Underdog marketing คืออะไร และทำอย่างไรให้แตกต่าง ?

1,167 views

เทคนิคทำการตลาดให้ดึงดูดใจด้วย Underdog Marketing Strategy

ล่าเรื่องการสร้างแบรนด์ผ่านการตลาดแบบมวยรอง พร้อมไขข้อสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน รวมถึงการเผยเคล็ดลับสำคัญในการเอาชนะคู่แข่งเพื่อครองตลาดด้วยตัวอย่าง Underdog Marketing ที่จะทำให้แบรนด์ของคุณยืนหนึ่งในตลาดอย่างยั่งยืน

รู้จัก 7 คำศัพท์สัตว์ที่ใช้ทางการตลาด 

  1. Underdog Marketing คือ การตลาดมวยรองที่เน้นการใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งที่กล้าฉีกกรอบแนวคิดทำในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ซึ่งมีที่มาจากการแข่งขันกัดสุนัขในสมัยก่อนที่ 99.99% ของสุนัขที่ชนะจะยืนคร่อมสุนัขที่แพ้ว่า underdog หรือหมารองบ่อนนั่นเอง 
  2. Guerrilla Marketing หรือการตลาดแบบกองโจรซึ่งมีที่มาจากยุทธการทางทหาร Guerrilla Warfare ที่มีชื่อเสียงมาจากสงครามเวียดนามที่รบชนะอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง ๆ กำลังพลน้อยกว่าด้วยการวางแผนแบบการซุ่มโจมตีซึ่งในนำมากใช้การตลาดด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความประหลาดใจให้ลูกค้าเพื่อดึงดูดความสนใจจนเกิดด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างความประหลาดใจ เพื่อดึงดูดความสนใจคนจำนวนมากการบอกต่อเป็นวงกว้าง 
  3. Race Rat จะเป็นการแข่งขันที่วนเวียนแบบเรื่องเดิม ๆ ที่วนลูปในการแข่ง เช่น ลดราคาต่ำสุดเพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้มากสุด 
  4. Copy Cat เป็นการตลาดลอกเลียนแบบในรูปแบบสินค้า Metoo เช่น ธุรกิจชาเขียวอิชิตัน โออิชิ ธุรกิจน้ำอัดลมโค้กกับเป๊บซี่ 
  5. Cash Cow เป็นสินค้า หรือบริการที่ทำเงิน หรือทำกำไรให้บริษัทอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนแม่วัวที่ให้น้ำนมได้อย่างต่อเนื่อง 
  6. Bull Bear เป็นการตลาดที่นิยมใช้ในหุ้นซึ่งเปรียบเสมือนสภาวะที่กราฟหันหัวขึ้นแบบชันมากเปรียบเหมือนกระทิงที่ดุไล่ขวดอย่างต่อเนื่อง
  7. Unicorn สัตว์ในเทพนิยายซึ่งใช้นิยามในธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up)

Underdog คืออะไร

Underdog คือ คำแสลงหมายถึง มวยรองซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นหูหากพูดถึงเกี่ยวกับกีฬาที่หลากครั้งในเกมส์คู่ที่ดูแข็งแรงมีโอกาสชนะมากกว่า แต่คนดูกลับสนใจฝ่ายที่ดูอ่อนแอกว่าเนื่องจากความแตกต่างของบุคลิก เช่น รูปลักษณ์ หน้าตา ลีลาในการแข่งขันซึ่งดึงดูดใจได้มากกว่า 

โดยมีหลายแบรนด์ได้หันมาใช้กลยุทธ์นี้ Underdog Marketing Strategy ในการทำการตลาดเพื่อสร้างความแตกต่างโดยไม่ได้แข่งกับเจ้าใหญ่ที่มีอยู่ แต่ต้องการเอาชนะใจผู้บริโภคผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการที่ติดตลาดซึ่งแบรนด์ใหญ่ยังไม่ทำ ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น กลุ่มเป้าหมาย (Target) การนำเสนอแคมเปญที่แปลกใหม่ หรือการสร้างกลยุทธ์ที่ไม่ได้หวังครองตลาดแต่ต้องการชนะใจผู้บริโภคซึ่งเรียกอีกอย่างว่าการโจมตีด้านข้าง (Flank Attack)

ข้อดีของการตลาดมวยรอง

คงจะพอเข้าใจกันแล้วว่า ตลาดรองคืออะไร ต่อมาจะพูดถึงความโดดเด่นของตลาดรองมวย 5 ข้อที่ช่วยทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ดังนี้ 

  • Out of The Box  หรือการคิดนอกกรอบซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก โดยมีหลาย ๆ แบรนด์รองเลือกใช้วิธีการนี้เข้ามาเป็นแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนแบรนด์ซึ่งอาจเป็นกระบวนการที่อาจไม่ได้บัญญัติไว้ในตำรา แต่กล้าที่จะลองทำซึ่งส่วนใหญ่มักได้รับการตอบรับค่อนข้างดีและถูกจดจำจากผู้บริโภค
  • Differentiate หรือการสร้างความแตกต่างถือเป็นแกนหลักที่ถูกนำมาใช้ในการทำการตลาดซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ตัวสินค้าและบริการ แต่อาจหมายถึงกลยุทธ์ หรือ marketing offering ที่ฉีกออกไปจากเจ้าอื่น ๆ ไม่ซ้ำจำเจ วนเป็นลูปเดิม ๆ เพราะทำให้ผู้บริโภคเบื่อได้ง่ายและเปลี่ยนจุดโฟกัสไปแบรนด์อื่นในที่สุด 
  • Brand man  หรือการเชื่อมโยงความเป็นเจ้าของธุรกิจ personal brand  อย่างอิชิตันเพื่อเข้ามาสร้างสีสันและความเคลื่อนไหวให้ถูกจดจำ เช่นเมื่อเห็นขวดอิชิตันก็รู้ได้ทันทีว่าใครเป็นเจ้าของและมีความแปลกใหม่อย่างไรจากการเคลื่อนไหวของคุณตันกับขวดอิชิตันในทุกอิริยาบถ
  • Media Power หรือการใช้พลังจากสื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างสีสัน สร้างลูกเล่น ดึงดูดความสนใจด้วยการเลือกใช้สื่อที่ไม่ต้องทุ่มทุนลงไปเยอะมากนักเนื่องจากปัจจุบันสามารถทำการตลาดได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แต่ต้องสร้างสรรค์สื่อในการถ่ายทอดที่มุมมองที่แตกต่าง แต่ยังคงความเป็นตนเอง 
  • Risk Taker หรือความกล้าได้ กล้าเสียจากความกล้าที่จะทุ่มเทเพื่อทำให้แบรน์สินค้าและบริการแจ้งเกิด 

ตัวอย่าง underdog marketing

ทิ้งทายด้วยตัวอย่าง Underdog Marketing ที่นำการตลาดแบบรองมวยมาใช้กับแบรนด์ตนเองจนประสบความสำเร็จ 

ฺBar B Q plaza

Bar B Q Plaza กับการนำเอาแนวคิดตลาดรองมวยมาใช้จนผ่านวิกฤตมาได้จากความอึดและมีสติผ่านการปรับวิธีคิดแบบใหม่ ๆ ที่เริ่มจากการกระจายความเสี่ยงที่เข้าไปอยู่ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งเดลิเวอรี่ ซูปเปอร์มาเก็ต หรือการหาพาร์ทเนอร์ใหม่ ๆ ที่เก่งในคนละเรื่องมาร่วมมือกันซึ่งสิ่งที่จะสื่อคือ ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองเก่งอะไรและไม่เก่งอะไร 

ยกตัวอย่าง บาบีกอน จะเก่งในเรื่องคาเรคเตอร์ที่ใคร ๆ ก็จำได้และเด็ก ๆ หลายคนก็ชื่นชอบจนต้องจูงมือคุณพ่อ คุณแม่ไปรับประทานอาหารอยู่บ่อย ๆ จึงเป็นไอเดียที่นำมาปรับได้ทำเป็นโมเดลไลเซนซิ่งร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งตั้งเป้าว่าสร้างรายได้อยู่ที่หลัก 10 ล้าน 

Nescafe

กาแฟกระป๋องที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน แต่ยังตลาดรองจากแบรนด์ “เบอร์ดี้” จึงกลายเป็น Challenger Brand หรือแบรนด์ผู้ท้าชิง การห่างจากเบอร์ 1 เพียงหนึ่งก้าวจึงจำเป็นต้องสร้างฐานตัวเองด้วยกลยุทธ์ Product Differentiation จากการสร้างความแตกต่างจากแบรนด์ให้โดดเด่น แตกต่างจากสินค้านั้นและ Insight กลุ่มเป้าหมายพร้อมการเจาะหาลูกค้าเช็กเมนท์ใหม่ ๆ  New Customer มากกว่าการหว่านแหแบบ Mass รวมถึงการสื่อสารทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 

หรือตัวอย่างแบรนด์อื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้การตลาดแบบมวยรอง อาทิ Robinhood, Dtac, มาชิตะ และอิชินตัน เป็นต้น 

แม้จะมีเทคนิคการตลาดหลายรูปแบบแต่ Underdog Marketing Strategy ก็ยังกลายเป็นอีกหนึ่งการตลาดที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความแตกต่างซึ่งไม่ใช่เพียงสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ แต่ยังรวมถึงการวางกลยุทธ์ การใช้วิธีทางการตลาดมาช่วยเสริมเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายเพื่อหวังครองใจลูกค้าจากการอาศัยช่องว่าง หรือสิ่งที่คนมองไม่เห็นนั้นเองซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบรนด์ประสบความสำเร็จจากการทำการตลาดแบบมวยรอง

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

โทร 02.026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x