ถอดรหัสศาสตร์แห่ง “มูเตลู” ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงมีความเชื่อแบบเดิม

1,698 views

ยุคแห่งความรุ่งเรื่องของ “ความเชื่อ” ได้กลับมาแล้ว

 

เรื่องราวแห่งความเชื่อ ของขลัง ไสยศาสตร์ การดูดวง สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่ในวัฒนธรรมของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้าหากสังเกตกันจริงๆในช่วงปีหลังๆมานี้ “ความเชื่อ” ได้รับความนิยมและส่งอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันในหมู่วัยรุ่น วัยเรียน จนไปถึงวัยทำงาน ตั้งแต่หน้าจอโทรศัพท์ที่เปิดมาก็เจอรูป “วอลล์เปเปอร์ไพ่เสริมดวง”  ก่อนออกจากบ้านก็ต้องเลือก “เสื้อสีมงคล” พร้อมกำไรข้อมือ สร้อย หรือแวนมงคลสักอันมาเป็นเครื่องประดับเสริมดวง ระหว่างเดินทางไปทำงานก็ต้องทำการ “เช็คดวงประจำวัน” ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียที่คุ้นเคยไม่ว่าจะเป็น อินสตาแกรม ไลน์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

จากเหตุการณ์ดังกล่าว หากคุณรู้สึกคุ้นๆว่าตนเคยทำแบบนั้น คุณอาจเป็นคนนึงที่เชื่อเรื่องโชคชะตา หรือที่ในสมัยนี้เรียกว่า “สายมู” นั่นเอง แล้วความเชื่อเหล่านี้มันเข้ามาตอนไหน แล้วทำไมถึงกลับมานิยมในหมู่เด็กรุ่นใหม่ที่ค่อนข้างห่างไกลกับความเชื่อเหล่านี้ วันนี้ ZORT จะพาไปถอดรหัส “ศาสตร์แห่งมูเตลู” ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงมีความเชื่อแบบเดิมๆ พร้อมแล้วก็ไปชมกันเลย!

ก่อนจะไปรู้ถึงเรื่องความเชื่อของคนรุ่นใหม่เรามารู้จักคำว่า “มูเตลู” กันก่อนว่ามันมีที่มาจากไหน ทำไมต้องชื่อนี้

คำว่า “มูเตลู” เริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากแบรนด์ “ไลลา อมูเลต” แบรนด์ที่ผสมผสานเครื่องราง ความเชื่อ และแฟชั่นเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยการออกแบบเครื่องรางของขลังให้กลายเป็นเครื่องประดับที่สวย ใส่สบาย และทันสมัย ไม่ดูโบราณเหมือนของขลังทั่วๆไป ทำให้เหล่าดารา นักแสดง เซเลบริตี้ เริ่มนำตะกรุด สร้อยคอ และเครื่องรางของขลังต่างๆที่เหมาะกับตนมาใส่ จนเกิดเป็นกระแสที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันเพี้ยนๆแต่ติดปากกันว่า “กำไรมูเตลู”

โดยคำว่ามูเตลูนั้นเชื่อกันว่ามาจากภาพยนตร์เก่าแก่ของประเทศอินนีเซีย ที่ชื่อว่า “มูเตลูศึกไสยศาสตร์” ที่ดำเนินเรื่องโดยหญิงสาวที่ใช้มนต์ดำต่อสู้กันเพื่อแย่งผู้ชายที่ตนหลงรัก ด้วยคาถาที่เริ่มต้นคำว่าจะมีคำว่า “มูเตลู” นำหน้าเสมอนั่นเอง

กลับมาที่ปัจจุบัน

ความเชื่อเริ่มเป็นที่กลับมาพูดถึงอีกครั้ง จากกระแสเครื่องรางของขลังที่ถูกนำมาเป็นเครื่องประดับที่ทันสมัย สวย แถมยังอยู่ในเทรนด์อีกด้วย ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มเข้าถึงเรื่องดวงอย่างจริงจังมากขึ้น โดยสถิติจากไลน์(LINE) ประเทศไทยเผยว่าในช่วงกลางปีที่ผ่านมามีคนใช้บริการดูดวงสูงสุดถึง 3 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนี่ก็สามารถการันตีได้แล้วว่าความเชื่อเริ่มกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

ในปัจจุบันแบรนด์ต่างๆเริ่มมีการทำแคมเปญที่เกี่ยวกับการดูดวงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อทีวี สื่อออนไลน์ การจัดงานอีเวนต์ ร่วมกับหมอดูชื่อดัง ทั้งในเรื่องการทำนายโชคชะตา ผ่านสีมงคล ไพ่ยิปซี หรือแม้กระทั่ง ลิปสีมงคล 12 ราศี ที่เป็นแคมเปญของเมเบลลีนนั่นเอง

 

นิยมเพราะความเชื่อหรือเชื่อเพราะกระแส?

จริงๆแล้วต้องบอกเลยว่าสังคมทยอยู่คู่กับความเชื่อมาอย่างยาวนานซึ่งความเชื่อต่างๆก็อยู่บนหลักพื้นฐานของศาสนาที่มีมาแต่นมนานเช่นเดียวกัน ต่างกันที่ปัจจุบันเราได้นำวิธีเหล่านั้นมาปรับใช้ให้สามารถเข้ากับยุคสมัยได้ “ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ความเชื่อก็คือความเชื่อ หากเราอินกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเชื่อว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองให้ดีขึ้นชีวิตก็จะดีขึ้นเอง”  ก็เหมือนกับการนำพระธรรมคำสั่งสอนของต่างศาสนามาผนวกรวมกันให้เกิดคำสั่งสอนที่ดีที่สุด ซึ่งนั้นก็คือนิยามของคำว่า “มูเตลู”  แต่หากจะให้ห้อยพระเส้นใหญ่ๆ หรือหินทีเบตที่ดูโบร่ำโบราณไม่เข้ากับการแต่งตัวในปัจจุบัน สายมูหลายๆคนอาจจะเลือกที่จะไม่ใส่เลยก็ได้เนื่องจากในปัจจุบันเรามองความเชื่ออยู่ที่ใจ ไม่ใช่สิ่งของ โดยเฉพาะในยุคที่วิทยศาสตร์มีเหตุผลเหนือความเชื่อนั่นเอง แต่ถ้าได้สิ่งของที่สวย สามารถเข้ากับยุคสมัยได้ Match กับการแต่งตัวมันก็ดีกว่าเห็นๆ

แบรนด์ต่างๆจึงนำสิ่งเหล่านี้มาปรับรูปแบบของสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน และตอบรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มากขึ้นผ่านคำศัพท์ยอดฮิตที่ว่า “มูอย่างไรไม่ให้คนรู้ว่ามู” จนเกิดเป็นสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ และบริการประเภทใหม่ๆมากมายที่ให้ผลตอบแทนมหาศาล เช่น การรับจ้างไหวเจ้า แก้บนออนไลน์ ลิปสติก 12 ราศี สิ่งเหล่านี้ทำให้ Community เล็กๆของสาย “มูเตลู” ใหญ่และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

ZORT ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกออนไลน์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของร้านค้าออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณรุ่นใหม่ทำงานง่ายขึ้นไม่ต้องพึ่งความเชื่อในราคาเริ่มจ้นเพียง 99.- ลองเลย!

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x