เริ่มต้นขายของออนไลน์อย่างไรให้ปัง คนติดตามเยอะ ยอดขายทะลุเป้า

1,153 views

7 ทริคเอาใจคนเริ่มต้นขายของออนไลน์ หรือคนเคยพังให้กลับมาปัง ยอดขายทะลุเป้า

 

ในยุคที่ทุกคนหันมาขายของออนไลน์เพราะคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นช่องทางที่ทำเงินได้อีกช่องทางหนึ่งโดยไม่ต้องออกจากงานประจำ หากสามารถแบ่งเวลาได้ดีซึ่งเผลอ ๆ ได้รายได้มากกว่างานประจำเสียอีก แต่ก็ใช่ว่าเริ่มแล้วประสบความสำเร็จทันทีเพราะมีหลายคนที่ทำไปแล้วสักระยะก็ยังรู้สึกว่าแบรนด์ยังไม่ปัง ยอดก็ยังไม่พุ่งขึ้นสักที รวมถึงผู้ติดตามก็ไม่ขยับไปไหน หรือจะเราอาจจะพลาดตรงไหนไปที่วันนี้จะพาคุณทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้ง รวมถึงวิธีขายของออนไลน์มือใหม่ที่จะทำอย่างไรให้ปัง คนติดตามเยอะจนยอดขายทะลุเป้า

 

 

เช็คให้ชัวร์! ว่าแบรนด์ของคุณกำลังประสบปัญหาจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่

 

เริ่มต้นด้วยการทบทวนถึงแบรนด์ หรือร้านค้าที่กำลังทำธุรกิจว่าคุณกำลังประสบปัญหาจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่

 

  • Product ดีพอหรือไม่ คำถามแรกคือคุณเคยวิเคราะห์ 4 P ก่อนเริ่มทำธุรกิจหรือไม่ หากไม่เรามาเริ่มรู้จักกับ 4Ps กันเสียก่อน ดังนี้   
  1. Product (สินค้า) ที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของธุรกิจ 
  2. Price (ราคา) การกำหนดราคาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน
  3. Place (สถานที่) ซึ่งอาจหมายถึงหน้าร้านทั้งบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือตามสถานที่ต่างๆ 
  4. Promotion (การส่งเสริมการขาย) ในการออกมาเพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภค

    ซึ่งตัวยืนของทั้ง 4Ps คือ Product เพราะคนส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าตัวนึงก็ต้องมาจากการเห็นสินค้าซึ่งหากสินค้าไม่ตอบโจทย์หรือไม่มีกลุ่มลูกค้าที่ยินดีซื้อสินค้าต่อให้จำหน่ายในราคาที่ถูก ตั้งร้านอยู่ในทำเลดี หรือมีโปรโมชั่นมากมายก็มิอาจจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อ หรือซื้อซ้ำได้จึงต้องตรวจสอบสินค้าก่อนวางขายว่ามีคุณภาพเพียงพอ รสชาติถูกใจ หรือตอบโจทย์ลูกค้าจริง ๆ หรือไม่ที่จะต้องไม่คิดเองเออเอง แต่อาจจะทำการทดลองกับตลาดจริง ๆ

 

  • ไม่มีตัวตนบนโซเชียลมีเดีย เพราะอย่าลืมว่าหากคุณทำการขายบนออนไลน์การมีตัวตนไม่ว่าจะบน Facebook, Instagram, LineOA, Tiktok, Twitterหรือบนเว็บไซต์ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นเพราะร้านไม่มีตัวตนก็จะไม่มีใครรู้จักทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ยากขึ้นซึ่งอาจจะสังเกตจากการจำนวนยอดวิว การกดไลก์ การกดแชร์ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่สามารถเรียนรู้ข้อบกพร่องและนำมาปรับปรุงได้

     

  • ไม่มีเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่แบรนด์บนโซเชียลมีเดียมักมองข้ามเพราะมักจะคิดว่าการขายบนโซเชียลก็เพียงพอแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าเว็บไซต์ค่อนข้างสำคัญซึ่งหากร้านไม่ให้ความสำคัญก็ย่อมไม่ถูกค้นหาเจอบน Google ซึ่งเป็นศูนย์รวมของการค้นหาสิ่งต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงการไม่ทำ SEO ยิ่งทำให้ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่ถูกมองเห็น หรือไม่ปรากฎในการค้นหาทำให้ยอดขายไม่เพิ่มขึ้นและกลุ่มลูกค้าก็มักจะเป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ๆ

     

  • เน้นขายของ โดยไม่ได้มีการมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ หรือการเข้ามาแก้ปัญหาซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์ หรือบริการเหล่านี้จะมีส่วนช่วยพวกเขาอย่างไรส่งผลให้ลูกค้าเลือกไปซื้อที่อื่นมากกว่ามาฟังการขายของจากแบรนด์เพียงอย่างเดียว

     

  • ระบบ CRM ไม่ดีพอ ปัญหาเหล่านี้จะเกิดเมื่อร้านค้าเริ่มมีจำนวนคนเข้าเยี่ยมชม หรือผู้ติดต่อเข้ามาสอบถามสินค้า หรือบริการมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการตอบกลับลูกค้า ยิ่งหากปล่อยไปนานแล้วค่อยตอบกลับจะยิ่งทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปร้านอื่นที่ตอบเร็กว่า หรือให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้า หรือบริการที่ดีกว่า ระบบ CRM จึงต้องมีการจัดการที่ดีเพื่อเพิ่มโอกาสจากกลุ่มคนที่สนใจเป็นลูกค้าในอนาคต

     

สาเหตุที่ทำให้ร้านประสบปัญหา หากกล่าวโดยสรุปคือ ขาดการวิเคราะห์ 4 P โดยเฉพาะตัวสินค้า ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์ ออกแบบเว็บไซต์ที่ใช้งานยาก นำเสนอสินค้าโดยให้ข้อมูลแค่ฝั่งผู้ขาย ไม่ได้เจาะรายละเอียดที่ผู้ซื้ออยากทราบและไม่มีการจัดการระบบ CRM ที่ดีพอส่งผลต่อยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ

 

ข้อควรรู้! ระบบ CRM ย่อมาจาก Customer relationship management ซึ่งจะเป็นระบบที่เข้ามาเพื่อบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง

 

 

 

 

7 ทริคเริ่มต้นขายของออนไลน์เริ่มยังไงให้ปัง กลายเป็นที่รู้จัก 

ในทุกปัญหาย่อมมีทางออกเช่นเดียวกับการขายของออนไลน์ที่จากเคยพังให้กลับมาปังได้ด้วย 6  วิธีในการเริ่มขายของออนไลน์ที่จะช่วยให้ร้านค้าของคุณกลับมามียอดขายที่ดีขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่ามือใหม่ หรือใครที่เคยพังก็กลับมาลองทบทวนเริ่มต้นใหม่ในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ 

 

1. สินค้าต้องดีเป็นที่สนใจ เพราะสินค้าถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากการหาสินค้ามาจากความสนใจ หรือศึกษาจากเทรนด์ตลาดว่าเหมาะต่อการทำสินค้าอะไรขายและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นใครที่จะต้องวิเคราะห์ให้ครอบคลุม ยกตัวอย่างเช่น

 

นาย A เป็นคนชอบแต่งตัวมากและต้องการเปิดร้านขายเสื้อผ้าโดยเจาะกลุ่มเด็กวัยรุ่นตั้งแต่ช่วงอายุ 15 – 30 ปีจึงทำการศึกษาเทรนด์เสื้อผ้าที่กำลังมาแรงซึ่งในปัจจุบันจะเน้นแต่งตัวย้อนวัยแบบวินเทจและแบบวัยรุ่น Y2K โดยต้องมีราคาไม่แพง เด็กมัธยมซื้อได้และสามารถนำไปใส่ได้ทุกเพศ (Unisex)

 

2. ต้นทุนราคาดี มีคุณภาพ การหาแหล่งผลิต หรือแหล่งวัตุดิบถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะหมายถึงต้นทุนในการผลิตสินค้า ยิ่งหากได้ราคาต้นทุนถูกจะยิ่งช่วยให้ตั้งราคาขายได้ง่าย ได้กำไรมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะหาง่ายขนาดนั้นจึงอาจจะต้องสอบถามผู้รู้ ลองตระเวนหา หรือพูดคุยในกลุ่มแลกเปลี่ยนตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลและอย่าลืม! ไปเช็คของ หรือสถานที่ผลิตกันก่อนว่ามีคุณภาพสมราคาจริงหรือไม่

 

3. ชื่อร้านจำง่าย โลโก้สะดุดตา สื่อชัดเจน ต่อมาก็จะต้องเริ่มการตั้งชื่อร้านให้ง่ายต่อการจดจำ ได้ยินแล้วคุ้นหู หรืออ่านแล้วสะดุดตา รวมถึงโลโก้ของร้านก็สื่อชัดว่าคุณกำลังขายสินค้าอะไรจะยิ่งช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ให้ได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่าง 

  • Pizzahut 1150 
  • แลตตาซอย (5 บาท 125 มิลลิลิตร)
  • iphone กับโลโก้แอปเปิ้ลที่มีรอยกัด

 

4. มีช่องทางให้ติดตาม เพราะปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์มากมายไม่ว่าจะเป็น Facebook Page, Twitter, Instagram, Line OA, การสร้างเว็บไซต์ของตนเอง, การขายผ่านช่องทาง E-Commerce เช่น Shopee, Lazada, Amazon ที่ไม่จำเป็นต้องเจาะเพียงแพลตฟอร์มเดียวเท่านั้น แต่ต้องรู้รายละเอียดของแต่ละแพลตฟอร์มที่ต้องการขายสินค้า หรือบริการเพื่อจะทำให้สินค้าถูกดันขึ้นเปิดการมองเห็นที่เพิ่มโอกาสให้คนสนใจและตัดสินซื้อ

 

5. แผนการเงินต้องครอบคลุม เพราะเงินทุนเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะมือใหม่ที่เริ่มต้นขายของออนไลน์เพราะจะต้องนำเงินไปลงทุนสินค้าเพื่อให้สินค้าขายออกไปกระทั่งนำไปสู่ผลกำไรจึงต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ เช่น การโฆษณา ค่าจัดส่ง ค่าจ้างคนดูแลเว็บไซต์ ค่ากล่องและค่าจิปาถะอื่น ๆ จึงควรวางแผนอย่างรอบครอบและควรมีเงินทุนสำรอง

 

6. โปรโมชั่นต้องมี กิจกรรมต้องมา เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้าที่อาจจะเป็นโปรโมชั่น หรือจัดกิจกรรม เช่น ซื้อสินค้า 1 แถม 1 หรือลด 35% ทุกรายการเปิดร้านวันแรกซึ่งใช้เป็นกลยุทธ์ทางการขายที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้และยอดขายจากการซื้อสินค้าที่สร้างโอกาสให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำในอนาคต

 

7. คอนเทนต์ต้องปัง เรื่องที่ไม่อยากให้ร้านออนไลน์มองข้ามคือการทำคอนเทนต์เป็นวิธีขายของออนไลน์มือใหม่ควรรู้โดยองค์ประกอบของคอนเทนต์จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 

  • 70% จะเป็นการส่งมอบคุณค่าเกี่ยวกับสิ่งที่เขาต้องการรู้ เช่น เขากำลังประสบปัญหาอะไร ใช้แล้วจะได้ผลอย่างไร คนที่เคยใช้มีการรีวิวเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าและเพิ่มความสนใจให้ลูกค้าเริ่มต้นมารู้จักแบรนด์มากขึ้น

     

  • 20 % จะเป็นในส่วนการแชร์คอนเทนต์จากไอเดียคนอื่นเพื่อให้ลูกค้าได้รับไอเดียเก๋ ๆ ได้รับความสนใจเพื่อช่วยในการดึงกลุ่มลูกค้าให้เข้า (แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องลิขสิทธิ์ไว้ด้วย เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ)

     

  • 10% สุดท้ายให้เน้นการขายของซึ่งพูดถึงสินค้าและบริการที่เพราะทุกธุรกิจจำเป็นต้องขายของ

 

 

เริ่มต้นขายของออนไลน์ทำได้ไม่ยาก แต่ทำอย่างไรให้ปังก็จะต้องเริ่มจากการทบทวบหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ยอดขายไม่ไปถึงเป้า โดยอาจจะมาปรับวิธีการใหม่ หรือทำการรีเช็คแต่ละขั้นตอนอย่างถี่ถ้วนเพื่อหาสาเหตุเล็ก ๆ ที่เราอาจมองข้ามมาปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการระบบซึ่งในบางครั้งแบรนด์อาจจะไม่ถนัดก็สามารถหาตัวช่วยในการวางแผนเหล่านี้เพื่อได้นำเวลาที่เหลือไปปรับปรุงสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตีกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x