รู้เท่าทันกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ว่ามีกี่ประเภท พร้อมวิธีการรับมือ

6,387 views

รู้ทันกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ พร้อมวิธีการรับมืออย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

 

ในยุคที่เทคโนโลยีกลายมามีบทบาทกับผู้คนมากขึ้นผ่านการใช้งานสื่อต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ที่ไม่ได้มีแค่สื่อเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริการอื่น ๆ ที่ครอบคลุมชีวิตประจำวันของผู้ใช้งาน รวมถึงธุรกรรมทางการเงินทำให้เกิดมิจฉาชีพออนไลน์ที่มีผู้คนตกเป็นเหยื่อแทบทุกวัน แล้วจะทำอย่างไรผ่านการเล่าเรื่องราว สร้างความเข้าใจ พร้อมวิธีการรับมือเพื่อให้ไม่ตกเป็นเหยื่อ

 

มิจจาชีพในโลกออนไลน์ คืออะไร

จากที่เกริ่นไปคร่าว ๆ ว่าปัจจุบันรูปแบบมิจจาชีพไม่ได้มีเพียงออฟไลน์ แต่เข้ามาสู่โลกออนไลน์มากขึ้นเนื่องจากเป้นช่องทางที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกต่างนิยมใช้กันซึ่งในคำนิยามให้ความหมายของ มิจฉาชีพ ออนไลน์ไว้ว่า เป็นการหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในช่องทางออนไลน์ เช่น อีเมล เฟซบุ๊ก แอพธนาคาร SMS หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงแตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ

 

มิจฉาชีพ 20 ประเภทที่นิยมใช้หลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ 

  1. หลอกขายสินค้าออนไลน์
    จะเป็นกลอุบายที่นำเสนอขายสินค้าบางอย่างซึ่งจะจูงใจด้วยราคาที่ถูกกว่าปกติแล้วให้โอนเงิน แต่ไม่ได้รับสินค้า
  2. หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์
    จะเป็นการเชิญชวนให้ทำงานในรูปแบบธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง แต่มีการแอบอ้างผ่านแอพดัง ๆ มีรีวิวว่าเคยได้เงินจริง แต่เมื่อทำให้มีการลงทุน หรือทำไปแล้วกลับไม่ได้เงิน
  3. หลอกให้กู้เงินออนไลน์
    จะเป็นการกู้เงินทิพย์เพื่อหลอกเอาข้อมูล เช่น บัตรประชาชน หรือเงินบัญชีธนาคารซึ่งจะไม่ได้เงินจริงและเป็นกลอุบายในการหลอกล่อขอเงินเพิ่มเนื่องจากได้ข้อมูลส่วนตัวที่อาจสร้างความเสียหายต่อผู้กู้ได้
  4. ข่มขู่ทำให้หวาดกลัว
    จะเป็นการโทรแจ้ง หรือส่งอีเมล์มาบอกว่ามีการรับพัสดุที่ผิดกฎหมายโดยแอบอ้างว่าเป็นตำรวจ หรือบุคคลในเครื่องแบบที่จะมาดำเนินดคีตามกฎหมายที่หลอกลวงให้โอนเงินเพื่อให้คดีจบ
  5. หลอกให้รักแล้วลงทุน
    จะใช้เวลานานกว่ากลลวงอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมีการทักมาสานความสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งหากเหยื่อตกหลุมรักจะเริ่มให้เหยื่อโอนเงิน
  6. แชร์ลูกโซ่
    ที่พบได้บ่อยและมีผู้เสียหายตั้งแต่จำนวนเงินน้อย ๆ ไปถึงหลายร้อยร้านจากแชร์ลูกโซ่ที่มีการสร้างเครือข่ายที่น่าเชื่อถือได้เงินปันผลสูงในช่วงแรกและช่วงหนึ่งจะหายไปพร้อมกับเงิน โดยที่ไม่สามารถติตต่อได้
  7. ปลอม หรือแฮกบัญชีผู้ใช้งาน
    จะเป็นกลโกงที่พยายามแฮกข้อมูลเพื่อใช้บัญชีในการทักไปยืมเงินจากบุคคลที่เคยมีบทสนทนาที่คาดว่าเป็นเพื่อนของผู้ใช้บัญชีให้โอนเงินเข้ามา
  8. พนันออนไลน์
    อีกหนึ่งกลโกงที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานกับการพนันออนไลน์ที่มีการโฆษณาโจ่งแจ้งผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อล่อลวงให้ผู้ที่หลงเชื่อเข้ามาเล่นการพนันซึ่งในช่วงแรกจะไ้ด้มากกว่าเสียซึ่งหลัง ๆ ก็มีหลายคนที่สูญเสียเงินมากมายต้องขายบ้าน ขายรถก็มี
  9. หลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม
    อาจจะเป็นการส่งลิงก์เข้ามาผ่านทางอีเมล์ หรือแจ้ง Pop Up บนเว็บไซต์เพื่อให้ดาวน์โหลดโปรแกรมซึ่งหากมีการดาวน์โหลดจะดูดเอาข้อมูลสำคัญบางอย่างไปใช้ในทางที่ไม่ดี
  10. หลอกให้คลิกลิงก์ต่าง ๆ
    จะเห็นได้ตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ให้คลิกก์ลิงก์นี้เพื่อไปยังหน้าต่อไปซึ่งต้องตรวจสอบดี ๆ ว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือหรือไม่เพราะหากคลิกส์จะมีการดูดเอาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บแลตได้
  11. ส่งคิวอาร์โค้ด
    จะมาในรูปแบบคืนเงินค่าสินค้าผ่าน QR Code ซึ่งจะเป็นกลวิธีที่จะโอนเงินให้กับคนร้าย หรือหลอกให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือรหัสผ่านเพื่อขโมยเงิน
  12. หลอกให้ไปทำงานต่างประเทศ
    จะเป็นการเปิดรับสมัครงานให้ไปทำงานต่างประเทศ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ตอบลูกค้าแต่ได้รายได้วันละ 4,000 – 8,000 บาท แต่เมื่อไปจริงอาจจะถูกหลอกให้ไปขายบริการ หรือทำงานที่ผิดกฎหมาย
  13. หลอกว่าเป็นหน่วยงานจากรัฐ
    จะพบเห็นได้บ่อยมากจากการแอบอ้างเป็นเจ้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็น กรมศุลกากร ตำรวจ ไปรษณีย์ไทย หรืออื่น ๆ ว่ามีความ
  14. หลอกให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย
    โดยจะเป็นการจ้างงานที่บอกว่าไปรีวิวสินค้า ถ่ายแบบเพื่อแลกกับเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเมื่อไปถึงสถานที่ได้มีการบังคับให้ถ่ายรูปโป๊เปลือย หรือมีเพศสัมพันธ์
  15. ข่าวปลอม
    เป็นการเผยแพร่ข่าวที่ไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งสร้างอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่เสพสื่อโดยไม่กรองข้อมูลและส่งผลกระทบแก่ผู้ที่โดนกระทำที่อาจถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์
  16. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์
    จะเป็นการหลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม แนบไฟล์ หรือติดตั้งลิงก์เข้ากับคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้เครื่องล็อคไม่สามารถใช้งานได้ ผู้เสียหายจะต้องจ่ายเงินเพื่อปลดล็อคถึงจะใช้งานได้
  17. นัดบอท/นัดเดทออนไลน์
    การนัดเดทออนไลน์ถือว่าได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน แต่ก็มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีหลายคนที่อาศัยช่องทางเหล่านี้ในการนำเหยื่อที่นัดเดทไปกระทำชำเรา หรือสร้างความเสื่อมเสียให้แก่เหยื่อ
  18. ได้รับรางวัลต่าง ๆ
    จะมีการส่งลิงก์มาในรูปแบบท่านเป็นผู้โชคดีได้รับทองคำ ได้รับรางวัลพิเศษ ได้ตั๋วเครื่องบินฟรี แต่จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนรับรางวัลเพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์
  19. หลอกลวงให้บริจาค
    จะเห็นได้หน้าฟีดสื่อโซเชียลต่าง ๆ ว่ามีเปิดรับบริจาคช่วยเหลือสัตว์ บุคคล สร้างวัด หรือทำบุญเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต หรือต่อชีวิตให้แก่สัตว์ซึ่งโอนไปแล้วเงินเหล่านี้ไม่ได้นำไปใช้ในการบริจาคจริง ๆ
  20. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร
    จะเป็นการรับเปิดบัญชีให้คนร้ายเท่ากับการร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่นำบัญชีไปในการฟอกเงิน หรือฉ้อโกง

 

ศัพท์ที่ควรรู้

 

มัลแวร์ (Malware)

โปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ระบบเครือข่าย รวมถึงข้อมูลของผู้ใช้งานซึ่งตัวอย่างที่รู้จักกันดี เช่น ไวรัส สปายแวร์ โทรจัน เป็นต้น 

การเจลเบรก (Jailbreak) หรือรูท (Root)

จะเป็นการดัดแปลงระบบปฎิบัติการ (Operating System) ของสมาร์ทโฟน หรือแท็บแลตที่ใช้ระบบปฏิบัติการของระบบ iOS และ Andriod ไม่สามารถแทรกแซง หรือมองเห็นการทำงานของกันและกันได้ 

แต่การ Jailbreak และ Root จะทำให้ระบบปฏิบัติการที่เคยแยกกันกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดกว้างให้แต่ละแอปพลิเคชันสามารถมองเห็นการทำงานของกันและกันได้จึงกลายเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพสร้างแอปพลิชันขึ้นมาเพื่อสอดแนมการเข้าใช้ธนาคารออนไลน์ของเหยื่อ

รหัสผ่านชั่วคราว บางครั้งเรียก OTP (One Time Password) หรือ TOP (Time Out Password)

รหัสผ่านที่ธนาคารออกให้ผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมซึ่งจะใช้ได้เพียงหนึ่งครั้งในเวลาที่กำหนด โดยธนาคารจะส่งรหัสดังกล่าวพร้อมแจ้งรายละเอียดธุรกรรมที่ผู้ใช้บริการต้องยืนยันผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้บริการแจ้งไว้

วิธีป้องกันกลโกลรูปแบบต่าง ๆ

  • ตรวจสอบลิงก์ หรืออีเมล์ต่าง ๆ ที่ได้รับก่อนทุกครั้งว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยอาจจะโทรไปสอบถามต้นสังกัดของลิงก์นั้น ๆ ว่าได้มาจากหน่วยงานนั้นจริง ๆ หรือไม่ 
  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่น่าเชื่อถือ
  • ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบ SMS หรือให้อีเมลกับธนาคารและสถาบันการเงิน
  • ออกจากระบบ (Log out) ของระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
  • เช็คให้ชัวร์ ก่อนแชร์ ว่าข่าวนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ก่อนส่งต่อ 
  • ส่วน QR Code จะต้องระมัดระวังก่อนทำการสแกนที่ติดตั้งในสถานที่สาธารณะและไม่พิมพ์ข้อมูลส่วนตัวหลังจากการแสกน QR Code และตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ทุกครั้ง รวมถึงหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอป QR Code

มิจฉาชีพออนไลน์ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบกลลวงในการล่อเหยื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและแนบเนียนทำให้บางครั้งชะล่าใจ หลงเชื่อได้ง่าย ดังนั้น จึงควรตรวจสอบลิงก์ ข้อความ หรือการร้องขอข้อมูลส่วนตัวทุกครั้งว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ พร้อมอัพเดตและติดตามข่าวสารเพื่อรู้เท่าทันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ หรือหากตกเป็นเหยื่อแล้วก็ให้ติดต่อตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินทันทีเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เงินไหลออกจนหมดบัญชี

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x