ทำโฆษณาออนไลน์ระวังให้ดี! 2021 นี้ภาษีโฆษณาออนไลน์มาแล้ว
สำหรับหลาย ๆ คนเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาก็อาจเป็นเดือนปกติทั่วไป แต่สำหรับคนที่โลดแล่นอยู่ในวงการ Online Marketing แล้ว เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ นับว่าเป็นเดือนที่ร้อนหนาวไม่ใช่น้อยเมื่อ Facebook เตรียมให้ผู้ใช้บริการโฆษณา หรือสายยิง Facebook Ads ทั้งหลายต้องเสียภาษีโฆษณาออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป โดยจะเสียเป็นค่า VAT 7% หรือพูดง่าย ๆ ต่อไปนี้จะวางแผนทำค่าโฆษณากับ Facebook ก็ต้องคำนวณภาษีเข้าไปด้วย ซึ่งในบางกรณี หรือบางแอคเคาท์นั้น การเพิ่มขึ้นของภาษีก็ยังส่งผลให้ต้นทุนในการทำโฆษณาเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งหากผู้ประกอบการหรือสายยิงโฆษณาคนไหนยังไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ หรือไม่แน่ใจว่าภาษี Facebook นี้มาได้อย่างไร และจะต้องเตรียมยื่นภาษีแบบไหน ในวันนี ZORT จะขอมาอธิบายและสรุปทุกประเด็นให้ทุกคนได้เข้าใจง่าย ๆ เอง
เคลียร์ให้เข้าใจ! ภาษีโฆษณาออนไลน์มาจากไหน
แน่นอนว่าเมื่อมีเก็บภาษี Facebook ขึ้นมา หลาย ๆ คนคงอาจเกิดข้อสงสัยหลัก ๆ 2 ข้อ คือ Facebook เสียภาษีในไทยได้อย่างไร และการทำโฆษณาตัวกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ จะเสียภาษีเหมือนกันไหม โดย ZORT ขอแยกตอบออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้
Facebook เสียภาษีในไทยได้อย่างไร?
แท้จริงแล้ว เหตุผลที่ Facebook ออกมาประกาศเช่นนี้นั้นเกิดขึ้นจากการ ‘ประกาศใช้กฎหมาย e-Service’ ที่ผ่านมติการเห็นชอบตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาแล้ว โดยกฎหมาย e-Service นี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายการเก็บภาษีในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่มกับธุรกิจที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ เช่น ดาวน์โหลดสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ เช่น เพลง ภาพยนตร์ สื่อโฆษณา และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่อย่างไรก็ดี กฎหมาย e-Service ก็ยังระบุไว้ว่า ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ แพลตฟอร์มที่ให้บริการด้านสื่อโฆษณาแบบ Facebook เองก็ต้องเสียภาษี และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าโฆษณาบน Facebook ปี 2021 ใหม่ด้วย
ค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์มอื่นมี VAT ด้วยไหม?
อย่างที่บอกไปข้างต้นในเรื่องของกฎหมาย e-Service แน่นอนว่า แพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Google, Line, TikTok, Netflix และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่มีการให้บริการดาวน์โหลดและให้บริการสื่อโฆษณาก็จะต้องเสียภาษีโฆษณาออนไลน์ในส่วนนี้เช่นกัน โดยการเก็บ VAT ในส่วนนี้ ในกรณีของ Facebook นั้น ตัวระบบจะทำการคิดค่าโฆษณาบน Facebook ที่ไม่ได้รวมภาษีไว้ แต่จะมาคิด VAT แยกออกจากงบโฆษณา ซึ่งการเพิ่มขึ้นมาของภาษีก็เหมือนเป็นการเพิ่มต้นทุนในการสายโฆษณา รวมถึงผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การคิดภาษียังจะปรากฏอยู่ในทุกแอคเคาท์ของการทำโฆษณา เพราะฉะนั้น ต่อให้ใช้บัญชีส่วนตัว หรือเปิดบัญชีใหม่เพื่อทำโฆษณาก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงภาษีในส่วนนี้ได้
เช็กประเภทภาษีก่อนจะเสียภาษีโฆษณาออนไลน์
การเสียภาษีโฆษณาออนไลน์นั้นจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างและรายละเอียดของภาษีแต่ละประเภทให้ดี โดยภาษีที่อาจมีผลกระทบจากการที่ Facebook เสียภาษีในไทยนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT
หลายคนอาจมองว่า การเพิ่มขึ้นของภาษีนั้นจะทำให้ต้นการยิงโฆษณาสูงขึ้นถึง 7% และทำให้ค่าโฆษณา Facebook ปี 2021 เปลี่ยนไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากนักทำโฆษณาออนไลน์คนไหนได้ยื่น ภพ. 36 เป็นประจำหรือเป็นธุรกิจที่จด VAT และยื่น ภพ. 36 อยู่แล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีออนไลน์โฆษณาเพิ่มเติม เนื่องจากบัญชีเหล่านี้มีการเสียภาษีให้รัฐเรียบร้อยแล้ว
แต่นอกจากการเสียภาษีเป็นประจำอยู่แล้ว ZORT ยังอยากขอให้นักยิงโฆษณาทุกคนลองกลับมาพิจารณาถึงการหักค่าใช้จ่ายก่อนยื่นภาษีด้วย โดยทั่วไปแล้ว การหักค่าใช้จ่ายยื่นภาษีสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ หักแบบเหมาจ่าย และ หักแบบค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งหากเป็นแบบเหมาจ่ายจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมาหักภาษีได้ แต่หากเป็นแบบหักตามค่าใช้จ่ายตามจริงก็จะสามารถนำมาหักตอนคำนวณภาษีได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีหลักฐานอยู่จริง และต้องมี ‘ชื่อผู้ของเรา’ ในฐานะเป็นผู้ซื้อโฆษณาด้วย
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
นอกเหนือจาก VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่อธิบายไปข้างต้นแล้ว ยังมี ‘ภาษีเงินได้นิติบุคคล’ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการทำโฆษณาออนไลน์ได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการพิจารณาและช่วยเตรียมการได้รอบด้าน เรายังต้องเข้าใจถึงภาษีประเภทนี้ด้วยเช่นกัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรระบุไว้ให้บริษัทหรือห้างนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งโดยปกติแล้วจะคำนวณจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเวลา 12 เดือน แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น รายจ่ายบางประเภทก็ยังสามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นกัน โดยรายจ่ายเหล่านี้จะต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับกิจการ และมีหลักฐานที่มี ‘ชื่อบริษัท’ ถูกต้องชัดเจน
แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวข้องกับภาษี Facebook หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างไร ZORT ขออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า หากธุรกิจของเราได้จดชื่อเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล เราสามารถออกหลักฐานการทำโฆษณากับ Facebook หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่เป็น ‘ชื่อบริษัท’ เพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ต้องยื่นภาษีส่วนนี้อย่างไร?
เมื่อเข้าใจประเภทของภาษีที่อาจเกี่ยวข้องกับภาษีโฆษณาออนไลน์แล้ว ทีนี้ก็มาดูถึงขั้นตอนการเตรียมยื่นภาษี Facebook และแพลตฟอร์มต่าง ๆ กัน โดย Zort ขอทำลิสต์รายละเอียดให้ทุกคนได้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. เช็กบริษัทที่ทำโฆษณาด้วยให้ดี
หากเราใช้บริการโฆษณากับบริษัทที่จดทะเบียนดำเนินกิจการในประเทศไทย เราสามารถขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเพื่อทำการขอยื่นคืนภาษีได้ แต่ถ้าหากเราซื้อหรือใช้บริการโฆษณากับบริษัทต่างประเทศ เราจะต้องทำการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทที่เราใช้บริการด้วย ซึ่งหลังจากจ่ายภาษีโฆษณาออนไลน์ในส่วนนี้แทนบริษัทต่างประเทศไปแล้ว เรายังสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีในส่วนนี้กับกรมสรรพากรได้
2. เตรียมเอกสารให้พร้อมยื่น ภ.พ. 36
เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายคนอาจมองว่า การเสียภาษี Facebook และภาษีโฆษณานั้นเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ ZORT ขอย้ำเลยว่า การกรอกภ.พ. 36 และเสียภาษีตามกฎหมายนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เพราะนอกจากจะไม่เสี่ยงต่อการตรวจสอบย้อนหลังแล้ว การยื่น ภ.พ. 36 ยังช่วยให้เราเงินภาษีบางส่วนคืนอีกด้วย โดยขั้นตอนการยื่น ภ.พ. 36 เพื่อขอคืนภาษีนั้นจะมีขั้นตอน ดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้
- ใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินที่เป็น ‘ชื่อของเรา’ หรือ ‘ชื่อบริษัท’ ซึ่งชื่อในส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของภาษี
- ฟอร์ม ภ.พ. 36 ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสรรพากร
ขั้นตอนการกรอก
- กรอกข้อมูลผู้นำส่งภาษีให้ครบ ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของเราและกิจการของเรา
- กรอกข้อมูลการจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการให้ครบ และระบุเป็น ‘ค่าโฆษณา’
- กรอกภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคิดจากสูตร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น x 7% |
สุดท้ายนี้ ZORT หวังว่าข้อมูลที่นำมาฝากนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยให้กับเจ้าของธุรกิจและนักทำโฆษณาออนไลน์ทุกคนได้เข้าใจถึงภาษีโฆษณาออนไลน์ และภาษี Facebook รวมถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ อย่าลืมนำข้อมูลเหล่านี้เก็บไปใช้เพื่อช่วยให้ธุรกิจของเราปรับตัวได้แม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ก็ตาม
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
5 เหตุผลที่ร้านค้าออนไลน์ควรส่งพัสดุผ่านระบบ ZORT
ร้านค้าออนไลน์อย่าพลาดระบบการส่งพัสดุ ZORT เชื่อมต่อขนส่งชั้นนำ ราคาพิเศษ บริการครบครัน แจ้งเลขพัสดุลูกค้าได้ง่ายๆ
สรุปเทรนด์ Loyalty Program แต่ละ Generation ประจำปี
ZORT พาเจาะลึกการทำ Loyalty Program แต่ละ Generation พร้อมส่องพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละ Generation ฉบับปี 2024 ว่าคนแต่ละเจนสนใจอะไรกันบ้าง
ยอดวิวของ FB, IG, YouTube และ TikTok นับอย่างไร อัปเดตปี 2024
ZORT สรุปมาให้แล้ว แต่ละแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram, TikTok และ YouTube ยอดวิวคลิปวิดีโอแต่ละช่องทางนับอย่างไร ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะนับเป็น 1 ยอดวิว