ชัวร์ก่อนแชร์! โดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย ควรต้องทำอย่างไร?

10,569 views

มือใหม่หัดขายของออนไลน์ โดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย ต้องทำยังไง?

“การจ่ายภาษี” ถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของคนไทยทุกคน โดยโครงสร้างภาษีของไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด และ ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ คือ ภาษีที่แฝงไปกับราคาของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โดยสิ่งที่หลายคนกลัวและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเองมากที่สุด คือ “การโดนเรียกภาษีย้อนหลัง” สำหรับคนที่ไม่รู้ล่ะ ถ้าโดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย มีโทษร้ายแรงหรือไม่ ควรต้องทำอย่างไร และสามารถผ่อนจ่ายได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้ไขข้องสงสัย ห้ามพลาดบทความนี้!

ภาษีเงินได้ คืออะไร?

ก่อนที่จะรู้ว่าถ้าโดนภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร สิ่งแรกที่ควรรู้เลยคือ ภาษีเงินได้ คืออะไร ซึ่งภาษีเงินได้ เป็นภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บโดยตรงจากคนที่มีรายได้ หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ใครที่มีรายได้ ไม่ว่าจะมาจากทำงานอาชีพอะไร รับจ้าง พนักงาน หรือขายของออนไลน์ ก็ต้องเสียภาษี

ทั้งนี้ ภาษีเงินได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีเกณฑ์การเสียภาษีที่แตกต่างกัน โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความใกล้ชิดและคุ้นเคยกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งการเสียภาษีจะรวมรายได้ทั้งหมดของปี เริ่มต้นตั้งแต่ 1 มกราคม ไปจนถึง 31 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจะกำหนดให้จ่ายไม่เกิน 31 มีนาคม ในปีถัดไป

การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง คืออะไร

การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการตรวจสอบ ภาษีย้อนหลัง เพื่อเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังนั้น ดำเนินการโดย 3 หน่วยงานสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ส่วนใหญ่แล้วที่ผู้คนโดนเก็บภาษีย้อนหลังจะเป็นภาษีบุคคลธรรมดา

ทำไมจึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง?

เคยสงสัยกันไหม? ทำไมถึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เราสามารถสันนิษฐานได้มาจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ไม่แสดงรายได้
  • การจ่ายภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

โดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย แล้วทำอย่างไรดี?

หากเราโดนภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา แต่ไม่มีเงินจ่ายต้องทำยังไง โดนภาษีย้อนหลัง ผ่อนได้ไหม ก็ต้องบอกว่าถ้าไม่มีเงินจริง ๆ ทางกรมสรรพากรมีวิธีการให้ผ่อนจ่ายได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกรณีของแต่ละบุคคลซึ่งต้องเข้าไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือต่อไป ส่วนขั้นตอนในการจ่ายภาษีและการปฏิบัติตัวเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา ดังนี้

1. ตรวจสอบรายละเอียดภาษีย้อนหลังอย่างละเอียด

สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำเลยคือ การตรวจสอบรายละเอียดที่มาของรายได้จาก Statement ต้องเป็นรายได้ของปีที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง มีจำนวนเงินเท่าไหร่ที่เข้าบัญชี เพื่อนำมาไปชี้แจงให้กับสรรพากร

2. เช็กรายการภาษีของแต่ละปีมียอดเงินเข้าเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่

กรณีที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ภาษีที่นำมาจ่ายจะต้องจด VAT และจะต้องมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในทุกเดือน นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องจ่ายเสียภาษีเงินได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ ครึ่งปีและปลายปี โดยการจด VAT หรือ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นการที่เราได้นำข้อมูลรายได้ของเราเข้าระบบให้ถูกต้อง กรณีเพิ่งได้จด VAT ก็จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทขึ้นไป และหากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีที่เคยจ่ายภาษีมาแล้วก่อนหน้านี้

    เมื่อคุณได้รับหนังสือแจ้งเรื่องการชำระภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร หากคุณเคยจ่ายภาษีมาแล้วก่อนหน้านี้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรวบรวมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการจ่ายภาษี แล้วนำไปแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อไว้เป็นหลักฐานว่าเราได้มีการจ่ายภาษีไปแล้ว หรือช่วยลดหย่อนภาษีเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ การเรียกภาษีย้อนหลังก็จะสามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้ถึง 10 ปี ดังนั้นควรเก็บเอกสารการเสียภาษีให้ดี แนะนำบันทึกเป็นไฟล์ดิจิตอล

  • กรณีที่ไม่เคยจ่ายภาษีมาก่อนหน้านี้เลย

    หากคุณที่ไม่เคยจ่ายภาษีมาก่อนเลย กรณีนี้อาจต้องทำใจสักหน่อย เพราะคุณจะต้องจ่ายภาษีพร้อมกับค่าปรับตามยอดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้ง นอกจากนี้ ควรติดต่อกับสำนักงานบัญชี เพื่อจะช่วยในการร่วมเข้ารับฟังกับทางกรมสรรพากรร่วมเจรจากับคุณ เนื่องจากบางคนไม่มีความรู้เรื่องภาษีจริง ๆ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ที่มีความรู้ที่เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ สำหรับการเสียค่าปรับ คุณจะต้องเสียเงินเพิ่มจากภาษีอีกเดือนละ 1.5% จะเริ่มนับจากวันแรกที่เลยกำหนดการเสียภาษีไปจนถึงวันที่มีการจ่ายภาษีเรียบร้อยแล้ว

3. ติดต่อเจรจาเพื่อขอลดหรืองดเว้นเบี้ยปรับ

เมื่อโดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย ทำยังไงดี? แนะนำให้เข้าไปติดต่อกับทางสรรพากร เพื่อขอผ่อนจ่ายเป็นงวด ซึ่งในส่วนของเบี้ยปรับภาษีที่ต้องชำระย้อนหลัง หากไม่มีเงินจริง ๆ สามารถพูดคุยเจรจากับสรรพากรได้ เพื่อที่ขอลดหรือยกเว้นค่าเบี้ยปรับ อาจจะให้เหตุผลกับเจ้าหน้าที่สรรพากรว่ายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษีอย่างถูกต้อง แต่ยังไงเงินต้นและเงินเพิ่มของภาษี คุณก็จะต้องจ่ายให้ครบถ้วน ไม่สามารถขอยกเว้นได้

4. จ่ายภาษีและค่าปรับย้อนหลังตามที่ถูกเรียกเก็บ

แน่นอนเมื่อคุณโดนเรียกภาษีย้อนหลัง คุณก็มีหน้าที่ต้องไปติดต่อเรื่องการจ่ายภาษีและค่าปรับย้อนหลัง ดังนี้

  • กรณีที่คุณมีรายได้ภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา หรือ แบบภ.ง.ด.90/91 หรือ คุณไม่ได้ยื่นจ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งสามารถขอยื่นเรื่องในการลดค่าปรับได้ โดยที่คุณต้องไปยื่นแบบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่สำนักงานสรรพากรที่พื้นที่สาขาเท่านั้น
  • กรณีที่คุณมีเงินภาษีที่จะต้องจ่าย หรือจ่ายภาษีล่าช้า หรือ จ่ายภาษีย้อนหลัง คุณต้องจ่ายเงินเพิ่มจากภาษีที่ถูกเรียกเก็บร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมถึงค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีที่ไม่มีเงินภาษีที่ต้องจ่าย ก็จะเหลือแค่จ่ายค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท อย่างเดียว

หากไม่จ่ายภาษีจะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง

สำหรับบทลงโทษการไม่จ่ายภาษี หากถูกตรวจสอบย้อนหลังพบว่าคุณมีรายได้ตามเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี แต่ไม่มีจ่ายภาษีเลย คุณจะต้องจ่ายภาษีย้อนหลังทั้งหมด รวมถึงค่าปรับ และยังจะได้รับโทษอีกด้วย ซึ่งบทลงโทษค่าปรับจะลดหลั่นกันไปตามความผิด มาดูว่าถ้าโดนภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา จะมีบทลงโทษอะไรบ้าง ดังนี้

1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
  • จ่ายเงินค่าปรับ 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ

2. กรณียื่นแบบจ่ายภาษีทันตามกำหนด แต่จ่ายภาษีไม่ครบ

  • จ่ายเงินค่าปรับ 0.5 เท่า หรือ 1 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ

3. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษี

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 6 เดือน
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ

4. กรณีจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี

  • มีโทษปรับทางอาญาเริ่มตั้งแต่ 2,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน หรือสูงสุด 7 ปี
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ

ตอบทุกข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการ “โดนภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา

  • คุณโดนภาษีย้อนหลัง ผ่อนได้ไหม
    สามารถผ่อนจ่ายได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสรรพากร
  • กรณีขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
    คำตอบคือ “เสียภาษี” ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร ถ้ามีรายได้ตามเกณฑ์จะต้องเสียภาษี
  • หากขายของออนไลน์เสียภาษียังไง? แล้วเสียภาษีแบบไหนบ้าง?
    หากขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) คือเงินได้จากการค้าขาย และพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องยื่นภาษีอยู่ 2 ช่วง ดังนี้
    • ยื่นภาษีเงินได้สิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเวลาการยื่นภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี โดยเป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดของปี
    • ยืนภาษีเงินได้กลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเวลาการยื่นภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ของทุกปี โดยเป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา
  • การขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหนบ้าง?
    สำหรับรูปแบบการจ่ายภาษีเงินได้ในการขายของออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    • หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ธรรมดา ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่
    กรณีที่โดนภาษีย้อนหลังบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ากรมสรรพากรมีหลักฐานได้ว่าจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี สามารถขยายระยะเวลาอายุความไปได้นานถึง 5 ปี
  • การคิดคำนวณค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์มีอะไรบ้าง
    ในการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั้นจะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้ ดังนี้
    • หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อสินค้ามาขายไป โดยที่ไม่ได้ผลิตเอง
    • หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ผลิตสินค้าเพื่อมาขายเอง
    • หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา หรือ คิดภาษีร้อยละ 0.5 กรณีที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีรายได้มากกว่า 1,000,000 บาท
  • หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่อยากโดนภาษีย้อนหลังควรทำอย่างไร
    •  บันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับรายได้ หรือทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้ตรอบสอบได้
    • เก็บหลักฐานเอกสารทั้งหมดเกี่ยวกับการขายของ เพื่อใช้เป็นหลักฐานชี้แจงกรมสรรพากร
    • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษี ต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงเกณฑ์การเสียภาษี แล้วลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง
    • ติดตามข่าวสารทางด้านภาษีให้อัปเดทตลอดเวลา เพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการจ่ายภาษี

อ่านบทความนี้จบ ทุกคนคงหาคำตอบได้แล้ว หากโดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย ต้องเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง แต่ทางที่ดีถ้าไม่อยากโดนภาษีย้อนหลังบุคคลธรรมดา ก็ต้องตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับรายได้ทั้งหมดก่อนจะยื่นภาษี แล้วยิ่งถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เราแนะนำให้ศึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้ยื่นภาษีอย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องยื่นภาษีให้ตรงเวลาตามกำหนด ส่วนใครเพิ่งเริ่มต้นขายของออนไลน์ ยังไม่มีความชำนาญในการจัดการ คุณสามารถให้ ZORT ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกออนไลน์ ช่วยมาจัดการร้านค้าออนไลน์ด้วยระบบหลังบ้านที่ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x