เปิดข้อดี-ข้อเสียของการตลาดบน TikTok ที่ธุรกิจออนไลน์ต้องรู้
ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้แนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ TikTok พร้อมวิธียิงแอด Tiktok กันไปเบื้องต้นแล้ว บทความนี้ เราจะมาบอกต่อเรื่องข้อดีและข้อเสียการทำการตลาดบน TikTok กันว่าทำไมธุรกิจของคุณจึงไม่ควรรอช้า และก้าวเข้ามาทำการตลาดออนไลน์ควบคู่ไปกับการวางระบบจัดการร้านค้าแบบมือโปรตั้งแต่วันนี้
การทำการตลาดบน TikTok มีข้อดีอย่างไร
หากพูดถึงสถิติการใช้งานโซเชียลมีเดียในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาจะพบว่า 67% ของคนทั่วโลกหันมาเล่นโซเชียลผ่านสมาร์ตโฟนมากขึ้น และวิดีโอแนวตั้งค่อย ๆ ได้รับความนิยมสูงขึ้นไม่แพ้แนวนอน ทำให้แพลตฟอร์มที่เกิดมาเพื่อคลิปแนวตั้ง แถมยังซัพพอร์ตวิดีโอสั้น ๆ แต่สนุกสนานและมีลูกเล่นมากมายอย่าง “TikTok” กลายเป็นแหล่งรวมทั้งคอนเทนต์สุดไวรัลที่ทันกระแสทุกเทรนด์ และมีสถิติการใช้งานที่น่าสนใจจนหลายธุรกิจอยากกระโดดเข้ามาทำการตลาดบน TikTok เพื่อปั้นแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและใกล้ชิดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากยิ่งขึ้นบ้าง
เกริ่นกันมาขนาดนี้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า ทำไมนักธุรกิจอย่างคุณถึงไม่ควรมองข้ามการตลาดบน TikTok แพลตฟอร์มนี้มีข้อดีเหนือกว่าช่องทางอื่นแค่ไหนกัน?
1. ยอดดาวน์โหลดสูง คนใช้งานบ่อย
จากสถิติของ Sensor Tower เมื่อเดือนมกราคมปี 2020 TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในโลกทั้งบน AppStore และ PlayStore ผู้ใช้งาน TikTok ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นในช่วงอายุ 16 – 24 ปี และรองลงมาคือ 25 – 34 ปี นอกจากนี้ สถิติจาก Oberlo ยังระบุว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เปิดแอปหลายครั้งต่อวัน และใช้เวลาในแอปเฉลี่ยมากถึง 52 นาทีต่อวัน คุณจึงไม่ควรพลาดโอกาสในการสื่อสารและเพิ่มการรับรู้ให้กับตัวแบรนด์ผ่านการทำการตลาดบน TikTok ที่มียอดการใช้งานมหาศาลแบบนี้
2. อัลกอริธึมเอาใจผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
ถ้าจะบอกว่า TikTok “ป้อน” สิ่งที่ผู้ใช้งาน “อยากกิน” ก็คงไม่ผิดนัก เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งรวมคลิปสั้น ๆ เหมาะกับคนยุคนี้ที่ไม่ชอบเสพอะไรยาว ๆ ทั้งยังเป็นคลิปสนุกสนานเบาสมองช่วยคลายความเครียดที่เราต้องเจอในแต่ละวันแล้ว หากใช้งานไปเรื่อย ๆ TikTok จะค่อย ๆ จัดระเบียบคอนเทนต์บนหน้า For You ให้เป็นแบบที่เราชอบ ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในแอปนานขึ้น
แล้วสิ่งนี้ทำให้การทำการตลาดบน TikTok มีข้อดีอย่างไร? ก็ดีตรงที่คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ที่กลมกลืนไปกับสิ่งที่ผู้ใช้งานชอบดูได้เสมือนว่าโฆษณาของคุณเป็นคอนเทนต์หนึ่งที่แรนดอมมาเจอ เมื่อการตลาดบน TikTok ไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าถูกยัดเยียดหรือฮาร์ดเซลส์จนเกินไปแล้ว ก็ไม่ยากที่คุณจะประสบความสำเร็จในการสร้าง Engagement หรือเพิ่ม Traffic ให้คนคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของคุณ
3. รูปแบบการทำการตลาดบน TikTok หลากหลายและถูกใจผู้บริโภค
อีกข้อดีการทำการตลาดบน TikTok คือ นอกจากจะเลือกสร้างบัญชี TikTok ของแบรนด์เพื่อเอาไว้ลงคอนเทนต์ของตัวเองแล้ว คุณยังมีทางเลือกในการยิงแอดหรือทำแคมเปญหลายรูปแบบ แถมลูกเล่นหลาย ๆ อย่างยังถูกใจผู้บริโภค และง่ายต่อการที่ Users จะเอาไปเล่นต่อจนอาจกลายเป็นไวรัลได้ง่าย ๆ เช่น
เพิ่มยอด Reach
หากคุณต้องการเพิ่มยอด Reach หรือการเพิ่มยอดคนเห็นโฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น สามารถเลือกทำโฆษณาบนแอปในรูปแบบต่อไปนี้
- Brand Takeover เป็นคลิปสั้น ๆ ที่ผู้ใช้งานจะเห็นทันทีเมื่อเปิดแอป การันตีว่ากลุ่มเป้าหมายจะเห็นแน่ ๆ เหมาะใช้สำหรับแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วและต้องการโปรโมตแคมเปญให้ลูกค้าทราบ
- TopView เป็นคลิปที่อยู่ด้านบนของแอป และเหมาะกับการ lead กลุ่มเป้าหมายไปยังเว็บไซต์ของแบรนด์
- In-feed Ads เป็นโฆษณาที่จะโผล่มาระหว่างที่ผู้ใช้งานกำลังเพลิดเพลินกับคอนเทนต์ต่าง ๆ อยู่ จะเรียกว่าเป็น Ads ที่เนียน ๆ มาก็ไม่ผิด สามารถตั้งค่าให้ lead ไปยังหน้าเว็บที่ต้องการได้
Interact กับกลุ่มเป้าหมาย
แต่หากใครอยากมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย อยากทำการตลาดบน TikTok ด้วยแคมเปญที่ชวนคนมาเล่นเยอะ ๆ ได้ ทาง TikTok เองก็มีอีกตัวเลือกให้คุณ ดังนี้
- Hashtag Challenge โดยคิด Hashtag เกี่ยวกับตัวแบรนด์หรือแคมเปญที่ฟังดูแล้ว Catchy จดจำง่ายเพื่อให้ผู้ใช้ TikTok มาร่วมสนุก อาจมีการลุ้นรางวัลเพื่อกระตุ้นให้คนอยากเล่น เมื่อ Hashtag ขึ้นเทรนด์ก็จะช่วยให้คนรู้จักแบรนด์คุณหรือแคมเปญที่ต้องการโปรโมตมากขึ้น
- Branded Effect เพียงสร้าง Effect ของแบรนด์คุณเพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งาน โดยควรเป็น Effect ที่สามารถโปรโมตแคมเปญนั้นไปในตัว เมื่อมีคนเล่น TikTok หยิบไปใช้ในคลิปของตัวเองก็เท่ากับได้โปรโมต เป็นอีกข้อดีของการทำการตลาดบน TikTok ที่มีประสิทธิภาพ
ข้อเสียการทำการตลาดบน TikTok ที่คุณต้องระวัง
พูดถึงข้อดีการทำการตลาดบน TikTok ไปแล้ว แล้วการทำการตลาดบน TikTok มีข้อเสียอย่างไรที่คุณต้องพึงระวังบ้าง?
1. ถ้าดึงความสนใจไม่ทันผู้ชมจะกดผ่าน
พฤติกรรมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มดูคลิปที่สั้นลง และมีสมาธิจดจ่อได้ไม่นาน เพราะฉะนั้น แม้ว่า TikTok จะพัฒนาให้ลงคลิปที่มีความยาวมากกว่า 60 วินาทีได้แล้ว แต่หากคุณไม่สามารถดึงความสนใจได้ภายใน 3 วินาทีแรก คนก็จะเลื่อนผ่าน และหากคลิปนั้นถูกกดข้ามบ่อย ๆ TikTok จะมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ดี ทำให้มีโอกาสสูงที่คลิปนั้นจะถูกดันจน “จม” และทำยอดวิวแบบออร์แกนิกได้ไม่สูงมากอีกต่อไป
2. การทำการตลาดบน TikTok ไม่เหมาะกับวิดีโอแนวนอน
อย่างที่เราได้บอกไปว่า พฤติกรรมคนในยุคนี้ดูคลิปแนวตั้งกันมากขึ้น อาจเป็นเพราะว่าไม่ต้องหมุนจอมือถือ ใช้งานมือเดียวได้ง่ายกว่าการถือโทรศัพท์ในแนวนอน หรือจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ แต่หากแบรนด์คุณเน้นทำคลิปแนวนอนเป็นหลัก TikTok อาจยังไม่ตอบโจทย์ เพราะตัวแอปถูกดีไซน์มาให้ซัพพอร์ตคลิปแนวตั้ง อาจต้องเปลี่ยนวิธีการถ่ายทำ หรือเติมภาพด้านบนด้านล่างลงไปเพื่อให้ดูเหมือนเป็นคลิปที่แสดงผลเต็มจอ
3. ต้องอาศัยเวลาและเงินทุน
เพราะบน TikTok ใคร ๆ ก็โปรโมตตัวเองหรือธุรกิจของตัวเองได้ และท่ามกลางจำนวนคลิปหลายล้านคลิป การจะทำให้ Ads ของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจึงต้องอาศัยการวางกลยุทธ์การตลาดบน TikTok ที่ดี ทำคลิปให้ปังจริง ๆ และใช้เงินยิงโฆษณาในจำนวนที่เหมาะสม เพื่อให้ผลตอบรับคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป ไม่ใช่การเสียเงินโปรโมตคลิปที่ไม่สร้างความน่าจดจำให้กับแบรนด์
ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย TikTok เองก็เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะนำข้อดีการทำการตลาดบน TikTok มาปรับใช้ให้เข้ากับแผนการตลาดของแบรนด์คุณได้มากแค่ไหน และหากใครที่เปิดร้านค้าออนไลน์และทำการตลาดบน TikTok ได้แล้ว ก็มาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร้านค้าของคุณผ่านระบบจัดการสต๊อกสินค้ากับ ZORT ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเลย ที่นี่
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 02-026-6423
Line: @zort
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
เปิด 6 ไอเดียเพิ่มยอดขายตรุษจีน ให้รับทรัพย์แบบปัง ๆ ยอดขายรัว ๆ
ส่อง 6 ไอเดียกลยุทธ์การตลาดพิชิตใจลูกค้ารับตรุษจีนที่เหมาะต่อการเพิ่มยอดขายด้วย เพิ่มรายได้ให้แบรนด์รับทรัพย์แบบรัว ๆ
อัปเดตพฤติกรรมผู้บริโภค เผยกระแสไวรัลกระตุ้นให้คนไทยใช้จ่ายมากขึ้น
ชวนนักการตลาดส่องพฤติกรรมผู้บริโภคครึ่งปี 2567 ผลสำรวจเผยว่าคนไทยยังใช้จ่ายสนุก มาจากปัจจัยอะไรบ้าง คนแต่ละช่วงวัยเขาชอบชอปปิงตอนไหนบ้าง ที่นี่มีคำตอบ