Startup คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นเทรนด์ที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่? พร้อมแชร์แผนธุรกิจสำหรับคนเริ่มต้น

2,616 views

Start up คืออะไร เหมาะกับใคร พร้อมตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ  

 

ในทุกการเปลี่ยนแปลงมักส่งผลให้หลายธุรกิจเกิดวิกฤตเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวไม่ทัน  แต่ทุกครั้ง ๆ ก็มักจะมีโอกาสซ่อนอยู่จนถือกำเนิดกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถจับทางได้ทันซึ่งเรามักจะเรียกกลุ่มธุรกิจนี้ว่า “ Startup” ซึ่งเราจะพาไปส่องพร้อมทำความเข้าใจว่าธุรกิจ Startup คืออะไร ธุรกิจ Startup มีอะไรบ้าง รวมถึงการตัวอย่างธุรกิจ Startup ที่ประสบความสำเร็จในไทยและทำอย่างไรที่คุณจะกลายเป็นยูนิคอนตัวต่อไป  

 

 

Startup ต่างจากธุรกิจ SMEs อย่างไร 

เริ่มต้นก็ต้องพาคุณผู้อ่านทำความเข้าใจว่าทำไม Start up ถึงต่างจาก SMEs ที่จะเจาะให้เห็นภาพว่า  SMEs หรือที่เรามักจะคุ้นหูกับคำว่าวิสาหกิจนาดกลาง หรือขนาดย่อมซึ่งจะประกอบด้วย 3 ประเภทกิจการได้แก่ กิจการการผลิต (วัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป) กิจการการค้า (กิจการที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง หรือคือการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาเพื่อจัดจำหน่าย) และกิจการบริการ (ธุรกิจที่เน้นการให้บริการหรือขายบริการ ไม่ได้จำหน่ายสินค้า) จึงมักจะเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ที่มีเจ้าของเดียวเป็นหลัก โดยมักจะเกิดขึ้นจากในครอบครัวมีแบบแผนสบายที่ค่อย ๆ ต่อยอดมาเรื่อย ๆ จนเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น  

 

ยกตัวอย่างธุรกิจ SMEs: หมูทอดเจ๊จง Diamond Grains หรือ Shichida 

 

ส่วนธุรกิจ StartUp คือ รูปแบบธุรกิจที่มีความซับซ้อนกว่า SMEs ตรงที่มีแบบแผนหลายอย่าง รวมถึงนักลงทุนเข้ามามีบทบาทซึ่งหากทำสำเร็จธุรกิจจะเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยธุรกิจนี้จะต้องเป็นไปตามแบบแผนซึ่งจะต้องมีการรายงานผล มีการวัดผลเนื่องจากมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วยจึงจำเป็นต้องมีการเสนอแผนต่อนักลงทุนเพื่อระดมทุนต่อยอดธุรกิจซึ่งหากนึกภาพไม่ออกลองนึกถึงซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง StartUp ที่หลายมาเป็นแรงบันดาลใจของคนหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง  

 

เทียบชัดข้อดี – ข้อเสียระหว่างธุรกิจ SMEs Vs StartUp 

 

รูปแบบธุรกิจ  SMEs StartUp 
ข้อดี  
  • ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (ความรู้/แหล่งเงินกู้) 
  • เอกชนให้การสนับสนุนโอกาสในการสร้างคอมมูนิตี้ 
  • สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว 
  • ได้รับการสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน (สภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม Starup Thailand) 
  • ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตัวเอง 
  • เติบโตไวเพราะได้รับการสนับสนุนจากหลายด้าน 
ข้อเสีย 
  • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้ยากเพราะมักมาจากธุรกิจภายในครอบครัว  
  • มีต้นทุนที่สูง 
  • ต้องใช้กำลังมากในการสร้างกลุ่มลูกค้า 
  • ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการลงทุน 
  • ทำการตลาดได้ค่อนข้างยาก 
  • ไม่มีทรัพย์สินถาวรเนื่องจากไม่มีมูลค่าทางธุรกิจ 

 

 

ส่องเทรนด์ธุรกิจ Startup ปี 2023  

สำหรับเทรนด์ธุรกิจในปี 2023 ที่ยังคงมาแรงและกำลังถูกพูดถึงก็ยังคงอยู่ในกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงามที่ส่วนหนึ่งมาจากอานิสงค์ หรือบทเรียนระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนตื่นตัวในเรื่องสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่แยากแนะนำผ่าน 6 เทรนด์ธุรกิจ Startup ปี 2023 ที่น่าสนใจในการลงทุน

 

  1. ธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม เช่น สปา นวดไทย นวดหน้า บริการด้านส่งเสริมรูปร่างและความงาม คลินิกศัลยกรรม ฟิตเนส เพราะผู้คนเชื่อว่าการดูแลตัวเองจะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาลงได้ 

     

  2. ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ เช่น กลุ่มโซเดียมต่ำ หรืออื่น ๆ โปรตีนจากพืช อาหารสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งการลดก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ หรือการลดสารเคมีจากกระบวนการผลิตพืช หรืออาหารต่าง ๆ 
  3. ค้าปลีกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เนื่องจากผู้คนติดนิสัยจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากซื้อขายสะดวก ไม่ต้องไปเลือกที่หน้าร้านและรอรับถึงหน้าบ้าน แต่ก็ยังมีผู้คนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังชื่นชอบการซื้อขายสินค้าแบบออฟไลน์

     

  4. กลุ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกร้อน เช่น กลุ่มสินค้า SmartHome แผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เซ็นเซอร์เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฟน เป็นต้น

     

  5. ธุรกิจการท่องเที่ยวและความบันเทิงที่มีแนวโน้มผู้คนกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้น สังเกตได้จากเที่ยวบินทั่วโลกและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจองตั๋วเครื่องบิน ที่พักโรงแรม ร้านอาหาร หรือจองบัตรเข้าสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ธุรกิจรถเช่าเนื่องจากไทยยังเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก 

     

  6. ธุรกิจที่เกี่ยวกับการศึกษา เนื่องจากผู้คนสนใจในเรื่องการศึกษาที่ไม่หมายถึงเพียงความรู้ในห้องเรียนแต่หมายถึงความรู้อื่น ๆ ที่จะเสริมเพิ่มความรู้ทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิตที่ถูกปรับมาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมาขึ้นทั้งการรูปแบบการเรียน หรือการประชุมป่านออนไลน์ เสริมความรู้ทักษะต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือเสพสื่อจากช่องทางอื่น ๆ อาทิ Youtube, Tiktok และ Facebook

 

ตัวอย่าง Start up ที่กำลังได้รับความสนใจในไทย  

ตัวอย่าง Start up สายเลือดไทยผู้คิดค้นแอพ CLAIM DI: ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนภายใต้คอนเซ็ปต์ “ชนได้ ไม่ต้องรอประกัน” ที่ใช้เงินลงทุนราว ๆ 2 – 10 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 70 -350 ล้านบาทที่มีต้นกำเนิดมาจากปัญหาบนท้องถนนในไทยที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง ก็แค่เอามือถือคู่กรณีมา Shake แล้วเคลมประกันได้ด้วยตนเองไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ หรือถ้าหากไม่มีคู่กรณีก็สามารถถ่ายรูปความเสียหายแล้วส่งเคลมประกันได้ทันทีซึ่งเป็นไอเดียที่ผ่านการประกวดและชนะรางวัลซึ่งการันตีได้จากในปัจจุบันที่มีบริษัทฯ ประกันภัยถึง 15 เจ้าเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในแอปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  

 

เริ่มต้นสร้างธุรกิจ StartUp ควรเลือกทีม หรือคนที่จะเข้ามาร่วมทำอย่างไร 

ต่อมาหากคุณมีฝันอยากสร้างธุรกิจ StartUp สิ่งสำคัญ! ที่นอกจากเงินลงทุน คือเพื่อนร่วมทีม หรือคนที่จะเข้ามาร่วมทำธุรกิจด้วย เราควรเลือกอย่างไร โดยเราจะขอแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้  

  1. การเลือกหัวหน้าทีม Co-Founder ซึ่งเปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับคนในทีมซึ่งจะต้องมีแนวความคิดเดียวกันกับทีม สามารถเดินทางและเติบโตไปกับทีมได้เพราะถือเป็นจุดที่นักลงทุนจะมองมาถึงความมั่นคงและมั่นใจถึงความแข็งแกร่งของทีมที่จะนำธุรกิจให้เติบโตได้และสร้างโอกาสในการลงทุนจึงเน้นย้ำถึงกระบวนความคิดของหัวหน้าทีมที่จะต้องให้ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ทำงานร่วมทีมได้ดี ดูเเข็งเเกร่งและมั่นคงพร้อมลุยเเละเติบโตต่อไป

     

  2. หน้าที่หลักและความสำคัญของงาน เพราะแต่ละคนจะรับผิดชอบในเนื้องานเดียวกันทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งหน้าที่หลักของแต่ละคนให้ชัดที่ถึงแม้จะเป็น Co-Founder เหมือนกันแต่หน้าที่ในการเติมเต็มจุดที่ขาดขององค์กรให้แข็งแกร่งอาจจะต่างกันไปเช่นหากมี Co-Founder 2 คน คนแรกอาจจะดูภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจเนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเคยทำธุรกิจ หรือดูแลในส่วนงานบริหารมาก่อน ส่วนอีกคนอาจจะเจาะลงไปที่ระบบเนื่องจากมีความเชี่ยวชาญ ความรู้เฉพาะทางที่สามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ในทีม แล้วในแต่ละสัปดาห์อาจจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อพูดคุยถึงความคืบหน้า ปัญหาที่เราพบเจอเพื่อปิดจุดอ่อน เสริมความแข็งแกร่งให้ทีมเดินหน้าไปด้วยกันอย่างมั่นคง  

 

Lean Canva ตัวช่วยวางแผนธุรกิจให้ Start Up 

เมื่อเลือกคนร่วมงานได้แล้วก็ต้องมาร่วมวางแผนธุรกิจ StartUp ของเราให้เห็นถึงภาพรวม หรือแผนธุรกิจฉบับย่อโดยแนะนำเครื่องมือ Lean Canvas ที่จะช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเข้าใจถึงภาพรวมของธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ ยังมีหลายสิ่งไม่ชัดทั้งในเรื่องของปัญหา ความต้องการของลูกค้า หรืออื่น ๆ ที่จะมีส่วนเข้ามาช่วยเติมเต็ม ลดความเสี่ยงและปรับแผนธุรกิจให้สมบูรณ์มากขึ้นโดย Lean Canva จะมีองค์ประกอบหลัก 9 อย่างที่แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ  

  • Product (ผลิตภัณฑ์): Problem (1), Solution (4), Key Metrics (8) และ Cost Structure (7) 
  • Marketing (การตลาด): Customer Segments (2), Channels (5), Unfair Advantage (9) และ Revenue Stream (6) โดยมี Unique Value Proposition (3) เป็นจุดเชื่อมโยง 

 

Uber ตัวอย่างโมเดลธุรกิจ Lean Canvas  

โดยจะใช้ทฤษฎีของ Lean Canvas เป็นเครื่องมือในการเจาะลึกในตัวธุรกิจ ทั้ง 9 องค์ประกอบ ดังนี้  

 

UBER – Lean Canvas  

1. Problem 

– ปัญหา TAXI ปฏิเสธผู้โดยสาร – ปัญหาความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  

– ปัญหาโดนโกงมิเตอร์ 

 

4.Solution 

– แก้ปัญหาปฏิเสธผู้โดยสารด้วยการเสียค่าปรับ 

– เช็คประวัติคนขับ 

– บอกเรทราคาก่อนขึ้นรถ 

– Track ระยะทางได้ 

– Share location 

3.Unique Value Proposition 

– ไม่มีการปฎิเสธผู้โดยสาร ไม่ว่าคุณจะเรียกจากที่ไหน 

– เน้นแต่รถระดับหรูอย่าง Benz, Mercedes S Class, BMW ที่มีราคาสูงกว่า TAXI 

– ปรับ segment ลงมาให้เป็น Uber X ในราคาเทียบเท่า TAXI 

– เรียกรถได้เพียงปลายนิ้ว กดไม่กี่ครั้งก็เรียกรถได้เลย 

– คนขับ Uber เข้าไปรับได้ถึงบ้าน 

 

 

5.Unfair Advantage 

– ต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำ    

– คุณภาพที่เหนือกว่าราคา  

– การบริการที่เหนือระดับ 

2.Customer Segment  

– ผู้โดยสาร (Customer) คือกลุ่มที่ต้องการรถโดยสารแล้วเรียกผ่านแอพ Uber โดยจะเน้นไปที่ผู้ใช้ smartphone เป็นหลัก 

– คนขับ (Driver) ที่อยากมีรายได้เสริมมาช่วยผ่อนรถ แต่ไม่อยากขับรถรับจ้างแบบ Full-time สามารถปรับเปลี่ยนเวลาขับได้ตามใจชอบ 

 

8.Key Metric  

จำนวนคนขับ Uber (No. of drivers)  

– ระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรถ (ETA/waiting time)  

– ช่วงว่างของคนขับ (idle time)  

– ปริมาณการเปิดใช้ application (App opening)  

– จำนวนการเรียกรถ (No. of Requests)  

– จำนวนที่คนขับส่งผู้โดยสารสำเร็จ (Completion Rate) 

9.Channels 

– Application 

– Social Media  

– Website 

 

7. Cost Structure 

  • ค่าพัฒนาและดูแลระบบ รวมถึงค่า Marketing และเงินโบนัสของคนขับ 

6. Revenue Streams  

  • ได้กำไรจากการหัก 20% จากคนขับ  
  • เก็บค่าโดยสารที่แพงขึ้นในช่วง peak time (Surge pricing) 

 

 

 

ธุรกิจ startup จึงเป็นธุรกิจสำหรับคนมีฝันที่อยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด แต่ต้องอาศัยเงินลงทุนจากนักลงทุนร่วมด้วย โดยเทรนด์สตาร์ทอัพที่กำลังมาแรงในปี 2023 ยังคงเน้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพ ความงาม การท่องเที่ยว การศึกษาและนวัตกรรมทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์  โดยหากอยากเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพสิ่งที่ควรคำนึงนอกจากเงินทุน คือ คนที่ร่วมทำงานโดยต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้นำ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และแต่ละคนต้องมีหน้าที่หลักของงานชัดเพื่อที่จะได้ไม่ทำงานซ้ำซ้อนให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างแข็งแกร่ง  

 

อีกทั้งก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจทุกครั้งควรมีการวางแผนธุรกิจโดยสามารถนำ Lean Canvas เป็นตัวช่วยผ่านตัวอย่าง Uber ที่ได้เลือกใช้วิธีนี้ในการทำโมเดลธุรกิจที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมของธุรกิจของคุณได้รวดเร็วและลดความเสี่ยงที่อาจจะกระทบธุรกิจเพื่อดำเนินการปรับแผนธุรกิจให้มีความสมบูรณ์ได้มากยิ่งขึ้น  

 

สำหรับใครที่สนใจการจัดการสต๊อกสินค้าด้วยระบบสต๊อกสินค้าออนไลน์เพื่อนำไปใช้จัดการสต๊อกสินค้าของธุรกิจให้รวดเร็วขึ้น ส่งถึงลูกค้าได้ทันและช่วยบริหารสต๊อกได้อย่างมืออาชีพสามารถทักเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ที่ ZORT 

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort