สรุปวิกฤติ “หมูแพง” เกิดจากอะไร? “วิกฤติ หรือ โอกาส”

506 views

“หมู” อาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน

 

“หมู” ถือว่าเป็นอาหารประจำชาติที่อยู่คู่กับคนไทยมาแต่ช้านาน ด้วยสาเหตุที่หมูมีทั้งเนื้อแดง และเนื้อติดมัน ที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท อีกทั้งหมูยังมีส่วนต่างๆที่ใช้ได้เช่น หูหมู จมูกหมู หรือแม้กระทั่งเครื่องในหมู จึงไม่แปลกที่หมูเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อคนไทยในเรื่องอาหาร จนดังไกลไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ,หมูกระทะ ,ข้าวเหนียวหมูทอด และหมูกรอบ ประกอบกับการที่หมูมีราคา “ถูก” ทำให้คนไทยส่วนมากเลือกที่จะบริโภคหมู แทนที่สัตว์อื่น

ซึ่งราคาหมูไทยโดยปกติจะปรับขึ้น และลงตามกลไก ของตลาด ทั้งความต้องการซื้อ ความต้องการขาย แต่สงสัยหรือไม่ทำไมปีนี้ราคามีแต่จะปรับตัวขึ้น แอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหมูแพง? มันคือวิกฤติ หรือโอกาส? วันนี้ ZORT จะพาไปไขข้อสงสัยนั้นเอง!

สาเหตุแรก

โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร หรือ African swine fever (ASF) และ โรค PRRS หรือโรคเพิร์ส
ทั้ง 2 โรคนี้ พบว่าระบาดในหมู่สุกรตั้งแต่ปี 2561 ทำให้สุกรไทยที่เป็นแม่พันธ์หมูล้มตายเป็นจำนวนมาก ตามรายงานของกรมปศุสัตว์ ระบุว่า “โรค PRRS หรือโรคเพิร์ส ทำให้ แม่พันธ์ของสุกรไทยล้มตายไปมากกว่า 3 แสนตัว”
อีกทั้งยังระบุว่า โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรยังไม่มีการพบเชื้อในประเทศไทย หลังจากที่ประเทศในอาเซียนได้รับความเสียหายอย่างมากกับโรคนี้ โดยเฉพาะประเทศ เวียดนาม และจีน ทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว ได้รับผลกระทบราคาเนื้อหมูกิโลกรัมละ 300-500 บาทมาตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากประเทศไทยเรียนรู้การระบาดของโรคนี้มาตั้งแต่ปี 61 โดยนำ จีน และเวียดนามมาเป็นบทเรียน โดยการ ให้กรมปศุสัตว์สร้าง “Buffer Zone” ป้องกันความสูญเสียในอุตสาหกรรมหมูไทยทั้งระบบที่มีมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้าน เริ่มจากแนวชายแดนริมโขงจากภาคอีสานของไทยก่อน เพราะASF รุกมาลาวจ่อไทยห่างจากชายแดนแค่ 8 กิโลเมตร นั้นเอง

สาเหตุที่สอง

ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นต่อเนื่อง
จากการรายงานของ นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวว่า “เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูประสบปัญหาต้นการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทั้งค่าอาหาร และสิ่งของสำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงหมู โดยเฉพาะต้นทุนอาหารที่สุกรบริโภคอย่าง “ข้าวโพด” ที่ราคาปรับขึ้นอยู่ในระดับ 11.20-12.20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 กว่าปี ทำให้เป็นต้นทุนสะสมเรื่อยมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

สาเหตุที่สาม

การระบาดของโรคโควิด 19
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้หมูขาดตลาด เนื่องจากในช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักจากการขายหมูราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อลดความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงการระบาดโควิด-19 ประกอบกับการกดดันราคาสินค้าที่เป็นปัจจัย 4 ของรัฐให้อยู่ในราคาที่ต่ำ (กดอัด QE) ทำให้สุกรในภาคเหนือหายไปจากระบบมากกว่า 50 % และขาดตลาดในเวลาต่อมานั่นเอง

สาเหตุที่สี่

นโยบายของภาครัฐ
ด้วยนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นการยกระดับระบบป้องกันโรคทำให้ต้นทุนของสุกรเพิ่มขึ้นอีกราวๆ 500บาท/ตัว และยังต้องเตรียมเงินทุนสะสมเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GFM/GMP ซึ่งเป็นมาตรฐานรักษาความมั่นคงทางโรค และทางโปรตีน ตามลำดับนั่นเอง ประกอบกับช่วงการระบาดของโควิด 19 รัฐมีนโยบายที่ต้องการอัดฉีดเงินหมุนเวียนเพื่อช่วยผู้ประกอบการจำนวนมาก เช่น คนละครึ่ง, ช้อปดีมีคืน และไทยเที่ยวด้วยกัน ทำให้เงินคงคลังของไทยเริ่มหมด เงินไทยเริ่มเฟ้อขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับในช่วงก่อการระบาดในระลอก 1 ถึงราวๆ 4 บาท ทำให้ต้นทุนทางด้านการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับรายได้ของเกษตรกรที่น้อยลงเรื่อย เนื่องจากนโยบายต่างๆที่รัฐใช้นั้นเงินไม่อาจหมุนเวียนเข้าระบบได้ ทำให้ต้นทุนตรงนี้เป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่ผู้เพาะเลี้ยงสุกรต้องแบกรับ นั่นเอง

สาเหตุที่ห้า

เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด 19
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดเนื่องจาก ร้านค้าทั้งในตลาด และห้างสรรพสินค้า ประกอบกับสถานที่ท่องเที่ยวเริ่มเปิดให้บริการพร้อมกัน ทำให้ส่งผลเชิงจิตวิทยาให้คนเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับผลผลิตของจำนวนสุกรไทยที่ลดลงกว่า 30 % ราคาสุกรจึงสูงขึ้นตามกลไกการตลาดนั่นเอง

นี่คือ 5 สาเหตุหลักๆที่ทำให้ราคา “หมู” ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากมองในมุมของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเรา แน่นอนมันคือวิกฤติที่ควรได้รับความแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากเงินที่กำลังเฟ้อขึ้นเรื่อยๆ นั่นส่งผลให้ราคาสินค้า และบริการแพงขึ้น ซึ่งสวนทางกับรายได้ของคนไทยอย่างสิ้นเชิง

แต่หากมองในมุมของนายทุนแล้วที่เป็นผู้ผลิตสินค้าประเภท Commodity แล้วนี่คือโอกาสทองที่สามารถกอบโกยผลกำไรได้อย่างมหาศาล จากดีมานด์ความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น และราคาขายที่ทวีคูณกว่าราคาปกติเป็นเท่าตัว โดยที่ต้นทุนการผลิตเท่าเดิมนั่นเอง

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x