เทรนด์การตลาดแนวใหม่ Nostalgia Marketing เข้าถึงทุกเจนเนอเรชัน

1,420 views

รู้จัก Nostalgia Marketing กลยุทธ์การตลาดที่ย้อนให้คิดถึงวันวานในอดีต

ปัจจุบันกระแส Y2K กำลังมาแรงแซงโค้งจริง ๆ ซึ่งต้องบอกว่ายุคสมัยนั้นเป็นยุค Analog หลายคนอาจจะดูว่าเชยหรือโบราณ แต่อยากบอกว่าสิ่งเหล่านั้นก็คือ “เสน่ห์” ที่หาได้ยากมาก และยังช่วยสามารถดึงดูดให้คนกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่เติบโตมาในยุคดิจิทัลนั้น เกิดความสนใจขึ้นมาได้ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้แบรนด์มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ จึงได้สร้างสรรค์สื่อโฆษณาที่เราเรียกว่า “Nostalgia Marketing” หรือ “Retro Marketing” วันนี้ ZORT ชวนทุกคนมาทำรู้จักกับกลยุทธ์ Nostalgia Marketing คืออะไร เพราะอะไรกลยุทธ์ Nostalgia Marketing จึงได้รับความนิยม รวมถึงวิธีการสร้างให้ Nostalgia Marketing มีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร ติดตามอ่านได้ที่บทความนี้เลย 

Nostalgia Marketing คืออะไร?

 

Nostalgia Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้หลักจิตวิทยาคนเรา โดยเน้นทำการตลาดที่ใช้ความคิดถึง ความรู้สึกที่นึกถึงความทรงจำเก่า ๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของการใช้แนวคิดเชิงบวก และจะใช้ความคุ้นเคยจากอดีตที่ผ่านมาของกลุ่มลูกค้า เช่น ประสบการณ์ สิ่งของ สถานที่ ความสัมพันธ์ส่วนตัว บุคคล หรือเหตุการณ์สมัยอดีตแล้วนำมาเชื่อมโยงให้กับเข้าแบรนด์ หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ แบรนด์จะนำสิ่งที่ลูกค้าชอบกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าคิดถึงอดีตอีกครั้ง จนเกิดความรู้สึกโหยหาจนเกิดความอยากได้มาครอบครองสิ่งนั้น  

Retro Marketing คืออะไร

 

Retro Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดแบบย้อนยุค โดยแบรนด์ได้นำสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตกลับมาเปลี่ยนแปลงปรับปรุง เพื่อให้เกิดกระแสใหม่อีกครั้ง โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้านั้นไว้เหมือนเดิม เช่น คอนเสิร์ตย้อนยุค ที่มีการจัดฉากเวทีและเสื้อผ้าของนักร้อง ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปยุคนั้นเลย หรือจะเป็นกล้องฟิล์ม ไอติมโบราณ น้ำจรวด เสื้อผ้าสไตล์การแต่งตัวที่ย้อนยุค กลับมาฮิตอีกครั้ง

จะว่าไปแล้วกลยุทธ์ Nostalgia Marketing และ Retro Marketing มีหมายความเหมือนกันเลย เพียงแค่ใช้คำที่ต่างกันเท่านั้น แต่โดยรวมแล้วการทำสื่อโฆษณาก็ออกมาในคอนเซ็ปต์เดียวกันนั้นก็คือ การตลาดแบบย้อนยุค นั่นเอง

การตลาด Nostalgia Marketing กลุ่มเป้าหมายคือใคร?

โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ ของกลยุทธ์ Nostalgia Marketing หรือ Retro Marketing คือ กลุ่ม Gen Y หรือที่เรียกว่า Millennials ซึ่งมีอายุระหว่าง 24 – 37 ปี โดยกลุ่มคนเจนนี้อยู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านระหว่างยุค Analog มาเป็นยุค Digital จึงทำให้มีความทรงจำมากกว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ๆ นอกจากนี้การทำการตลาดแบบย้อนยุคนั้นก็ยังมีกลุ่มเป้าหมายรองอย่างกลุ่มคนยุค Baby Boomer Gen X และ Gen Z อีกด้วย

5 ปัจจัยที่ทำให้กลยุทธ์  “Nostalgia Marketing” ประสบความสำเร็จทางการตลาด

จริง ๆ แล้วกลยุทธ์ Nostalgia Marketing หรือ Retro Marketing ไม่ใช่กลยุทธ์การตลาดใหม่อะไรเลย ซึ่งก็มีแบรนด์ดัง ๆ ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบย้อนยุคมาสักพักใหญ่แล้ว เชื่อว่านักการตลาด หรือคนทำธุรกิจหลายคนอาจจะมีข้อสงสัย ทำไมกลยุทธ์นี้ถึงสามารถนำมาใช้ได้ตลอดทุกยุคทุกสมัย แถมยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ สร้างผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วย ซึ่งมีด้วยกัน 5 ปัจจัยหลักที่ทำให้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing หรือ Retro Marketing ยังนำมาใช้ได้ตลอดกาล

1. สร้างความผูกพันทางด้านอารมณ์ 

ปัจจุบันธุรกิจการแข่งขันค่อนข้างสูง จึงทำให้แบรนด์ต่าง ๆ มักทำการตลาดเชิง Functional อย่างเดียว ก็ต้องบอกว่าถ้าใช้แค่กลยุทธ์ด้าน Functional อย่างเดียวคงไม่พอ เพราะเป็นการตลาดที่คิดเหมือนกัน ทำให้ไม่ค่อยมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชัน การแข่งขันราคา คุณภาพสินค้า หรือช่องทางจำหน่าย อีกทั้ง ยังมีสินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค

ดังนั้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และชิงความได้เปรียบเชิงธุรกิจประเภทเดียวนั้น หนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรนด์สินค้าหรือบริการ Beyond ไปมากกว่ามิติ Functional Value คือการที่ดึงเอากลยุทธ์ Nostalgia Marketing มาใช้ โดยการสร้างความผูกพันทางด้านอารมณ์ (Emotional Bonding) เรียกความทรงจำในวันวานให้ข้ามมาอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน หากแบรนด์ไหนสามารถสร้างคุณค่าทางอารมณ์ให้ผู้บริโภคได้ ก็ทำให้ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ

2. สร้างความรู้สึกสบายใจให้กับผู้บริโภค

สงครามธุรกิจสมัยนี้ไม่ได้ต่อสู้กันแค่แบรนด์ไหนราคาถูกกว่ากันเพียงอย่างเดียว แต่เจ้าของแบรนด์จะต้องสร้างความน่าเชื่อ และทำให้กลุ่มผู้บริโภครู้สึกถึงความสบายใจ ยิ่งถ้าทำให้เกิดอารมณ์ที่ชวนให้คิดถึงเรื่องราวในอดีตที่ดี ยิ่งทำให้ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้น ดังนั้น ถ้ามีการทำแคมเปญ Nostalgia Marketing สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแบรนด์ได้ ก็ช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มากยิ่งขึ้น เพราะการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการบางอย่าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาเพียงอย่างเดียว อาจจะมีเหตุผลอื่นมาประกอบด้วย

3. “Digital Detox” เล่นอินเทอร์เน็ตมาทั้งวัน หาเวลาพักจากสื่อดิจิทัลบ้าง

ทุกวันนี้สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายและเร็วขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต แน่นอนเมื่อใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากเกินไป อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ จึงทำให้เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ขึ้นเรียกกันว่า “JOMO” (Joy of missing out) โดยคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมอยากที่จะถอยห่างจากโซเซียลมีเดีย อยากให้ชีวิตแบบไม่ต้องรับรู้เรื่องอะไรบนโซเซียลมีเดีย ดังนั้น ถ้าลองจัดแคมเปญ Nostalgia Marketing ก็จะทำให้คนกลุ่ม JOMO ได้หวนคิดถึงวันวานแล้วพักจากโซเซียลมีเดีย

4. ขยายฐานกลุ่มผู้บริโภค และสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์

ธุรกิจจะเติบโตขึ้นได้นั้น เจ้าของธุรกิจก็ต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ และการดึงกลยุทธ์ Nostalgia Marketing มาใช้ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้ เพื่อจะต่อยอดเปลี่ยนจากลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าประจำ และก็ช่วยให้ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเชิงของ Value มากกว่า Volume

หากแบรนด์ที่สามารถนำความทรงจำที่ดีของผู้บริโภค มาเชื่อมโยงเข้ากับแบรนด์ได้ สามารถเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าได้ เช่น Pepsi นำเครื่องดื่ม Pepsi Crystal ที่เคยในอดีตกลับมาผลิตและขายใหม่อีกครั้ง ลูกค้าคนไหนที่เคยถูกใจชื่นชอบรสชาตินี้ก็จะกลับมาซื้อ ส่วนใครที่ยังไม่เคยดื่มรสชาตินี้ก็อาจจะอยากลองซื้อมาดื่ม ถ้ารสชาติโดนใจก็จะกลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของแบรนด์

5. Build Uniqueness

การตลาดแบบย้อนยุค เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ยังคงได้รับความนิยมจนปัจจุบัน ทำให้มีการแข่งขันระหว่างแบรนด์หรือเอเจนซี่ด้วยกันเองค่อนข้างสูงมาก จึงทำให้แต่ละแบรนด์ต้องพยายามหาช่องว่างทางการตลาด และเข้าใจจุดแข็งของแบรนด์ เพื่อที่จะได้นำ “จุดแข็ง” มาผสมผสานกับ “วันวานในอดีต” ลงไปในคอนเทนต์ให้มากที่สุด โดยทุกขั้นตอนกระบวนการทางตลาดเราจะต้องใส่ใจรายละเอียดมาก ๆ ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกถึงคุณค่าของสินค้านั้น ซึ่งจะทำให้โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะซื้อสินค้า และจดจำแบรนด์ได้มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก

วิธีการสร้างให้กลยุทธ์ “Nostalgia Marketing” มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ใครที่สนใจอยากลองหันมาทำการตลาดแบบย้อนยุคดูบ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี ZORT มีวิธีการสร้างกลยุทธ์ Nostalgia Marketing ให้มีประสิทธิภาพกับแบรนด์ มาดูกัน

  • เข้าใจกลุ่มลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย

    อันดับแรกที่ต้องทำเลยคือศึกษาและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เพศไหน มีอายุเท่าไหร่ ลักษณะนิสัยเป็นยังไง มีความต้องการอะไร และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ไหน เป็นต้น เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาศึกษาก่อนทำแคมเปญ เพราะไม่เช่นนั้นถ้าทำแคมเปญออกมาแล้วกลุ่มเป้าหมายไม่ได้อิน หรือไม่มีความทรงจำร่วมด้วย อาจทำให้แคมเปญล้มเหลวได้

  • ใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน

    เมื่อรู้จักกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีแล้ว คราวนี้ให้กำหนดเหตุการณ์ในอดีตมาสักเหตุการณ์หนึ่งมาใช้ในแคมเปญ Nostalgia Marketing เพื่อกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกในเชิงบวกให้กับกลุ่มเป้าหมาย รู้สึกคิดถึงและโหยหา ซึ่งอาจจะทำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปเมื่อประมาณ 10 ปี หรือ 15 ปีที่แล้ว นำมาสร้างเป็นแคมเปญเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายคิดถึงวัยเด็ก เช่น น้ำจรวด ขนมโบราณต่าง ๆ เป็นต้น

  • ใช้ Social Media ในการโปรโมตแคญเปญ

    สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการโปรโมตประชาสัมพันธ์แคมเปญ แน่นอนว่ายุคนี้ถ้าอยากให้แบรนด์ปัง ก็ต้องใช้ Social Media ในการโปรโมตแคมเปญ Nostalgia Marketing เพื่อช่วยให้ Brand Awareness มากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งมีคนเห็นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผลดี เพราะถ้าเขาเกิดรู้สึกชอบก็อยากแชร์อารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำที่มีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ให้กับเพื่อนคนอื่น ๆ ซึ่งแบรนด์อาจจะใช้เป็นการสร้าง Hashtag เฉพาะแคมเปญนั้น ๆ จนอาจกลายเป็นไวรัลไปเลยก็ได้ และยิ่งถ้าสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ด้วยการบอกไปเลยว่าผลิตสินค้าจำนวนจำกัด ยิ่งช่วยเพิ่มยอดการขายให้ปังมากขึ้น แถมยังช่วยกระตุ้นยอดขายให้ปิดการขายได้เร็วอีกด้วย

กรณีศึกษาที่น่าสนใจในการทำ Nostalgia Marketing

จากที่ได้อ่านบทความมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้ แล้วยังมองไม่เห็นภาพล่ะก็ ลองมาดูตัวอย่างแบรนด์ที่นำกลยุทธ์ Nostalgia Marketing นี้มาใช้ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

Coca-Cola : Case Study

บริษัท Coca-Cola ได้ใช้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing โดยนำขวดโค้กมาเชื่อมโยงกับซานตาคลอสซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต้องคู่กับโค้ก โดยแคมเปญนี้สามารถสร้างยอดขายให้ Coca-Cola เพิ่มขึ้น

Burger King : Case Study

Burger King อีกหนึ่งแบรนด์ที่การตลาดแบบย้อนยุคอย่างเห็นได้ชัดเลย เพราะว่าบริษัทได้เพิ่งมีการ Rebrand ไปเมื่อปี 2021 โดยออกแบบโลโก้ใหม่สไตล์วินเทจ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโลโก้เดิมของ Burger King ในช่วงปี 1969-1999 ซึ่งเป็นช่วงยุครุ่งเรืองของ Burger King เลย และเมื่อลูกค้าเห็นโลโก้ที่มีความคล้ายเดิม ก็จะเกิดความรู้สึกคิดถึงในช่วงเวลายุคนั้น

JOOX : Case Study

วงการอุตสาหกรรมเพลงก็ไม่น้อยหน้า ขอตามเทรนด์แบบย้อนยุคสักหน่อย แม้ว่า JOOX จะเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมของผู้คนยุคสมัยใหม่ แต่ด้วยกลุ่มเป้าหมายของ JOOX มีความหลากหลาย มีกลุ่มผู้ฟังที่อยู่ในช่วงอายุ 30 – 35 ปี ทาง JOOX ก็เลยจัดแคมเปญ Throwback the 90s ขึ้นมา โดยการเพลงดังในยุค 90 มาให้ศิลปินรุ่นใหม่ร้อง เพราะอยากให้กลุ่มคน Gen X ได้เข้ามาฟัง ซึ่งผลพลอยได้คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ก็ได้ฟังด้วย เพราะว่าศิลปินที่ร้องเป็นศิลปินที่ชื่นชอบ

กลยุทธ์ Nostalgia Marketing หรือ Retro Marketing ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้มีการเติบโตขึ้น อีกทั้ง การตลาดแบบย้อนยุค ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายแบรนด์ ใครทำธุรกิจช่วงนี้รู้สึกตัน ๆ คิดอะไรไม่ออก ลองวางแผนกลยุทธ์ตลาด Nostalgia Marketing หรือ Retro Marketing กันได้นะ รับรองว่าธุรกิจของคุณจะต้องไปรอดอย่างแน่นอน ส่วนใครค้าขายออนไลน์ อยากได้ความสะดวกในการจัดการให้ ZORT ช่วยจัดการออเดอร์ของคุณให้เป็นระบบมากขึ้น แถมยังจัดการสต๊อกสินค้าสามารถเช็กจำนวนสินค้าได้แบบเรียลไทม์ และรายงานผลการขายอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x