ปัจจัยของธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading Business) ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

6,507 views

ธุรกิจซื้อมาขายไปคืออะไร?

         ในส่วนธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นก็คือ หนึ่งประเภทของการทำธุรกิจโดยที่เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในส่วนของการผลิตสินค้าด้วยตัวเอง นั่นก็เพราะว่าเจ้าของธุรกิจสามารถซื้อสินค้าโดยตรงจาก “ผู้ผลิตสินค้า” หรือ “พ่อค้าคนกลาง” เพื่อรับสินค้าแล้วนำมาขายต่อโดยการเพิ่มราคาเพื่อกินกำไรนั่นเอง

ถ้าหากมองภาพของธุรกิจซื้อมาขายไปไม่ออก ก็ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าเราต้องการจะขายสินค้าอะไรสักอย่าง เช่น เสื้อผ้า, รองเท้า หรืออาจจะเป็นสินค้าอื่นๆ ที่คุณนั้นไม่มีทั้งเงินลงทุนหรือว่ากำลังในการผลิตสินค้าด้วยตัวเอง ดังนั้นคุณก็เพียงแค่หาทางออกอื่นโดยการไปรับซื้อสินค้ามาจากแหล่งอื่นในราคาที่ถูก เช่น ซื้อรองเท้ามาคู่ละ 1,500 บาท แล้วนำมาขายต่อในราคาที่สูงขึ้น อาจจะเป็น 2,000 บาท หรือ 3,000 บาท เพื่อทำกำไรในส่วนต่างของราคานั่นเอง

ทำไมต้องมีธุรกิจซื้อมาขายไป

          ผู้ผลิตบางร้านนั้นอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในส่วนของการผลิตสินค้า แต่อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญหรือมีความสามารถมากเพียงพอที่จะนำพาสินค้าไปสู่ท้องตลาดหรือนำสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้โดยตรง ดังนั้นเจ้าของธุรกิจรายย่อยหรือพ่อค้าคนกลางจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สินค้าของผู้ผลิตเหล่านั้นไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ณ เหตุการณ์นี้จึงทำให้เกิด “ธุรกิจซื้อมาขายไป” นั่นเอง 

ธุรกิจซื้อมาขายไป จึงเป็นธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อ-ขายสินค้า หรือเป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค หรือจากผู้ขายส่งอีกต่อหนึ่ง

ซึ่งในส่วนปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจซื้อมาขายไปนั่นคล่องตัวก็คือ “การบริหารจัดการร้านค้า” ซึ่งมีปัจจัยหลักๆ อยู่ประมาณ 4 ข้อใหญ่ๆ ที่ควรคำนึง

     1. การจัดการหน้าร้าน

การจัดการหน้าร้านคือเป็นปัจจัยแรกที่เราควรจะคำนึงสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นก็เพราะว่าเราควรที่จะรู้ว่าสินค้าที่เราขายนั้นควรจะขายให้ใคร แล้วกลุ่มเป้าหมายของเรานั้นอาศัยอยู่แถวไหน ซึ่งสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า การหา “Location” ที่เหมาะสม ซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปเพราะว่า เราสามารถจะขายสินค้าผ่านออนไลน์ได้แล้ว

  1. การจัดการสต๊อกสินค้า 

ในส่วนของธุรกิจซื้อมาขายไป อาจจะไม่ได้เป็นธุรกิจที่เพียงนำสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งมาขาย แต่ถว่าอาจจะมีการนำเข้าสินค้าหรือรับสินค้ามาขายต่อแบบหลากหลาย ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้าจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรจะคำนึง เพราะถ้าหากการที่รับสินค้ามามากเกินจนขายไม่หมด อาจจะทำให้เกิด Dead Stock ขึ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้เงินทุนเราไปจมกับสินค้าที่จะขายไม่ออกนั่นเอง ดังนั้นเจ้าของกิจการจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของการจัดการกับสินค้าและสต๊อกสินค้าเพื่อที่จะเลือกสินค้ามาสต๊อกให้คุ้มและเกิดกำไรกับร้านของตนเองมากที่สุด

  1. การจัดการรายการซื้อขาย 

ซึ่งธุรกิจเหล่านี้อาจจะต้องพบเจอกับจำนวนออเดอร์ของสินค้าที่เข้ามาอย่างหลากหลาย ดังนั้นเจ้าของธุรกิจควรจะมีการจัดการกับออเดอร์สินค้าที่ดี เพราะว่าถ้าหากไม่มีการจัดการออเดอร์ที่ดี อาทิ ไม่มั่นใจว่าลูกค้าท่านนี้ สั่งสินค้าอะไรบ้าง เป็นเงินจำนวนเท่้าไหร่ หรือต้องส่งสินค้าให้วันไหน อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้เสียลูกค้าหรือขาดทุนก็เป็นไปได้ ดังนั้นการที่จะทำไม่ว่าจะเป็นทั้งธุรกิจทั่วไปหรือธุรกิจซื้อมาขายไป ก็ควรจะจัดการกับรายการซื้อขายให้ดี

  1. กำไรขาดทุน หรือยอดขาย

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับไม่ใช่เพียงธุรกิจซื้อมาขายไป แต่อาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญกับทุกๆ ธุรกิจนั่นก็คือการทำรายรับรายจ่าย หรือการทำบัญชี นั่นเอง เพราะว่าถ้าหากเรารู้ว่าเงินนั้นไหลเข้าจากทางไหน และไหลออกจากทางไหน จะทำให้เรานั้นสามารถจัดการกับเรื่องของการลงทุนหรือการลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

แนวโน้มของธุรกิจในปัจจุบัน

          ในปัจจุบันเกือบทุกคนสามารถสื่อสารผ่านออนไลน์ได้ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก แม้แต่การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศก็ทำได้สะดวกและง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงต่างประเทศด้วยตนเอง ธุรกิจซื้อมาขายไปจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างไม่รู้จบ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องแหล่งผลิตนั้นมีน้อยลง ดังนั้นการทำธุรกิจซื้อมาขายไป ขอเพียงรู้จริงทั้งแหล่งซื้อและช่องทางขาย ก็สามารถที่จะลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้

” ZORT ครบจบในโปรแกรมเดียว ทั้งดูแลสต๊อก จัดการรายการซื้อขาย รวมถึงการดูรายงานต่างๆ เช่น ยอดขายรายปี รายเดือน หรือ กำไร เพื่อให้ธุรกิจซื้อมาขายไปขนาดเล็ก สามารถบริหารจัดการร้านค้า ได้ง่ายดายและรวดเร็ว”

                                                           สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

                                                                       โทร 02.026-6423

                                                                           Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x