Storytelling ที่ดีควรเป็นอย่างไร ทำไมลูกค้าถึงต้องการ
การเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในวิธีการขายที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน แต่การทำให้แตกต่างนั้นเป็นเรื่องยาก แล้ว Storytelling ที่ดีควรเป็นอย่างไร เพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับสินค้าให้เกิดความผูกพันจนกลายเป็นลูกค้าที่ภักดี (Loyalty Customer) อีกทั้งยังคงเป็นสินค้ายังคงขายดี แม้ราคาสูง โดยไม่ต้องลดแลกแจกแถม
Storytelling คืออะไร
Storytelling คือ การเล่าเรื่องที่มีการดึงเอาประสบการณ์ หรือองค์ความรู้ภายในของผู้เล่าถ่ายถอดออกมาเพื่อให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความเป็นมา จุดพลิกผัน หรือการเปลี่ยนแปลงโดยมีจุดเชื่อมซึ่งกันและกันผูกเป็นเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและเกิดความประทับผ่านเรื่องราวที่รับฟัง
หากถามว่า Storytelling ที่ดีควรเป็นอย่างไร ก็ต้องมี 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่
- ผู้เล่า จะต้องรู้วิธีการในการเลือกสื่อแก่กลุ่มเป้าหมาย (Target) รู้วิธีในการเล่า หรือสร้างอารมณ์ร่วมซึ่งอาจอาศัยภาพประกอบ เสียง การใช้คำ หรือสำนวนบางอย่างมาช่วยกระตุ้นความรู้สึกของผู้ฟังให้เกิดการจำจดและประทับใจ
- เนื้อเรื่อง จะต้องตรงตามกลุ่มเป้าหมายเช่นเดียวกันซึ่งจะเป็นการแสดงความเชื่อของแบรนด์ที่มีส่วนช่วยให้ผู้ฟังคล้อยตามเนื้อหา หลักการ ทฤษฎี หรือสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วเห็นผล
- ผู้ฟัง ควรมีการศึกษาว่ากลุ่มผู้ฟังเป็นใคร หรือกลุ่มไหนเพื่อสามารถนำข้อมูลเชิงลึก (insight) มาผูกเรื่องราวผ่านการสร้างสรรค์สื่อออกมาให้ตรงกับกลุ่มผู้ฟังด้วยเนื้อหาที่แนบเนียนไปกับเรื่องราวจนน่าติดตาม
บอกต่อ storytelling นั้นมีกี่ประเภทพร้อมตัวอย่าง Storytelling ที่ดี
Storytelling มีอะไรบ้างโดยการรวบรวม 7 สูตรลับเล่าเรื่องอย่างไรให้สินค้าขายดี พร้อมตัวอย่างแบรนด์ดังที่เคยประสบความสำเร็จ
1. แบบ Before – After-Bridge คือการแสดงให้ผู้อ่านรับรู้ถึงปัญหาแล้วแสดงต่อให้เห็นว่าหลังแก้ปัญหานั้นแล้วเป็นอย่างไรด้วยวิธีที่สื่อว่าทำอย่างไรถึงจะไปจุดนั้นซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อม
ยาสีฟันคอลเกตโดยแบรนด์จะใช้วิธีในการเล่าเรื่องแบบ Before – After-Bridge ที่มีจุดเริ่มต้นจากความกังวลของผู้ใหญ่เมื่อเด็ก ๆ ทานของหวาน กลัวลูกฟันผุ การใช้ยาสีฟันจะช่วยให้สุขภาพฟันแข็งโดยเฉพาะยาสีฟันของคอลเกตที่สามารถช่วยป้องกันฟันผุอย่างมีประสิทธิภาพ
2. แบบ Problem-Agitate-Solve จะเป็นการเล่าถึงปัญหาที่เกิด สิ่งกำลังกวนใจและวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น
แบรนด์ Toms ที่มีจุดกำเนิดจาก Blake Mycoskie ที่ได้เกินทางไปท่องเที่ยวในอเมริกาใต้และอาเจตินาในปี 2006 แล้วเห็นเด็ก ๆ ที่นั่นไม่มีรองเท้าใส่ แต่เขาอยากช่วยเหลือเด็ก ๆ จึงเริ่มทำธุรกิจขายรองเท้าเพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือเด็กซึ่งส่งผลต่อดีต่อความรู้สึกของผู้ซื้อ
3. แบบ Features-Advantages-Benefits จะเล่าถึงคุณสมบัติว่าสิ่งนี้ทำอะไรได้บ้าง ช่วยในเรื่องอะไรและให้อะไรกับผู้อ่านถึงต้องใส่ใจ
Gopro ที่กล่าว่าช่วยให้คนจับภาพและแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่มีความหมายมากที่สุดด้วยการถ่ายภาพที่นั่งลนภูเขากับเพื่อน ๆ ที่สื่อความหมายให้สนุกกมากกว่าการอยู่คนเดียวด้วยกล้องอเนกประสงค์ที่ดีที่สุดในโลกให้เก็บทุกมุมมองและแบ่งปันทุกเรื่องราวผ่านภาพถ่าย หรือวิีดิโอได้อย่างน่าทึ่ง
4. แบบ Three-Act Structure จะเป็นการเล่าฉากแรกด้วยการแนะนำตัวละครบวกกับเรื่องที่เกิดขึ้น ต่อมาฉาก 2 จะเป็นการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ อุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และจบด้วยฉากที่ 3 ที่ยืนหยัดในการต่อสู้กับปัญหาจนก้าวข้ามไปได้
โฆษณา Extra Gum ซึ่งเปิดด้วยฉากที่คนสองคนรู้จักกันด้วยความบังเอิญและผู้หญิงได้แบ่งหมากฝรั่งให้ทานจนทั่งคู่เริ่มตกหลุ่มรักกันและเมื่อมาใช้ชีวิตร่วมกันก็เริ่มมีอุปสรรคบ่างในแต่ละวันแต่ก็ยังมีการแบ่งหมากฝรั่งให้กันและกันอยู่เสมอ แต่แล้วทั้งคู่ก็ต้องห่างไกลด้วยเรื่องการทำงานซึ่งถือเป็นอุปสรรคครั้งใหญ่แต่ทั้งคู่ยังคงยืดหยัดในความรักที่มีให้กันและผู้ชายได้นัดให้ผู้หญิงมาเจออีกครั้งขอแต่งงานซึ่งมีกรอบรูปที่ใส่เปลือกหมากฝรั่งสื่อให้เห็นว่าหมากฝรั่งอยู่กับพวกเขาทุกช่วงจังหวะชีวิต
5. แบบ Freytag’s Pyramid: Five-Act Structure จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องราว ต้นเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเหตุการณ์ จุดสำคัญคือการลุกขึ้นลงมือทำจนได้เห็นถึงผลลัพธ์ไม่ว่าแพ้ หรือชนะและยืดหยัดที่จะต่อสู้ พร้อมแก้ไขก้าวผ่านปัญหาต่าง ๆ ซึ่งตอนจบอาจจะสุข หรือเศร้าก็ได้
The Spring เริ่มต้นเสียง Scoutt ที่เปิดเรื่องด้วยน้ำ (Water) ว่าเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลก โดยวันนึงเขาพบว่าแม่เขาป่วยและจากไปในที่สุดทำให้เขาตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นหมอ แต่เวลาผ่านเขากลับเลือกทางผิดไปมัวเมากับยาเสพติด แต่ก็กลับมาคิดได้และตัดสินใจเปลี่ยนแปลงโดยการออกเดินทางด้วยเรือไปกับทีมแพทย์ พยาบาลซึ่งระหว่างการเดินทางเขาได้บันทึกภาพ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติมากมายจนสืบพบต้นตอว่าล้วนมาจากการดื่มน้ำที่สกปรก เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงโลกด้วยการยำน้ำสะอาดเข้าสู่ชุมชนที่ไม่มีทางเข้าถึงน้ำสะอาด
6. แบบ Simon Sinek’s Golden Circle เป็นการเล่าเรื่องด้วย 3 วงกลม คือ Why How และ What ด้วยการเริ่มตั้งคำถามว่าทำไม ทำสิ่งนั้นได้อย่างไรและทำเกี่ยวอะไร
Apple ที่ใช้หลักการเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่าตนเองทำไมทำสิ่งนั้นเพื่อเป็นการทบทวนว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการอะไร ทำเพื่ออะไร แล้วทำไมต้องทำ เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายที่จริงของตนเองและสื่อสารความเชื่อของแบรนด์ให้ลูกค้าทีมีความเชื่อเหมือนกันจนกลายมาเป็นลูกค้าที่ภักดี
7. แบบ Dale Carnegie’s Magic เป็นการเล่า 3 ขั้นตอนแบบง่าย ๆ กระชับเข้าใจด้วยการเริ่มจากประสบการณ์ส่วนบุคคล ความจำเป็นที่ต้องลงมือปฏิบัติและทำไมถึงต้องทำงานจะได้ผลประโยชน์ หรืออะไรตอบแทน
Thead 4 Though แบรนด์แฟชั่นเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้การเล่าเรื่องที่เน้นให้เห็นถึงปัญหาสังคมในปัจจุบัน มลภาวะ หรือสภาพแวดล้อมที่ลูกค้าสามารถช่วยเหลือแก้ปัญหานี้ได้ โดยการใช้แบรนด์ของเรา เช่น การหัก 10% จากรายได้นำไปบริจาค ช่วยเหลือสังคม หรือแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
หากไม่รู้ว่าจะเล่า Storytelling เรื่องอะไรดี 7 สูตรลับคงจะมีประโยชนืในการนำไปคิดคอนเทนต์เพื่อต่อยอด เจาะกลุ่มลูกค้าให้เข้าถึงใจมากขึ้นและยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้ดำเนินไปในทิศทางที่ดีเพราะการที่ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม หรือซื้อสินค้าเปรียบเสมือนการส่งต่อสิ่งดี ๆ ไปที่ยังผู้อื่นโดยไม่ต้องลงทุนโฆษณาแต่มาจากความรู้สึกของผู้ใช้งานกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ นอกจากนี้ตัวแบรนด์สินค้าเองก็ควรนำคำติชมที่ได้ไปต่อยอดและพัฒนาแบรนด์สินค้าให้ออกมาตรงใจ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากขึ้นอย่างยั่งยืน
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
โทร 02.026-6423
Line: @zort