How to เทคนิคการบริหารลูกน้อง ให้ได้ใจและงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4,101 views

เทคนิคการบริหารลูกน้องคนรุ่นใหม่และเก่าในยุคดิจิทัล เจ้าของธุรกิจควรรู้!

 

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จที่ว่ายากแล้ว แต่การบริหารลูกน้องให้ได้ใจนั้นมีความยากยิ่งกว่า เพราะการเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ใช่เพียงแค่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสำเร็จที่ดีต้องมาจากการร่วมมือร่วมใจของลูกน้องทุกคน จึงจะสามารถพาองค์กรหรือบริษัทไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ วันนี้ ZORTอยากจะมาแชร์เทคนิคการบริหารลูกน้องอย่างไรในการพิชิตใจลูกน้อง สร้างทีมเวิร์คให้แข็งแกร่ง เพื่อมุ่งสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ แล้วมีวิธีจัดการกับลูกน้องอย่างไรบ้าง เตรียม Save เก็บไว้อ่านกันได้เลย

 

8 เทคนิคการบริหารลูกน้อง ให้พิชิตใจ และได้งานที่มีประสิทธิภาพ

 

การเป็นหัวหน้าที่ดีเชื่อว่าใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แต่การเป็นหัวหน้าที่ดีที่สามารถพิชิตใจลูกน้องได้นั้น ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน มาดูสิว่าบทบาทหัวหน้าหรือเจ้านายที่ดีในการบริหารลูกน้องควรมีลักษณะ ดังนี้

 

 

1. เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้มีส่วนร่วม
หลักการบริหารคนที่ดี ควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการทำงานมากที่สุด เพราะเมื่อเขาทำงานประสบความสำเร็จจะสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเขารวมถึงเพื่อนร่วมงานด้วย ในขณะเดียวหากงานมีปัญหาก็จะได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังทำให้ลูกน้องได้ทักษะที่เพิ่มพูนขึ้น และพัฒนาให้เก่งขึ้นได้ด้วย

 

2. ใจกว้างไม่ตัดสินคนอื่นบนพื้นฐานความเชื่อของตนเอง
นับเป็นสิ่งสำคัญของการบริหารคนงานเลย เพราะมนุษย์ทุกคนก็มักจะมีพื้นฐานความเชื่อในแบบของตัวเอง ถ้าบางคนเชื่อว่าต้องทำงานให้หนักจึงจะประสบสำเร็จได้ พอเจอลูกน้องที่ทำงานหนักไม่เท่ากับสิ่งที่ตัวเองคิดไว้ ก็อาจจะตัดสินทันทีเลยว่าลูกน้องคนนั้นไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงคนเราทุกคนล้วนจะมีความแตกต่าง และหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็มีหลายทาง ดังนั้น หัวหน้าที่ดีควรต้องใจกว้างไม่ตัดสินใจคนอื่นเพียงเพราะความเชื่อของตนเอง

 

3. หัวหน้าควรพูดให้น้อย
ตามหลักจิตวิทยาการบริหารลูกน้องที่ดีนั้น หัวหน้าต้องพูดให้น้อยลง เนื่องจากบทบาทการเป็นผู้นำจะต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องสามารถแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้องมีความคิด กล้าตัดสินใจ กล้าจะนำเสนองานต่างๆ เพราะถ้าหัวหน้าพูดหรือแสดงความคิดเห็นมากเกินไป สุดท้ายแล้วลูกน้องก็จะไม่ได้แสดงคิดเห็นดี ๆ หรือไอเดียดี ๆ อะไรเลย

 

4. หัวหน้าที่ดีควรทำมากกว่าพูด
นอกจากพูดให้น้อยแล้วก็ต้องทำให้มากกว่าที่พูดด้วย เพราะการบริหารลูกน้องที่ดีนั้นไม่ใช้เพียงแค่ใช้คำพูด แต่หัวหน้าต้องกระทำด้วยการสร้างผลงานให้ลูกน้องได้เห็นด้วย อย่าเอาแต่พูดลอย ๆ ว่าทำได้หรือทำเป็น แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พูดนั้นสามารถทำได้จริง เพื่อเป็นแบบที่ดีให้กับลูกน้อง ต่อไปเวลาสั่งงานให้ทำอะไรลูกน้องก็จะไม่กล้าขัด

 

5. ควรพูดให้กำลังใจลูกน้อง
คำชมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถือเป็นการให้กำลังใจในการทำงานกับลูกน้องได้เหมือนกัน เมื่อลูกน้องทำงานดีก็ควรจะได้รับคำชม ในทางกลับกันเมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาด อาจจะตักเตือนบ้าง แต่ก็ไม่ควรที่จะดุด่าจนเสียกำลังใจ แต่ให้ช่วยแก้ปัญหา และคอยให้คำแนะนำในข้อผิดพลาดเพื่อลูกน้องจะได้พัฒนาและปรับปรุง

 

6. การยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง
ไม่ว่าจะทำงานเก่งแค่ไหนก็ต้องเคยพบเจอกับความผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นหัวหน้าก็ใช่ว่าจะไม่เคยทำผิดมาก่อน ฉะนั้น ยิ่งเป็นหัวหน้าหรือเจ้านายหากทำผิดแล้วรู้จักยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องได้ เมื่อทำผิดพลาดจะได้มีกล้าในการยอมรับ พร้อมหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ถ้าหัวหน้าที่มีอีโก้สูง ไม่รับฟังความคิดเห็นลูกน้องเลย อาจเกิดปัญหาในอนาคตแน่นอน

 

7. หากเกิดข้อผิดพลาดอย่าพยายามหาคนผิด
การเป็นหัวหน้าคนมักจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ เมื่อลูกน้องหรือทีมงานทำผิดพลาด หัวหน้าไม่ควรโยนความผิดให้ลูกน้อง หรือหาว่าใครเป็นคนทำผิด แต่ต้องยอมรับความผิดนั่นไว้เอง แล้วร่วมกันหาต้นเหตุข้อผิดพลาด พร้อมหาทางแก้ปัญหาร่วมกับทีมงานทุกคน

 

8. บริหารลูกน้องด้วยใจ
ถ้าอยากได้ใจใครต้องเริ่มที่ตัวเราก่อนจริงไหม? การให้ใจในที่นี้หมายถึงการที่หัวหน้ารู้จักเอาใจใส่ลูกน้องทุกคน คอยสังเกตพฤติกรรมลูกน้องแต่ละคน ใครชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร ชวนพูดคุยหรือถามไถ่เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่อาจจะไม่ใช่เรื่องงานบ้าง หรือบางทีอาจจะซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปฝากบ้าง นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการบริหารคนให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข

 

 

วิธีจัดการกับลูกน้องประเภทต่าง ๆ


เมื่อคนร้อยพ่อพันแม่มาทำงานร่วมกันย่อมมีทัศนคติที่แตกต่างกันไป ดังนั้น คนที่เป็นหัวหน้าต้องรู้จักวิธีจัดการกับลูกน้องที่มีปัญหาแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อให้การบริหารลูกน้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีวิธีจัดการกับลูกน้องประเภทต่าง ๆ มาแนะนำ ดังนี้

 

  • ลูกน้องขยันแต่ไม่เก่ง

คนบางคนมีความขยัน แต่อาจจะไม่ใช่คนเก่ง เมื่อได้รับมอบหมายงานอาจจะได้งานดีไม่มีประสิทธิภาพมากนัก วิธีจัดการกับลูกน้องประเภทนี้คือ คอยถามอยู่เสมอว่าตอนนี้ทำงานอะไร งานที่ทำคืบหน้าถึงไหนแล้ว มีปัญหาติดขัดตรงไหนไหม เพื่อจะได้ลองฟังวิธีแก้ปัญหาของเขา หากมีข้อผิดพลาดตรงไหนคุณได้ช่วยเสริมได้ทันที

 

  • ลูกน้องขี้เกียจแต่เก่ง

คนเก่งแต่ขี้เกียจมีอยู่ในทุกองค์กร แต่ต้องยอมรับว่าเขาทำงานได้ดีจริง ๆ ถ้าคนกลุ่มนี้ไปทำเรื่องที่กระทบจิตใจเพื่อนร่วมงานคนอื่น ซึ่งวิธีจัดการกับลูกน้องเจ้าปัญหาประเภทนี้ คือหัวหน้าต้องเรียกเข้ามาคุยเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงเขาเห็นและเข้าใจว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกไม่ดี เพราะบางครั้งเขาอาจจะทำโดยไม่รู้ตัว

 

  • ลูกน้องที่มีแต่ปัญหาส่วนตัว

ถ้ามีลูกน้องประเภทนี้ หัวหน้าสามารถจัดการโดยการเข้าไปดูแลสภาพจิตใจลูกน้อง พร้อมเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรื่องส่วนตัวมากระทบกับงาน ควรต้องตักเตือนเพื่อให้รู้ตัวว่าตอนนี้ปัญหาของเขาเริ่มไปกระทบกับเพื่อนคนอื่น

  • ลูกน้องชอบประจบสอพลอ

สำหรับลูกน้องที่ชอบประจบสอพลอหัวหน้า ส่วนใหญ่เพื่อนร่วมงานทุกคนก็มักจะดูออกหมด ยกเว้นแค่หัวหน้าคนเดียวที่ดูไม่ออก ถ้าอยากรู้ว่าใครชอบประจบสอพลอ ให้ลองถามลูกน้องในทีมให้มากขึ้น แล้วคุณอาจจะเห็นปัญหาต่าง ๆ แบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ เพื่อจะได้ระมัดระวังตัวให้มากขึ้น

  • ลูกน้องที่มีอายุมากกว่าหัวหน้า

เดี๋ยวนี้การเป็นหัวหน้านั้น ไม่จำเป็นต้องมีแต่คนอายุมาก ๆ หากต้องเจอลูกน้องที่มีอายุมากกว่าตัวเอง คุณต้องพิสูจน์ตัวเองให้ลูกน้องเห็นด้วยการกระทำไม่ใช่แค่คำพูด  แล้วลองทำความรู้จักกับลูกน้องเพื่อให้รู้ว่าคุณสมบัติหัวหน้าแบบไหนที่เขาต้องการ จะได้ลองนำมาปรับใช้ให้ตรงกับสิ่งที่ลูกน้องต้องการ

 

  • ลูกน้องที่ไม่มีแพสชันในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

คนเราเมื่อต้องทำงานแบบเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ย่อมมีการเบื่อหน่ายเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าลูกน้องของคุณเริ่มที่จะไม่มีแพสชันในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก ในฐานะคุณเป็นหัวหน้าลองเสนอทางเลือกให้เขาลองโยกย้ายให้ตำแหน่งให้เขาได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ เผื่อว่าจะช่วยจุดประกายไอเดียใหม่ ๆ ให้กับเขาได้

 

 

การบริหารลูกน้อง 4 แบบ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด


แน่นอนว่าการเป็นหัวหน้าจะต้องพบเจอกับลูกน้องหลากหลายประเภท นิสัยและพฤติกรรมต่างกันไป อย่างว่าล่ะคนเรามันร้อยพ่อพันแม่ที่ต้องมาทำงานร่วมกัน ดังนั้น เพื่อให้หัวหน้าทำงานกับลูกน้องได้ง่ายขึ้น เรามารู้จักวิธีการ Coach 4 วิธี เพื่อนำไปปรับใช้กับลูกน้อง 4 ประเภท ซึ่งเป็นการอ้างอิงมาจากทฤษฏี Four Stages for Learning any New Skill โดย Noel Burch แห่ง Gordon Training International มาดูกัน

 

  1. ลูกน้องที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองไม่มีความสามารถ (Unconscious Incompetence)
    ถ้าลูกน้องไม่รู้ว่าจะต้องทำงานอะไรก่อนหลัง มีความสับสน ไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไรจึงจะให้งานสำเร็จ ยังหาวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ด้วย
    วิธี Coach : หัวหน้าที่ดีต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยทำอย่างช้า ๆ ทีละขั้นตอน และลองทำไปพร้อม ๆ กันเลย
  1. ลูกน้องที่รู้ตัว ว่าตนเองไม่มีความสามารถ (Conscious Incompetence)
    คนประเภทนี้จะรู้ว่าตัวเองว่าไม่มีความสามารถ ไม่รู้ว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จ และก็หาวิธีแก้ปัญหาไม่ได้
    วิธี Coach : หัวหน้าควรตั้งคำถามกับลูกน้องเพื่อให้เขาตอบ หรือบอกให้เขาค่อย ๆ คิดตามในสิ่งที่หัวหน้าพูด

     

  2. ลูกน้องที่รู้ตัว ว่าตนเองมีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง (Conscious Competence)
    คนประเภทนี้จะรู้จักตัวเองดีว่าถนัดอะไร มีความสามารถด้านไหน สามารถทำอะไรได้ สิ่งไหนที่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม หาวิธีแก้ปัญหาได้ แต่อาจจะไม่ครบทุกด้าน
    วิธี Coach : โดยให้หัวหน้าคอย Guide ให้คำแนะนำนิดหน่อย โดยไม่ต้องสอนให้ทำทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้เขาคิดและทำต่อเอง

     

  3. ลูกน้องที่รู้ตัว และมั่นใจว่าตนเองมีความสามารถโดยไม่สงสัย (Unconscious Competence)
    ลูกน้องประเภทนี้จะรู้จักตัวเองดีว่าถนัดอะไร สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว มีความชำนาญเป็นอย่างมาก ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ก็ทำงานได้เสร็จตามเป้าหมาย
    วิธี Coach : แม้ว่าลูกน้องประเภทนี้จะเก่งอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ควรจะปล่อยปะละเลย ยิ่งมีลูกน้องเก่ง หัวหน้าก็ต้องยิ่งให้การสนับสนุน ติดตามผลการทำงานอยู่เรื่อย ๆ

 

หลักการบริหารคนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกันกับคนหมู่มาก ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีร่วมกันระหว่างการทำงาน ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อผลงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร หากใครที่เป็นเจ้าของหรือหัวหน้า แล้วต้องพบเจอกับลูกน้องประเภทต่าง ๆ ก็ลองนำวิธีจัดการกับลูกน้องที่มีปัญหาเหล่านี้ไปใช้ได้เลย เชื่อว่าคุณต้องพิชิตลูกน้องได้อย่างแน่นอน

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort