • บริหารจัดการเวลาการทำงานได้แย่ลง
  • เริ่มมีพฤติกรรมมาทำงานสายบ่อยมาก ๆ
  • หุนหันพลันแล่น ใจร้อน ไม่รอบคอบ ไม่ยั้งคิด
  • ขาดความกระตือรือร้น ทำงานแบบเรื่อย ๆ เนิบ ๆ

วิธีรับมืออาการ Burnout Syndrome

เมื่อได้เช็กอาการต่าง ๆ ของการเกิดภาวะหมดไฟ เริ่มรู้สักตัวเองมีอาการเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นอาการด้านอารมณ์ อาการด้านความคิด และอาการด้านพฤติกรรม นั่นแสดงว่าคุณมีเกณฑ์เข้าข่ายอยู่ในภาวะหมดไฟในการทํางานแล้ว ทั้งนี้ Burnout Syndrome วิธีแก้ง่าย ๆ สามารถทำให้หายด้วยตัวเองได้ดังต่อไปนี้

1. จัดระเบียบการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพมากขึ้น

ก่อนอื่นให้จัดตารางลำดับความสำคัญของงาน และเวลาการใช้ชีวิตให้มีความ Balance กัน อย่างถ้าเป็นงานให้โฟกัสงานตามความสำคัญ เพื่อทำงานออกมาให้ดีที่สุดและเสร็จในเวลางาน โดยที่ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน 

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

Burnout Syndrome รักษาด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ เริ่มจากการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หรือลาพักร้อนในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อไปเที่ยวผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ถือเป็นการรีเฟรชตัวเอง หาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ปรับทัศนคติในการทำงานของตัวเอง

จัดการความเครียดซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะ Burnout ต้องมองให้ออกว่าความเครียดการทำงานคืออะไร แล้วพยายามมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแง่มุมมองใหม่ ให้คิดว่าความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติของการทำงาน และไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป ลองคิดว่าความเครียดจะช่วยเป็นแรงผลักดันให้ทำงานออกมาสำเร็จและดีด้วย

4. งดการใช้ Social Media

วันหยุดคือวันหยุดพักผ่อนจริง ๆ ควรลดเล่นมือถือและใช้ Social Media หรือถ้าอดไม่ได้จริง ๆ เล่นให้น้อยลงกว่าปกติ นี่คือสิ่งที่จะทำให้คุณเกิดภาวะ Burnout โดยที่ไม่รู้ตัว เช่น เล่นมือถือเพลิน ๆ ก็มี Line หรือ E-Mail เรื่องงานเด้งเข้ามา ทำให้ต้องมานั่งตอบ อีกทั้ง Social Media ยังเป็นแหล่งรวมคำโอ้อวดของชาวโซเชียลมีเดียหลาย ๆ คน การทำให้เห็นชีวิตตัวเองในมุมที่ดีของบางคนอาจทำให้เราเกิดอาการเครียดและอิจฉาได้ 

5. ผ่อนคลายด้วยกิจกรรม

Burnout Syndrome วิธีแก้ง่าย ๆ คือ การผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ เพราะการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ ตกแต่งบ้าน หรือออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ หรือทำบุญ นั่งสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบสุข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลดความเครียดได้

6. การผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงาน

การทำงานบางครั้ง ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ควรผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงาน เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะเข้าไปปรึกษาขอคำแนะนำต่าง ๆ จากเพื่อนหรือหัวหน้างาน ให้หลีกเลี่ยงกับคนที่มีความคิดในแง่ลบ ควรจะยอมรับความแตกต่างของคน พร้อมกับเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงานได้นั่นเอง

ถึงแม้ว่าอาการของภาวะหมดไฟในการทำงาน อาจจะไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินไป ไม่รีบรักษาปรับสมดุลการใช้ชีวิตของตัวเองและการทำงาน อาจมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต ฉะนั้น หากใครที่กำลังหมดไฟ ทําไงดี ลองเอาคำแนะนำไปปรับใช้กันได้เลย เพื่อจะได้ช่วยรักษาอาการภาวะ Burnout แต่ถ้ามีอาการรุนแรงจนรักษาด้วยตนเองไม่หาย ก็ให้รีบปรึกษาแพทย์ด่วน ก่อนจะสายเกินแก้ สำหรับใครที่มีภาวะการความเครียด จากการขายของออนไลน์ ให้ ZORT ระบบจัดการร้านค้าระบบเดียวตอบโจทย์ทุกความต้องการของการซื้อขายสินค้าออนไลน์และออฟไลน์อย่างครบวงจร ช่วยทำให้คุณทำธุรกิจอย่างมีความสุข ไม่เครียดอีกต่อไป

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x