ทำไมในการสร้างธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับ Brand CI
Brand CI หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า CI ที่ย่อมาจาก Corporate Identity คือ
การคิดและออกแบบในการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์ ที่ถูกกำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดทิศทางของแบรนด์ และสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค
หาก Brand CI มีความโดดเด่นบ่งบอกความเป็นแบรนด์ได้อย่างชัดเจน จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายจดจำและนึกภาพแบรนด์ได้ทันทีที่เห็น ฟังแบบนี้แล้วอาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพกัน แต่ถ้าลองยกตัวอย่างอัตลักษณ์ของแบรนด์พันธมิตร ZORT เช่น J&T Express ทุกคนก็จะนึกถึงสีแดงและโลโก้ตัวอักษร J และ T หรือถ้าเป็นแบรนด์ทั่ว ๆ ไปอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ภาพที่ขึ้นมาในหัวคือสีแดง ส้ม และเขียว พร้อมตัวเลข 7 สาเหตุที่ลูกค้าเกิดภาพในหัวดังกล่าว ก็มาจากการเห็นรูปแบบสี โลโก้เดิมซ้ำ ๆ ตามที่ต่าง ๆ จนเกิดเป็นภาพจำไปในที่สุด นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Brand Identity ตัวอย่างที่หยิบมานั่นเอง ซึ่งจะพาไปรู้จัก Brand CI คืออะไร ? ในแง่มุมต่าง ๆ ให้มากขึ้นกัน
ความสำคัญของ Brand CI คืออะไร ?
สร้างภาพจำและสะท้อนตัวตนของแบรนด์
เพื่อสร้างความโดดเด่นให้แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด การสร้างหรือกำหนด Brand CI ขึ้นมานั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แบรนด์สะท้อน DNA ความเป็นตัวตนออกมาได้อย่างชัดเจน ลองนึกภาพตามว่ามีลูกค้าเคยซื้อสินค้าจากร้านของคุณหรือเคยเห็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ แต่จำชื่อร้านไม่ได้ พอค้นหาสินค้าก็เจอสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด แต่สิ่งที่ลูกค้าเห็นหรือจำได้ทันทีว่าใช่แบรนด์ที่กำลังมองหาอยู่นั่น ก็คือ Brand CI ว่าเคยซื้อจากร้านที่มีกรอบสีฟ้า จึงกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการกับแบรนด์ของคุณได้ถูก
กำหนดทิศทางในการสื่อสารให้ชัดเจน
ยิ่งธุรกิจของคุณมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมต้องกระโดดเข้าไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องเจอกับคู่แข่งที่หลากหลายในกลุ่มสินค้าหรือบริการเดียวกัน ที่อาจจะมีความแข็งแรงในเรื่องของ Brand CI เพราะฉะนั้นในการสื่อสารของแบรนด์คุณในด้านต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจน แตกต่าง และแข็งแรงมากขึ้น เพื่อสร้างภาพจำและดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง Brand Book คือหัวใจสำคัญที่ต้องกำหนดในการใช้งาน CI บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวางโลโก้, ขนาด, สี และอื่น ๆ เป็นต้น และนี้คือ Brand Book ตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้เป็นระเบียบ
ลดความสับสนในการแบ่งแยกสินค้าในธุรกิจเดียวกัน
การมี Corporate Identity หรือ Brand CI คือสามารถช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการขายหลายช่องทาง รวมไปถึงเมื่อต้องการแบ่งกลุ่มประเภทสินค้าในธุรกิจหรือแบรนด์เดียวกัน เพราะหากธุรกิจนำ Brand CI มาปรับใช้กับทุกช่องทางการขายหรือช่องทางติดต่อ และแบ่งไลน์สินค้าในเครือเดียวกันออกมา โดยอาจใช้โลโก้ ฟ้อนต์ และโทนสีเดียวกัน ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของแบรนด์เดียวกัน เพราะมีจุดเชื่อมโยงและภาพจำ
ขั้นตอนการออกแบบ Brand CI มีอะไรบ้าง ?
โลโก้
ส่วนประกอบขั้นพื้นฐานสำหรับการสร้าง Brand CI หากธุรกิจของคุณยังไม่มีโลโก้เป็นของตนเอง อาจเริ่มจากการดีไซน์อย่างง่าย ๆ โดยคำนึงให้โลโก้สื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจของคุณ ซึ่งสมัยนี้ก็มีโปรแกรมตัวช่วยในการออกแบบโลโก้สำเร็จรูปมากมาย ที่ร้านค้าสามารถนำไปปรับใช้กันได้ หรือหากต้องการให้โลโก้ของคุณมีความโดดเด่น ไม่เหมือนใครก็อาจเลือกใช้บริการออกแบบโลโก้ต่าง ๆ ตามงบประมาณที่มีอยู่ได้เลย และที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าโลโก้ของแบรนด์เปรียบเสมือนหน้าตาของธุรกิจ เพราะฉะนั้นต้องพิถีพิถันใส่ DNA ความเป็นแบรนด์ลงไปให้ชัดเจน
สี
บางครั้งแล้วลูกค้าก็เกิดการจดจำแบรนด์หรือธุรกิจที่สี ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือธุรกิจขนส่งเจ้าสีเหลือง สีส้ม สีแดง พอพูดแค่นี้ลูกค้าก็ทราบทันทีว่าเป็นเจ้าไหน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้สีที่บ่งบอกถึงธุรกิจหรือแบรนด์คุณ โดยอาจเลือกจากความหมายหรืออารมณ์ที่สื่อออกมาผ่านสี และที่สำคัญคือควรเลือกสีที่โดดเด่น ต่างจากแบรนด์คู่แข่ง พร้อมกับนำไปใช้ในช่องทางต่าง ๆ ให้เป็นในโทนและทิศทางเดียวกัน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายจดจำได้ง่ายขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น
ฟ้อนต์
ฟ้อนต์เป็นอีกหนึ่งสิ่งในการสร้าง Brand CI ที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะดีเทลตรงนี้ก็มีความสำคัญไม่ต่างจากส่วนอื่น ๆ ซึ่งในการทำ Artwork ในการสื่อสารหรือโปรโมตไปยังช่องทางต่าง ๆ สามารถทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณได้มากยิ่งขึ้นจากดีไซน์ฟอนต์ที่เราใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ถ้าเป็นร้านค้าเครื่องสำอาง อาจต้องเลือกใช้ฟ้อนต์ที่สื่อถึงความอ่อนหวาน น่ารัก หรือหากเป็นร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็อาจจะต้องเลือกใช้ฟอนต์ที่ดูทันสมัย แต่สิ่งสำคัญคือต้องอ่านง่ายตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น
การออกแบบ Brand CI หรือ Corporate Identity นั้นมีมิติและการสะท้อนความเป็นแบรนด์อะไรที่มากกว่าในเรื่องของแค่งานออกแบบ ดีไซน์ และความแตกต่าง แต่สิ่งที่เรียกว่า Brand CI ยังบ่งบอกหรือแสดงให้เห็นในเรื่องของวัฒนธรรม บุคลิกภาพของแบรนด์ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องของการสร้าง Brand CI มีข้อดีแต่มีข้อเสียที่คุณอาจจะต้องใช้เวลาในการออกแบบและวางโครงต่าง ๆ ให้ละเอียดอย่างใส่ใจ เพราะสิ่งเหล่านี้จะติดตัวไปกับแบรนด์คุณในทุกที่
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-026-6423
LINE : @zort