ส่องเทรนด์การตลาด สร้างสินค้าชุมชนให้มีตัวตนจนกลายเป็นที่รู้จัก

2,921 views

เคล็ดลับการสร้างตัวตน ยกระดับสินค้าชุมชนให้กลายเป็นที่รู้จักในปี 2023

 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตัวช่วยสร้างโอกาสทางรายได้ให้แก่คนในชุมชนจากการต่อยอดนำเอาภูมิปัญญา หรือวัตถุดิบที่หาได้ง่ายจากในท้องถิ่น มายกระดับสร้างเป็นรายได้ให้แก่ผู้คนในชุมชน รวมถึงการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแรงอที่ในวันนี้จะพูดถึงวิธีการสร้างแบรนด์สินค้าในท้องถิ่น พร้อม 10 ตัวอย่างสินค้าชุมชนที่กำลังได้รับความนิยมในปี 2023

 

 

 

 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน คืออะไร  

เริ่มต้นกันที่คำนิยามของสินค้าชุมชน ถือเป็นการผลิตสินค้าที่เกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านในชุมชนเพื่อผลิตสินค้า โดยนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิต แปรรูปเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่และเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้านจากการสร้างให้กับตนเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยังถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความมั่นคงยั่งยืน

 

ตัวอย่างโครงการ OTOP หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย โดยนำเอาภูมิปัญญาของชาวบ้านแต่ละจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครมาแปรรูปเป็นสินค้าที่หลากหลาย อาทิ งานจักสาน งานแกะสลัก งานหัตถกรรม หรืองานทอ เป็นต้น

 

ส่อง 10 สินค้าชุมชนที่ได้รับความนิยมในปี 2023 

 

ก่อนจะเริ่มผลิตสินค้าของชุมชนเองสักหนึ่งผลิตภัณฑ์ มาดูกันสิว่า สินค้าในชุมชน มีอะไรบ้างที่กำลังได้รับความนิยมในปี 2023 เพื่อนำไปเป็นแนวทางก่อนเริ่มผลิต 

 

  1. ผ้าทอไทยทรงดำ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่มีจุดเริ่มต้นจากชาติพันธ์ที่อพยพเข้ามาในไทยซึ่งมีจุดเด่นในเรื่อง “การแต่งกาย” ที่นิยมนุ่งผ้าทอสีดำทั้งหญิงชายที่ดูเคร่งขรึมจนเกิดการต่อยอดเกิดเป็นสินค้าให้เข้าผ้าไทยกลายเป็น ผ้าทอไทยทรงดำ หรือที่หลายคนรู้จักว่า “ซิ่นแตงโม” ไว้สวมเป็นเครื่องแต่งกายที่คงความเป็นเอกลักษณ์ที่ผสมความเป็นไทอย่างลงตัว

     

  2. ผ้าบาติก จังหวัดปัตตานี สินค้าที่ใคร ๆ หลายคนต้องสะดุดตาเมื่อไปเที่ยวภาคใต้กับผ้าบาติก สีสัน สดใส ลวดลายสวยงามแปลกตาที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้นที่สามารถนำไปใช้เป็นผ้าคลุมผม ผ้าคลุมไหล่ หรือชุดเดนเล่นชายหาดที่ไม่ได้ให้แค่ความสวยงาม โดดเด่น แต่ยังเป็นเอกลักษณ์สำคัญแสดงถึงวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ได้ดีทีเดียว

     

  3. หัตถกรรมเครื่องเงิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ มาล้านนาก็ต้องหัตถกรรมเครื่องเงินที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวล้านนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มักจะประกอบด้วยเครื่องเงิน เช่น ขันเงิน กรอบรูปเงิน พานรองเงิน เชิงเทียนและอื่น ๆ ที่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเงินให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
  4. ผลิตภัณฑ์ใบตองและดอกไม้สดประดิษฐ์ มาต่อกันที่ผลิตภัณฑ์ใบตองและดอกไม้สดประดิษฐ์ที่ในปัจจุบันได้มีการนำไปประยุกต์ได้หลากหลายทั้งการทำขันหมาก ทำบายศรี หรือใช้ตกแต่งจานอาหารให้ดูน่าทานมาขึ้นซึ่งต้องยอมรับเลยว่าเป็นงานที่อาศัยความละเอียดประณีตและยังมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คงความเป็นไทยเอาไว้อย่างดี

     

  5. ขนมตาลประยุกต์ ยุค ๔.๐ ขนมพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่โบราณซึ่งค่อนข้างโดดเด่นด้วยสีสันที่เหลืองสดใสยิ่งตอนหลังนึ่งสุกใหม่ๆ ที่ให้ได้กลิ่นหอมจากตลาดโตนดและใบตอง แต่หากถามถึงขั้นตอนการทำบอกได้เลยว่าขั้นข้างยุ่งยากจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเป็น “ผลิตภัณฑ์แป้งขนมตาลกึ่งสำเร็จรูป” ที่ช่วยให้คุณยังคงได้รับประทานขนมตาลสูตรดั้งเดิม แต่ทำได้ง่ายกว่าเนื่องจากการทำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต

     

  6. ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว บ้านควนขนุน จังหวัดพัทลุง “กะลามะพร้าว” สิ่งของที่มีโดยทั่วไป แต่สามารถนำแปรรูปสร้างมูลค่าเป็นเครื่องใช้ในครัว เครื่องประดับ ของแต่งบ้าน กระเป๋าถือผู้หญิง เข็มขัด โคมไฟ ตะเกียง หรือเครื่องแต่งกายของผู้หญิงและอื่น ๆ ที่นำไปใช้ได้จริง ให้ความสวยงามและที่สำคัญคือวัสดุมาจากธรรมชาติจึงช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลทำให้โลกร้อน

     

  7. ผลิตภัณฑ์กระจูด จังหวัดพัทลุง กระจูด วัชพืชที่ดูเผย ๆ อาจจะไร้ค่าสำคัญใครหลายคน แต่สามารถนำมาสร้างรายได้จากการนำมาเอามาประยุกต์กับภูมิปัญญาของชาวพัทลุงที่นำเอาต้นกระจูดมาใช้ทำเครื่องจักสานเนื่องจากข้อดีที่มีความนุ่มเหนียวจึงเหมาะต่อการทำเครื่องจักสาน ข้าวของเครื่องใช้ครัวเรือนเล็ก ๆ โดยเฉพาะเสื่อกระจูดที่ค่อนข้างได้รับความนิยมไว้ปูนอน ปูนั่งได้สบาย

     

  8. ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่ บ้านกลาง จังหวัดลำพูน ไม้ไผ่ วัตถุกิบหาง่าย สามารถนพำไปสร้างได้จากการนำไปแปรรูปเป็นงานหัตกกรรมที่ประยุกต์ให้มีความทันสมัยและใช้งานได้จริง เช่น แจกัน ที่รองแก้ว ของที่ระลึก กระด้ง หรือน้ำทุ่ง เป็นต้น โดยใช้ความประณีตในการจักสานงานแต่ละชิ้นจึงทำให้งานมีความละเอียดและใช้ได้ค่อนข้างนาน

     

  9. หมอนขวานผ้าขิด ชุมชนบ้านศรีฐาน จังหวัดยโสธร ของฝากจากชาวยโสธรที่ใช้เทคนิคการทอที่ซับซ้อน ค่อนข้างใช้เวลานานซึ่งต้องอาศัยความอดทนและความละเอียดเพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงามจึงเหมาะนำไปเป็นของฝากที่ถูกใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติอย่างแน่นอน

     

  10. ผ้าหม้อห้อมเมืองแพร่ จังหวัดแพร่  ผ้าหม้อห้อม ยกระดับผ้าพื้นเมืองให้เข้ากับยุคสมัยโดยนำมาเอาผ้าหม้อห้อมที่เป็นผ้าพื้นเมืองขึ้นชื่อของชาวแพร่มาประยุกต์โดยการนำไปตัดทอที่ออกแบบเน้นให้ทุกคนใส่ได้ ไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไว้เป็นอย่างดี

 

เริ่มต้นสร้างผลิตภัณฑ์ ในท้องถิ่นทำอย่างไร

สำหรับใครที่กำลังมีแผนยกระดับสินค้าท้องถิ่น สินค้าพื้นเมือง หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชมนำมาต่อยอดสร้างธุรกิจเพื่อเป็นรายได้และไปไกลโดยการพัฒนาสู่ Mintel หรือท้องถิ่นนิยมแบบสากลที่จะต้องมุ่งเน้นให้ในการนำไปใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น 

 

โดยเน้นย้ำให้ผู้บริโภคเห็นได้ถึงความใส่ใจและการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นในชุมชนให้ดีขึ้นได้อย่างไร? ซึ่งจะแชร์ 5 ทริคต่อการประกอบธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการเศรษฐกิจในฐานรากได้

 

  1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Leadership) หากชุมชนมีทรัพยากรที่พร้อมผลิตอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครมองเห็นโดยเฉพาะผู้นำก็ไม่ทำให้ชุมชนเคลื่อนที่ไปไหน จุดเริ่มต้นแรกคือ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มองเห็นสิ่งที่มีอยู่เพื่อนำไปปรับเปลี่ยน ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้อีกทางหนึ่งไว้เลี้ยงตนเอง

     

  2. กระบวนการคิดการออกแบบ (Concept design) ผู้นำดี สินค้าก็ต้องดีด้วยซึ่งต้องเริ่มมาจากกระบวนการคิดออกแบบที่จะต้องสื่อให้เห็นชัดว่ากำลังจำหน่ายสินค้าอะไร สไตล์การออกแบบ รสนิยม หรือจะใช้วัตุตถุดิบเพื่อสื่อถึงความเป็นอัตลักษณ์ เพิ่มเสนห์ให้กับชุมชนและช่วยดึงดูดผู้บริโภค

     

  3. สร้างแบรนด์ (Branding) เมื่อมีแบบแล้วก็ต้องมาเริ่มต้นสร้างแบรนด์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซึ่งสิ่งที่ควรนึกถึงในการสร้างแบรนด์คือการจดจำให้ลูกค้าพบเห็นแล้วรู้สึกประทับใจ หรือดึงดูดให้เข้ามาดูสินค้าผ่านการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา มีแนวคิดที่สอดคล้องการพัฒนาความยั่งยืน SDGs ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้การสร้างแบรนด์ของชุมชม

     

  4. บรรจุภัณฑ์สินค้า (Packaging) เป็นอีกส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากจะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าซื้อสินค้า หากบรรจุภัณฑ์มีลวดลายที่สวยงาม รูปทรงน่าใช้และมีความสมดุล รวมถึงการออกแบบต้องคำนึงถึงการใช้งานที่จะต้องสะดวกในการใช้และมีมาตรฐานสากล

     

  5. มีสตอรี่ (Storytelling) หรือเป็นการทำคอนเทนต์สร้างสตอรี่ให้เป็นเรื่องเดียววันที่อาจจะเริ่มต้นจากสู่ชุมชน สู่ผลิตภัณฑ์ ผ่านการออกแบบแบรนด์และบรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ โดยให้นักท่องเที่ยว หรือผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเห็นคุณค่าและสนับสนุนสินค้าชุมชน

 

 

ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น สามารถนำไปต่อยอดสร้างธุรกิจที่ไม่เพียงแค่ในประเทศ แต่ยังสามารถขยายไปถึงสากลที่ถ่ายทอดผ่านแนวคิด ภูมิปัญญาของคนในชุมชนสู่การเริ่มต้นสร้างแบรนด์ที่ต้องอาศัยผู้นำซึ่งจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนชุมชน สู่การออกแบบ สร้างแบรนด์และบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความเป็นมาจนพัฒนาเกิดขึ้นเป็นแบรนด์สินค้าชุมชนที่ควรเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น รวมถึงเสริมสร้างให้เศรษฐกิจภายในชุมชมนั้นมีความมั่นคงและยั่งยืน

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x