How to ขอคืนภาษีปี 2565 พร้อมสิทธิ์ในการขอลดหย่อนภาษีฉบับรวบรัด

1,185 views

ไขข้อสงสัย! ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาษีเงินคืน

ทำความรู้จักภาษีเงินคืน ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์หลายคนค่อนข้างปวดหัว โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่พึ่งเป็นก้าวแรกของวัยทำงานและไม่เคยมีประสบการณ์ในการเสียภาษี จึงอาจจะมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย โดยจะพาไปรู้วิธีสำหรับการเช็คเงินคืนภาษีว่าทำอย่างไรได้บ้างและมีอะไรในเรื่องภาษีที่น่าสนใจร่วมไปหาคำตอบพร้อมกัน 

ภาษี คืออะไร

เริ่มกันที่การทำความรู้จักกับคำว่า “ภาษี” ซึ่งเป็นภาระที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องนำส่งให้แก่ภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ โดยอาจจะอยู่ในรูปของเงินหรือไม่ก็ได้ซึ่งเงินที่จ่ายจะถูกนำไปใช้ในการบริหารประเทศ ภาคส่วน หรือท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาลดหย่อนภาษีได้

รู้หรือไม่ว่า ค่าใช้จ่ายบางรายการสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเพื่อใช้ขอคืนภาษีในแต่ละปีได้ซึ่งมีรายการสำคัญยอดนิยมที่สามารถนำใช้ตรวจสอบคืนภาษี 2565 ได้แก่

รายการลดหย่อนภาษี 

อัตราการลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนส่วนตัว 

จำนวน 60,000 บาทซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ 

ค่าลดหย่อนคู่สมรส

จำนวน 60,000 บาท (ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้)

ค่าลดหย่อนบุตร

คนละ 30,000 บาท (บุตรบุญธรรมถูกกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่) แต่หากอายุเกิน 25 ปีต้องเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ หากมีบุตรครที่ 2 ขึ้นไปเกิดในปีพ.ศ. 2561 ก้สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนบิดามารดา 

คนละ 30,000 บาทโดยสูงสุดไม่เกิน 4 คน หรือสามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท 

ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ 

คนละ 60,000 บาทซึ่งผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีและมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

ตามที่จ่ายจริงในการฝากครรภ์และทำคลอดซึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท 

ค่าเบี้ยประกันชีวิต

ตามที่จ่ายจริงซึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท (ส่วนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้จะลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท)

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 15,000 บาท 

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับเบี้ยประกันทั่วไปจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน 

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือนและเมื่อรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท 

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีโดยเมื่อรวมกับข้อ 10 จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาทเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF ที่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เงินประกันสังคม 

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 9,000 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 13,200 บาทเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาทเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญและกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เงินบริจาคพรรคการเมือง

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 10,000 บาท

เงินลงทุนธุรกิจ (Social Enterprise)

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

ช้อปดีมีคืน 2565

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 30,000 บาท

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/การกีฬา/การพัฒนาสังคม/โรงพยาบาลรัฐ

2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 10% -ของเงินหลักจากหักค่าลดหย่อน

เงินบริจาคทั่วไป 

ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 10% -ของเงินหลักจากหักค่าลดหย่อน

เช็คภาษีเงินคืน ได้ที่ไหน

สำหรับท่านใดที่ต้องการเช็คสถานะคืนภาษีสามารถเข้าตรวจสอบสถานะ “คืนเงินภาษี” หรือสอบถามข้อมูลการขอคืน ได้ดังนี้ 

  1. เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th > เลือกเมนู e-Refund สอบถามการคืนภาษี โดยเลือกปีภาษีที่ต้องการค้นหา กรอกชื่อ,สกุล เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขผู้เสียภาษีอากร​ (ระบบจะแสดงปีภาษีให้คัดค้นได้ย้อนหลัง 2 ปีภาษี)
  2. ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center : 1161)
  3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหน้าแบบแสดงรายการ

เมื่อไหร่ถึงจะได้รับภาษีเงินคืน

เมื่อเช็คภาษีเงินคืนว่ามีการขอคืนเงินเรียบร้อยแล้ว ต่อไปกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน โดยในกรณีที่มีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10.

ยื่นภาษีไม่ทันทำอย่างไร

กรณีที่ผู้ยื่นภาษียื่นไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดสามารถยื่นภาษีย้อนหลังได้ด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

แต่ทั้งนี้จะมีบทลงโทษจากการชำระภาษีล่าช้าด้วยการเสียค่าปรับและต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษี ได้แก่ แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

เป็นอย่างไรกันบ้างกับแนวทางในการขอคืนภาษีซึ่งไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงอาจจะมีหลายขั้นตอนและต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อให้ไม่เสียเวลา รวมถึงต้องมีการส่งเอกสารภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า หรือเลยระยะเวลาที่กำหนดซึ่งอาจต้องโทษค่าปรับที่เกิดขึ้นจากการชำระภาษีล่าช้า 

โดยคุณสามารถตรวจสอบการคืนภาษี 2565และเนื้อหาสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

โทร 02.026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x