E-Commerce เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นมากในแต่ละปี สำหรับ ปี 2020 นี้ มี เทรนด์ E-Commerce อะไรบ้างที่น่าสนใจ แล้วผู้ประกอบการต้องรับมืออย่างไรบ้าง มาดูกัน
1.) การแข่งขันกับต่างชาติในตลาด E-Commerce ไทย
เป็นที่รู้กันว่าในตลาด E-Commerce บ้านเราตอนนี้นอกจากจะต้องแข่งขันกับร้านค้าอื่น ๆ ที่ขายของประเภทเดียวกันกับเราแล้วยังมีร้านค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนเข้ามาเปิดร้านขายสินค้าในราคาที่ล่อตาล่อใจลูกค้าคนไทยมากทีเดียว จากข้อมูลของ Priceza เผยให้เห็นว่าในปี 2019 จำนวนสินค้าที่คนไทยซื้อผ่าน Lazada Shopee และ JD Central มีจำนวนมากขึ้นถึง 174 ล้านชิ้น จากจำนวน 74 ล้านชิ้นในปี 2018 โดยสินค้าที่ขายได้ในปี 2019 คิดเป็นสัดส่วนสินค้าที่มาจากต่างประเทศถึง 77% เป็นสินค้าไทยเพียง 23% เท่านั้น
เทคนิค ร้านค้าต้องมีกลยุทธ์ในการดึงลูกค้า ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้คือการ “สร้างความแตกต่าง” ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวสินค้าเองหรือบริการของร้าน เช่น ร้านค้าอาจให้บริการเสริมอื่น ๆ เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือของร้าน อย่างการให้บริการจัดส่งที่รวดเร็ว บริการจัดส่งภายในวันนั้น ๆ รวมไปถึงการใช้ระบบโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า เช่น การสะสมแต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ร้านค้าไทยยังคงได้เปรียบในด้านภาษาอยู่บ้าง เพราะมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ต้องการสอบถามพูดคุยกับผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ ดังนั้นแล้วร้านค้าสามารถนำจุดนี้มาเสริมเป็นจุดแข็งได้เช่นกัน โดยการตอบแชทลูกค้าอย่างรวดเร็วและตอบคำถามด้วยภาษาที่เป็นมิตร น่าประทับใจ
2.) ผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ ๆ หันมาทำธุรกิจแบบ D2C: Direct to Consumers มากขึ้น
การทำธุรกิจแบบ D2C คือการขายของของบริษัทให้กับลูกค้าโดยตรงไม่ผ่านตัวกลางใด ๆ ซึ่ง เทรนด์ E-Commerce ในปีนี้ ผู้ประกอบการจะหันมาใช้วิธีนี้กันมากขึ้น เพราะยุค Digital ที่เอื้ให้ผู้ประกอบการสามารถมีหน้าร้านออนไลน์เป็นของตัวเองและทำการตลาดออนไลน์หากลุ่มลูกค้าของตนได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสีย Margin ให้แก่แพลตฟอร์มหรือตัวกลางอย่างเมื่อก่อน แต่ความท้าทายของการทำธุรกิจแบบ D2C คือจะทำอย่างไรให้ร้านค้าของเราเป็นที่รู้จักและให้ลูกค้าเข้ามาซื้อกับร้านค้าเองโดยตรง เพราะแพลตฟอร์มตัวกลางที่เป็น Marketplace ต่าง ๆ อย่าง Lazada Shopee และ JD ทำให้ลูกค้ามีโอกาสได้เห็นและเข้าถึงสินค้าของเราได้มากกว่า ฉะนั้นแล้ว Data คือเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจแบบ D2C ประสบความสำเร็จ
เทคนิค ในเมื่อ Data is the key ธุรกิจจึงต้องหาเครื่องมือที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อรู้ว่าลูกค้าของเราสนใจอะไร มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบไหน อยู่ในพื้นที่ใด เพื่อที่จะสามารถทำการตลาดออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ หากร้านค้าใช้ ZORT เป็นผู้ช่วยในการขายสินค้าอยู่แล้วก็สามารถเก็บข้อมูลส่วนนี้ได้เช่นกัน เพราะในระบบสามารถรวบรวมข้อมูลและสรุปได้ว่าลูกค้าของร้านค้าทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่มีพฤติกรรมการซื้อของอย่างไร ชอบสินค้าประเภทอะไร หรืออาศัยอยู่ที่ไหน เป็นต้น
3.) Ride Hailing Delivery บริการส่งด่วนทันใจจะเข้ามาใน E-Commerce
เมื่อพูดถึงบริการ Ride Hailing Delivery แบบเข้าใจง่ายให้นึกถึงบริการส่งของด่วนผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Grab Express Line Man หรือ GET Delivery ที่จัดส่งของถึงมือผู้รับได้ทันทีภายใน 1-2 ชั่วโมง สำหรับเทนรด์ในปี 2020 ธุรกิจประเภทนี้จะเข้ามาในแพลตฟอร์ม E-Commerce มากขึ้น จะเห็นได้ว่าร้านค้าใน Shopee บางร้านก็เริ่มมีบริการจดส่งด่วนแบบ Ride Hailing Delivery กันบ้างแล้ว เพราะธุรกิจสมัยนี้ไม่ได้แข่งขันกันที่ตัวสินค้าหรือโปรโมชั่นเท่านั้น แต่ยังแข่งขันกันด้วยบริการจัดส่งที่เร็วกว่า งานนี้เรียกได้ว่า จัดส่งของไวมีชัยไปกว่าครึ่ง!
เทคนิค ถึงแม้ปัจจุบันธุรกิจจะแข่งขันกันด้วยความเร็วก็จริง แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงคือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับค่าบริการการจัดส่งแบบ Ride Hailing ที่ยังถือว่าค่อนข้างสูงพอสมควร ผู้ประกอบการจึงต้องพิจารณาประเด็นนี้และเลือกบริการส่งของที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองด้วย เช่น หากเป็นธุรกิจขายของชิ้นเล็กและราคาไม่แพงก็อาจเลือกใช้เป็นบริการขนส่งแบบภายใน 1-2 วัน จากผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้และราคาเป็นมิตร
4.) Omni-Channel ขายของออนไลน์-ออฟไลน์ ไร้รอยต่อ
เทรนด์สำคัญอย่างสุดท้ายคือ การขายของแบบ Omni-Channel หรือการผสมผสานการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อของที่ครบวงจรให้แก่ลูกค้า มีธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากที่หันมาสร้างหน้าร้านออนไลน์ให้กับธุรกิจของตัวเองรวมถึงเข้าไปอยู่ใน Marketplace ต่าง ๆ ทั้ง Lazada Shopee JD Central ไปจนถึงการสร้างร้านค้าของตัวเองบนเว็บไซต์หรือ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์ที่นอกจากจะทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นแล้ว ยังตอบโจทย์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้นอีกด้วย สร้างโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ธุรกิจจึงขยายและเติบโตมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นปี 2020 นี้ จะขายของผ่านหน้าร้านหรือขายออนไลน์เพียงอย่างเดียวไม่พอนะ ธุรกิจจะต้องแทรกซึมไปยังทุกที่ ๆ มีลูกค้าจึงจะประสบความสำเร็จได้ในยุคนี้
เทคนิค ยิ่งมีช่องทางการขายมากยิ่งมีโอกาสในการขายสินค้าได้มาก แต่ในขณะเดียวกันยิ่งขายหลายช่องทางมากเท่าไหร่ก็เท่ากับว่ามีภาระงานที่ต้องจัดการดูแลมากขึ้นเท่านั้น ผู้ประกอบการจึงต้องมีตัวช่วยดี ๆ ในการจัดการกับออเดอร์ที่มาจากหลายช่องทางรวมถึงระบบดูแลสต๊อกสินค้าที่มีความแม่นยำด้วย แต่ถ้าใช้ ZORT อยู่แล้วก็สบายใจหายห่วง เพราะสามารถติดตามการขายจาดทุกช่องทางและอัพเดทสต๊อกไปยังช่องทางการขายต่าง ๆ ได้อัตโนมัติและเช็คได้ทุกที่ทุกเวลาเลย ใครยังไม่มีตัวช่วยต้องรีบแล้วนะ เข้าไปทดลองใช้งานกันได้ฟรี ๆ 15 วันกันได้เลย คลิก
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก Priceza