เปิดร้านโชห่วยรับของจากโรงงาน ทำสต๊อกสินค้าอย่างไร?

741 views

ธุรกิจในครอบครัวของผม เป็นธุรกิจห้างร้านครับ ประเภทไปรับสินค้ามาจากโรงงานที่ผลิตสินค้านั้นๆโดยตรง โดยสินค้าที่ทางร้านของครอบครัวผมรับมาขายนั้น จะเป็นสินค้าจำพวกขนม ของเล่นเด็ก อุปกรณ์กีฬาสำหรับเด็ก และอื่นๆ เป็นต้น

 

การรับมาดังกล่าวก็เพื่อ นำไปจำหน่ายต่อในรูปแบบขายส่งสินค้าให้แก่ร้านโชห่วยขนาดเล็ก หรือร้านขายของชำ ที่อยู่ภายในพื้นที่ใกล้เคียงนั่นเองครับ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านที่จะมารับไปขายต่อมักจะเป็นพวกร้านขายของตามหมู่บ้าน หรือตามตำบลเล็กๆครับ

ซึ่งช่วงแรกเริ่มธุรกิจ ลูกค้าก็ไม่ค่อยจะมากเท่าไรนัก แต่ด้วยการที่กิจการของครอบครัวผมตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือเรียกว่าบ้านนอกนั่นเอง ซึ่งเป็นตัวอำเภอที่ไม่กว้างใหญ่นัก ประกอบกับไม่มีผู้ประกอบกิจการรูปแบบเดียวกันนี้ด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว…ไม่ต้องลงทุนโฆษณาร้านกันเลยครับ เพียงชาวบ้านละแวกนั้นพูดกันปากต่อปาก ไม่นานนักห้างร้านของครอบครัวก็มีลูกค้าเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น จนในบางวันก็ทำไม่ทันกันเลยทีเดียว…และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้ในตอนนั้นผมได้มีโอกาสช่วยงานของทางครอบครัว ช่วงแรกๆก็ไม่มีอะไรมากครับ ช่วยเขายกของบ้าง ขนของบ้างไปตามเรื่อง แต่หลังๆเริ่มมาทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช็คจำนวนสินค้า หรือการเงินมากขึ้น จึงได้รู้ขั้นตอนต่างๆในการจัดการของกิจการห้างร้านในครอบครัวของตัวเองพอสมควร ว่ามีวิธีหรือกระบวนการจัดการสินค้า สต๊อคสินค้าเพื่อจำหน่ายอย่างไร

 

ธุรกิจห้างร้านของครอบครัวผม จะมีลูกจ้างที่ทำงานอยู่ด้วยกัน 6 คนครับ ซึ่งจะแบ่งหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป โดยมี 2 คนประจำอยู่ที่ร้าน ทำหน้าที่เป็นพนักงานขาย มีหน้าที่บริการลูกค้าทั่วไป จัดหาสินค้า คิดเงิน และจดบัญชีการซื้อขายของร้านนั่นเองครับ และอีก 4 คน มีหน้าที่ในการส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งนั่นเองครับ เพราะลูกค้าบางรายเขามาซื้อของครั้งหนึ่งก็จำนวนเยอะๆ หรือไม่เขาก็โทรมาสั่งทีละเยอะๆ ทางร้านก็มีบริการส่งของให้ถึงบ้านลูกค้า โดยใช้รถส่งของซึ่งมีอยู่สองคัน แต่ละคันก็จะมีคนประจำสองคนไว้ช่วยกันขับรถและแบกของลงจากรถ ซึ่งถือว่าลูกจ้างจำนวนเท่านี้ก็เพียงพอต่อธุรกิจที่ทำเป็นแบบครอบครัวแล้วครับ

 

ในการประกอบธุรกิจห้างร้านของทางครอบครัวผมนี้ สินค้าของร้านจะมีการขายออกไปทุกวันครับ ซึ่งประเภทสินค้าที่ขายออกในแต่ละวัน ก็จะเป็นหลายๆประเภทที่แตกต่างกันออกไป และไม่มีความแน่นอนว่าในแต่ละวันทางร้านจะขายอะไรออกไปได้บ้างเพราะสินค้ามันหลากหลาย จึงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าในวันนั้นๆ บางวันร้านขายขนมมาซื้อ บรรดาขนมต่างๆก็จะขายออกไปเยอะ บางวันร้านของเล่นเด็กมาซื้อ ของเล่นก็ขายออกไปได้เยอะ เราจึงไม่รู้เลยว่าในแต่ละวัน เราจะขายสิ้นค้าประเภทไหนได้มากน้อยเท่าไหร่ ทำให้ทางร้านต้องคอยทำการตรวจเช็คสินค้าอยู่ทุกๆวัน ว่าสินค้าในขณะนี้มีเพียงพอหรือไม่ เพื่อให้ทราบว่าทางร้านจะต้องสั่งของมาเพิ่มมากน้อยเพียงใด จำนวนที่สั่งมาจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในวันต่อไป ดังนั้นการสต๊อคสินค้าในธุรกิจของครอบครัวผมจึงถือว่ามีความสำคัญมาก

 

คำถามที่ตามมาคือ เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ทางห้างร้านของครอบครัวผมจะมีวิธีการจัดการ หรือการสต๊อกสินค้ากันอย่างไร จึงจะทำให้ปัญหาเกี่ยวกับสินค้าที่นำมาขายลดลงไป…ซึ่งจากการช่วยงานที่ร้านมาเป็นเวลานานพอสมควร และจากการสังเกต จึงสามารถจะมาอธิบายได้ดังนี้ครับ

“ที่ร้านของผมเมื่อสั่งซื้อสินค้าเข้ามา จะทำการตรวจเช็คสินค้าโดยคนครอบครัวครับ ทำกันแบบบ้านๆ ช่วยๆกันเช็คไม่มีหลักการอะไรมากมาก ซึ่งทำกันทั้งหมด 4 คน โดยมีสมุดจดจำนวนสินค้าที่นำเข้ามาขาย แบ่งเป็นประเภทๆ เล่มละ 1 ประเภทเช่น เล่ม 1 สำหรับของเล่น เล่ม 2 สำหรับของกิน เล่ม 3 สำหรับอุปกรณ์กีฬา เป็นต้น แล้วเมื่อมีสินค้าเข้ามาก็ช่วยกันนับจำนวนและจดชื่อสินค้า จำนวนสินค้า ราคาสินค้าลงไปในสมุดดังกล่าว เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละวันที่สั่งสินค้าเข้ามานั้น มีจำนวนสินค้าเข้ามามากหรือน้อยเพียงใด เป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยต้องดูอย่างละเอียดและถี่ถ้วน และในส่วนของการขายก็เช่นกันครับ เราทำเหมือนบัญชีของเข้า แต่นี่เป็นบัญชีขาย มีสมุดจดทั้งหมด 3 เล่มที่ทำการบันทึกรายละเอียดของที่ขายออกไป เพื่อให้ทราบว่าของชิ้นใดขายดีและชิ้นใดขายไม่ดี รวมถึงจะได้ทราบจำนวนรายรับด้วยนั่นเองครับ แต่ในการขายนี้จะมีสมุดเล่มใหญ่หนึ่งเล่มไว้สำหรับจดในแต่ละวันเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เวลามีการขายของจะจดรวมไว้ในเล่มนั้นก่อนครับ และพอถึงเวลาปิดร้านจึงค่อยมาจดแยกใส่สามเล่มอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกเป็นประเภทๆ ว่แต่ละวันขายอะไรไปได้บ้าง ขายได้เงินเท่าไหร่นั่นเอง”

 

ซึ่งจากการที่ร้านเปิดกิจการมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีประสบการณ์ในเรื่องพวกนี้อยู่พอสมควรลองผิดลองถูกกับการสต๊อคสินค้าก็หลายครั้งอยู่ สั่งของมามากเกินไปบ้างน้อยเกินไปบ้าง ซึ่งในขณะนั้นมันยังใหม่มากสำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้แต่บทเรียนครั้งนั้นทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอๆ และเป็นแนวทางในการแก้ไขที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผมไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีของผมจะเป็นวิธีที่ทุกคนต้องนำไปใช้นะครับ แต่ถือว่าเราเอามาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ละร้านค้าอาจจะมีวิธีตรวจเช็คสต๊อคของตนเองที่แตกต่างไปจากผมซึ่งนั้นก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งก็ได้

 

ร่วมสนับสนุนและแบ่งปันสาระดีๆโดย
www.zortout.com

“เพื่อให้กิจการรายย่อยของไทย ทำสต๊อกสินค้าได้ง่ายขึ้น”

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : 02-026-6423
อีเมล: [email protected]

Line: @zort

 

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x