เริ่มต้นสร้างร้านค้าใหม่ขายของใน Shopee ต้องสมัครยังไง เสียค่าใช้จ่ายไหม ?

16,977 views

สมัครขายของใน shopee ดีไหม ? เพิ่ม Reach ร้านค้าอย่างไรให้โตไวและทำอย่างไรให้ร้านปัง

พามาบุกตลาดอีคอมเมิร์ชตัวท็อปของเมืองไทยที่ไม่นานมานี้พึ่งพลิกขาดทุนมาเป็นกำไรในปี 2565 ที่พุ่งสูงกว่าสองพันล้านบาทและการเติบโตของร้านค้าบนช้อปปี้ที่พุ่งสูงกว่า 1,500 แบรนด์mujเข้าร่วมซึ่งใครที่กำลังสนใจอยากขายของใน Shopee วันนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Shopee ให้มากขึ้น พร้อมแชร์ทริคในการสมัครเปิดร้านขายของใน shopee ทําไงบ้าง อีกทั้งจะเผยถึงข้อดีข้อเสียของ Shopee Seller และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องเสียให้กับช้อปปี้นั้นมีอะไรบ้าง พร้อมทิ้งท้ายด้วยการเพิ่ม Reach ให้ร้านค้าเพื่อเพิ่มโอกาสให้โตไวและทำอย่างไรให้ร้านปัง 

 

 

รู้จัก Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชดีตีตลาดอันดับหนึ่ง 

Shopee แพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มีจุดเริ่มต้นภายใต้บริษัท SEA Group หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า Gerena ซึ่งก่อตั้งในปี 2009 ที่ต้องได้เปิดตัวครั้งแรกที่สิงคโปร์และขยายยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยด้วยแนวคิดในการมุ่งเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มบนมือถือและโซเชียลมีเดียเพื่อดึงดูดกลุ่มธุรกิจแบบ C2C (ผู้บริโภคกับผู้บริโภค) สู่การเพิ่มจุดเด่นเป็น B2C (ธุรกิจกับผู้บริโภค) ในรูปแบบผสมผสาน

โดยช่วงแรกที่เปิดตัวไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมแก่ผู้ขาย รวมถึงค่าคอมมิชชั่นใด ๆ ส่งผลให้เริ่มแบกรับค่าสินค้าไม่ไหวต้องการมีการปรับเปลี่ยรูปแบบทำให้ในปี 2565 จากที่เคยขาดทุนมาตลอดพลิกกลับมามีกำไรมากกว่า 2 พันล้านและบนช้อปปี้เองก็เติบโตมากขึ้นจากการเข้าร่วมของแบรนด์มากกว่า 1,500 แบรนด์และมียอดผู้ขายมากกว่า 1 ล้านรายทำให้มีเงินหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในแต่ละปีหลายพันล้าน

เทียบชัดข้อดี – ข้อเสียของ Shopee Seller 

จากข้างต้นจะเห็นถึงข้อมูลร้านค้าที่เข้ามาขายมากกว่า 1 ล้านรายและมากกว่า 1,500 แบรนด์ซึ่งหากคุณเริ่มสนใจว่าขายของใน Shopee ดีไหม ? และมีข้อเสียอย่างไรมาดูคำตอบกัน 

ข้อดี (Pros):

  • ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เพิ่มโอกาสให้ร้านค้าของคุณกลายปเ็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าแบบวงกว้างทั้งในแอปและบราวเซอร์ 
  • ให้คุณลงขายสินค้าต่าง ๆ ได้ฟรี พร้อมจัดส่งฟรี ไม่มีค่าคอมมิชชั่น (มีเงื่อนไข)
  • เครื่องมือสำหรับการขายและทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึก รวมถึงข้อมูลสำคัญเพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงร้านค้าได้
  • มีช่องทางในการติดต่ออย่าง Shopee Seller Center ที่ออกแบบมาสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง
  • แก้ไขสินค้าได้ง่ายกว่า Lazada ด้วยการออกแบบหน้าตาแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน

ข้อเสีย (Cons):

  • มีขนาดตลาด (Market Size) ที่เล็กกว่า Lazada
  • การแข่งขันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะสินค้าจากประเทศ โดยเฉพาะจากจีน (China)
  • การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง 
  • ช่องทางการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับผู้ซื้อยังพบข้อบกพร่องอยู่บ้าง

เริ่มต้นสมัครขายของใน Shopee

เริ่มต้นสมัครขายของใน Shopee ต้องทํายังไง ? ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่าน 2 ช่องทางได้แก่ ผ่านคอมพิวเตอร์ (เว็บบราวเซอร์) และผ่านแอพลิเคชั่น Shopee โดยมีรายละเอียดแต่ละช่องทางดังนี้ 

การสร้างบัญชี Shopee ผ่านคอมพิวเตอร์

  • เริ่มจากเข้าสู่เว็บไซต์ Shopee แล้วเลือก Tab เริ่มต้นขายสินค้า
  • จากนั้นให้ศึกษาข้อมูล ประเภทร้านค้าและโปรแกรมส่งเสริมการขายของ Shopee ว่ามีรายละเอียดอย่างไร ? 
  • เมื่ออ่านข้อมูลครบให้เริ่มทำการสมัครบัญชี Shopee 
    • โดยกรอกเบอร์โทรศัพท์ กดต่อไป
    • ตรวจสอบด้วยการเลื่อนจิกซอว์
    • จากนั้นให้กดถัดไปเพื่อรับรหัส OTP แล้วกรอกรหัส 6 หลักแล้วยืนยัน
    • ตั้งรหัสผ่าน
  • แล้วสร้างบัญชีใหม่ เมื่อกรอกรายละเอียดครบก็สามารถล็อกอินเข้าสู่หน้า Seller Centre เพื่อเริ่มต้นขายสินค้าได้เลย 

การสร้างบัญชี Shopee ผ่านแอปพลิเคชัน

  • ให้ทำการดาวน์โหลด Shopee Seller Centre ที่รองรับทั้ง IOS และ Andriod 
  • จากนั้นเลือก ลงทะเบียน
    • กรอก หมายเลขโทรศัพท์ แล้วกดถัดไป 
    • ตรวจสอบด้วยการเลื่อนจิกซอว์
    • ใส่ รหัสยืนยันตัวตน (OTP)
    • ตั้งรหัสผ่าน
  • แล้วสร้างบัญชีใหม่ เมื่อกรอกรายละเอียดครบก็สามารถล็อกอินเข้าสู่หน้า Seller Centre เพื่อเริ่มต้นขายสินค้าได้เลย

Tip! ควรตั้งรหัสผ่านที่รัดกุมโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกันเพื่อเพิ่มความปลอดภัย


สมัครขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง

แต่ก่อนจะเริ่มต้นขายของก็อยากให้ร้านค้าแต่ละร้านทราบนโยบายของ Shopee ก่อนว่ามีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ร้านต้องเสียเพื่อได้นำไปวางแผนคิดเรื่องต้นทุน ค่าสินค้า รวมถึงค่าอื่น ๆ ก่อนตั้งราคา ดังนี้ 

  • ค่าธรรมเนียมจากการขาย สำหรับค่าธรรมเนียมการขาย Shopee จะมีการเรียกเก็บจากร้านค้า Shopee Mall Sellers เท่านั้นซึ่งจะคิดที่ 3% .ในหมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหมวดหมู่อื่น ๆ จะคิดที่ 5% (หักส่วนลดที่ผู้ขายรับผิดชอบ ไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่น ๆ )
  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงินแบบปลายทาง จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระปลายทางจากผู้ขายที่ 2% (ค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร ไม่ว่าจะผ่าน Mobile Banking หรือการโอนผ่านธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ขายที่ 2% (ค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet คิดเมื่อมีการชำระสินค้าผ่าน AirPay Wallet โดยจะคิดอยู่ที่ 2% ของยอดทั้งหมดที่ผู้ซื้อต้องชำระ (ค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต จะคิดค่าธรรมเนียม 2% จากผู้ขายเมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต (ค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ จะคิดค่าธรรมเนียม 5% จากผู้ขายเมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ((2% มาจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือเดบิต ส่วน 3% จะคิดจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือเดบิตแบบผ่อนชำระ) ซึ่งจะรวมค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater จะคิดค่าธรรมเนียม 2% กับผู้ขายเมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่าน SpayLater ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม (ค่าธรรมเนียมรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่าง ๆ รวม Shopee Coin)


5 เคล็ดลับฉบับพ่อค้าแม่ค้า Shopee มือใหม่ที่จะขายอย่างไรให้ปัง 

ทิ้งท้ายด้วย 5 เคล็ดลับฉบับพ่อค้าแม่ค้า Shopee มือใหม่ที่จะขายอย่างไรให้ปังซึ่งจะช่วยให้ร้านของคุณถูกมองเห็นและเพิ่มโอกาสในการขายมากยิ่งขึ้น 

1. Keyword ต้องมี ซึ่งเป็นข้อแรกที่สำคัญทำให้ลูกค้าเจอร้านของคุณเมื่อค้นหา โดยสรุปหลักการสั้น ๆ ง่าย ๆ มากให้ 

  • สินค้าที่มีแบรนด์ ต้องมีชื่อแบรนด์นำหน้าเสมอ
  • สินค้าที่ไม่มีแบรนด์ ต้องนำหน้าด้วยประเภทของสินค้า เช่น ชุดเดรส เสื้อคอกลม กางเกงขายาว ถุงมือ กระทะ ตู้เย็น เป็นต้น 
  • ควรระบุเพศว่าเหมาะกับใคร ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก หรือ Unisex
  • แทรกด้วยวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา เช่น เสื้อเชิ้ตทำงานผู้ชาย รองเท้าทำงานผู้หญิง เป็นต้น 
  • ตัวอักษรชื่อสินค้าไม่ควรเกิน 60 ตัวอักษร 


2. รูปถ่ายต้องชัด เห็นรายละเอียดสินค้า
เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่าเราขายสินค้าอะไร มีลักษณะแบบไหน โดยควรเห็นแวปเว็บแรกแล้วรู้เลยว่าสินค้านั้นเป็นอะไรและภาพถ่ายไม่ควรมีตัวอักษร หรืออะไรมาบดบังซึ่งควรเลือกใช้กล้องที่ให้ภาพถ่ายคมชัดและควรเลือกถ่ายในช่วงกลางวันที่มีแสงธรรมชาติเข้ามาช่วยให้ภาพสวยยิ่งขึ้น  

3. เข้าร่วมแคมเปญ มีโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า ซึ่งสามารถทำควบคู่กันได้เนื่องจากในแต่ละเดือน Shopee มักจะมีแคมเปญต่าง ๆ ออกมาให้ร้านค้าเข้าร่วมเพื่อเพิ่มรายได้ในแต่ละเดือน รวมถึงตัวร้านค้าก็อาจจะจัดกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาร้านมากขึ้น เช่น ส่วนลด ของแถม ฟรีค่าจัดส่ง หรือโปรซื้อ 1 แถม 1 เป็นต้น 

4. Active ร้านอยู่เสมอ แม้ข้อดี shopee คือลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อสินค้าที่ได้ทันที แต่ถ้าหากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามสินค้ากับทางร้านก็ต้องรอร้านค้ามาตอบซึ่งจะดีกว่าไหมหากมีการ standby หรือตั้งแจ้งเตือนเมื่อมีการทักเข้ามาสอบถามเพื่อช่วยให้ความรวดเร็วกับลูกค้าและสร้างความประทับใจที่พวกเขาอาจจะกลับมาซื้อซ้ำในอนาคตก็ได้ 

5. หมั่นอัปเดตสินค้า ให้น่าสนใจ ซึ่ง Shopee เองก็มีการออกแบบหน้าตาร้านค้าให้เลือกปรับแต่งได้ตามความต้องการ รวมถึงเจ้าของร้านเองก็ต้องหมั่นอัปเดตสินค้าให้น่าสนใจ อัพสินค้าตามเทรนด์ต่าง ๆ บ้าง รวมถึงรูปภาพต่าง ๆ ที่ใช้ในร้านให้ดูน่ามอง แตกต่างจากร้านอื่นซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามา 

 

สมัครขายของใน shopee จึงทำได้ไม่ยากเลย แค่เพียงมีมือถือเครื่องเดียวก็สมัครได้ โดยขั้นตอนการสมัครก็ไม่ซับซ้อนแค่เข้าหน้าเว็บ หรือหน้าแอป กรอกข้อมูล ยืนยันตัวตน ตั้งรหัสก็เข้าสู่ระบบเพื่อลงขายสินค้าได้ทันที แต่ทั้งนี้เนื่องจากเป็นร้านค้าใหม่พึ่งเริ่มต้นอาจจะไม่มีใครรู้จักการจึงจำเป็นต้องหมั่นเช็คคีย์เวิร์ด ตั้งชื่อสินค้าให้ดูน่าสนใจ รวมถึงรูปถ่ายสินค้าก็ต้องชัด มีการ Active ร้านอยู่เสมอและที่สำคัญต้องหมั่นอัพเดตทั้งข้อมูลและร้านค้าให้ดูน่าสนใจเพื่อจะได้เรียกลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามา 

 

 

แต่สำหรับใครที่ไม่มีเวลา อยากไปโฟกัสในการหาสินค้ามาวางขายบน Shopee มากกว่าก็สามารถเรียกใช้ ZORT ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำเรื่องการจัดการระบบร้านค้าครบวงจรที่ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลระบบหลังบ้าน มีเวลาโฟกัสสินค้ามากขึ้น โดยสามารถ

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x