กุญแจความสำเร็จการทำธุรกิจ พร้อมกลยุทธ์ CRM ให้งานขายสุดปัง!

1,141 views

CRM คืออะไร เหมาะกับธุรกิจไหน และเคล็ดลับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

โลกธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูงขึ้นเรื่อย ๆ การมีกลยุทธ์ที่ดีจึงเป็นอาวุธชั้นเลิศที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจ แต่กว่าจะได้กลยุทธ์ที่ดีนั้น เล่นเอาหมดงบการตลาดที่เกินความจำเป็นไปเยอะเลย เพราะต้องเสียเงินไปกับการทำการตลาดแบบเดาส่ง ๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่ากลุ่มคนเหล่านั้นใช่กลุ่มลูกค้าของเราจริงไหม? แต่จะดีกว่าไหม ถ้าทำกลยุทธ์แบบที่เน้นรักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มการดูแลลูกค้าใหม่ไปพร้อมกัน จึงทำให้หลายองค์กรใช้ระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management วันนี้ ZORT ชวนคนทำธุรกิจมาทำความรู้จัก ระบบ CRM คืออะไร มีกี่ประเภท หัวใจของ CRM คืออะไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย

CRM คืออะไร?

CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ ระบบการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยจะมีเป้าหมายชัดเจนในการเพิ่มประสิทธิภาพการขาย ใกล้ชิดและทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งข้อดีตรงนี้ก็คือทำให้เราไม่ต้องเหนื่อยหาลูกค้าใหม่ ๆ โดยกลยุทธ์ CRM คือ เน้นการใช้เทคโนโลยีและบุคลากรอย่างมีหลักการ จัดเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาปรับใช้ในการวางแผน กลยุทธ์ CRM เพื่อให้ลูกค้าที่มาใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเกิดความพึงพอใจมากที่สุด จนเกิดความรู้สึก Brand Loyalty ที่ดีต่อองค์กรหรือแบรนด์ สามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และก็มีโอกาสจะทำกำไรในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

ประเภทของ CRM มีอะไรบ้าง

เมื่อรู้จัก CRM คืออะไรไปแล้ว คราวนี้ก็มาทำความรู้จัก CRM หรือ Customer Relationship Management ให้มากขึ้น ซึ่งประเภทของระบบ CRM สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. Operational CRM เน้นการบริหารจัดงาน

แน่นอนว่าในการทำธุรกิจ ถ้าบริหารจัดการได้ดี ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง! โดยระบบ CRM ไม่ได้เน้นเพียงแค่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าอย่างเดียว แต่ระบบยังเน้น Relationship Marketing คือ การตลาดเชิงสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการธุรกิจโดยเฉพาะฝ่ายขาย การตลาด และฝ่ายบริหารลูกค้า เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Operational CRM แบ่งออกมาได้ตามรูปแบบตามนี้

  • Sales Automation ระบบการขายอัตโนมัติ ได้เข้ามาช่วยจัดระเบียบงานขายให้ง่ายมากขึ้น แถมยังมีประสิทธิภาพ
  • Marketing Automation ระบบการตลาดอัตโนมัติ ช่องทางในการทำ PR เพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ถือเป็นการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี เช่น ยิง Ads โฆษณาบนออนไลน์ หรือส่ง SMS
  • Service Automation ระบบบริการอัตโนมัติ เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด โดยส่วนใหญ่จะใช้กับระบบ Call Center

2. Analytical CRM เน้นวิเคราะห์ข้อมูล

อีกหนึ่งอย่างหัวใจสำคัญของ กลยุทธ์ CRM นั่นก็คือ Customer Relationship คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า แน่นอนเราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้นั้น อย่างแรกก็ต้องรู้ใจลูกค้าว่าต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร โดย Analytical CRM เน้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น ข้อมูลประวัติ ช่องทางการติดต่อกลับลูกค้า แล้วมีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไหนที่ซื้อบ่อย หรือสินค้าไหนที่ไม่ซื้อ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อจะได้จะปรับปรุง และส่งเสริมการขายได้อย่างตรงใจลูกค้ามากที่สุด

3. Collaborative CRM เน้นการทำงานร่วมกัน

หนึ่งในความสำเร็จของการทำธุรกิจก็มาจากการร่วมมือร่วมใจทำงานภายในองค์กร โดยระบบ Collaborative CRM จะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากงานขายเพื่อแชร์ข้อมูลให้กับฝ่ายอื่น ๆ ภายในองค์กร เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายซัพพอร์ตลูกค้า ฝ่ายขนส่งสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายคอลเซนเตอร์ ฯลฯ ทุกฝ่ายที่ได้เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วร่วมมือกันมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ถือเป็นอีกหนึ่ง กลยุทธ์ CRM ที่นำพาความสำเร็จของธุรกิจ

4. Social CRM เน้นการทำงานด้วยโซเชียลมีเดีย

แน่นอนว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ จะมีการดึงนำโซเซียลมีเดียมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งเช่นเดียวกันกับกลยุทธ์ CRM ที่มี Social CRM โดยเป็นระบบที่เน้นในเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทาง Social Media เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับบุคลากรในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่าน Social Media เช่น การตั้งเวลาในการโพสต์คอนเทนต์ การโต้ตอบข้อความใน Inbox หรือตอบคอมเมนต์ต่าง ๆ นอกจากนี้กลยุทธ์ Social CRM ยังสามารถเก็บข้อมูลบนโซเซียลมีเดีย เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อไปได้อีกด้วย

ธุรกิจประเภทไหนบ้างที่เหมาะกับ ระบบ CRM

สำหรับระบบ CRM เหมาะกับธุรกิจเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเกี่ยวกับการงานขาย การบริการ การตลาด การพัฒนาธุรกิจ การสรรหา รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ก็ควรใช้ระบบ CRM ทั้งนั้น เพราะว่าการทำกลยุทธ์ CRM จะช่วยให้เราสามารถจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า หรือคนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นลูกค้าใหม่ของเรา ระบุโอกาสในการขาย ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัฑณ์หรือสินค้า การบริการหรือความพึงพอใจที่ลูกค้าได้รับ รวมไปถึงการบริหารจัดการแคมเปญต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

CRM มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนต่อการทำธุรกิจ

หลายคนที่ยังไม่รู้จักระบบ CRM คืออะไร ก็เลยไม่เข้าใจว่า CRM มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนต่อการกลยุทธ์ CRM จึงสรุปข้อดี และข้อควรระวังสำหรับนำมาระบบ CRM มาใช้ในธุรกิจ และควรเริ่มทำ CRM เมื่อไหร่ จะดีที่สุด ดังนี้

ข้อดีการนำระบบ CRM มาใช้ในธุรกิจ

  • ทำให้รู้จักกลุ่มลูกค้าของธุรกิจตัวเองมากขึ้น
  • จัดการฐานข้อมูลให้ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
  • ช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มโอกาสสร้างลูกค้าใหม่
  • สร้างโอกาสการขายให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นผ่านทางช่องต่าง ๆ
  • ระบบนี้สามารถช่วยคำนวณยอดขายได้ค่อนข้างแม่นยำมาก
  • ลดขั้นตอนในการทำงาน ทำให้สามารถตัดงานที่ซ้ำซ้อนออกไปได้
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการกับลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่
  • รวบรวมข้อมูลลูกค้ นำมาวิเคราะห์วางแผนการตลาด และทำกลยุทธ์

ข้อควรระวังการนำระบบ CRM มาใช้ในธุรกิจ

  • ควรศึกษาระบบ CRM ให้เข้าใจก่อนจะนำมาใช้ เพราะการเปลี่ยนแปลงมาทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น อาจจะสร้างปัญหาให้กับบุคลากรที่ไม่มีความเข้าใจ ทำให้เกิดความวุ่นวาย แทนที่ดีกลับได้ผลที่ไม่ดี และไม่คุ้มค่าการลงทุน
  • แน่นอนการนำระบบ CRM มาใช้จะต้องผ่านออนไลน์ ดังนั้นหากอินเทอร์เน็ตล่มใช้งานไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ CRM ไปด้วย 
  • ระวังอย่าใช้ระบบ CRM จากการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นการสร้างความรำคาญให้กับลูกค้า

เมื่อไหร่ถึงควรนำระบบ CRM มาใช้กับธุรกิจ

  • เมื่อมีกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับลูกค้าอย่างชัดเจน 
  • เมื่อบุคลากรในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจการทำงานเกี่ยวกับระบบ CRM เป็นอย่างดี

8 ขั้นตอนการวาง กลยุทธ์ CRM มีอะไรบ้าง ทำไมถึงช่วยธุรกิจการขายปังได้

ปัจจุบันหลายธุรกิจ ล้วนให้ความสำคัญกับลูกค้าค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า” เลยก็ว่าได้ ทำให้มีการจัดการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดี เกิดความพึงพอใจมากที่สุด จึงทำให้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องงัดกลยุทธ์ CRM ออกมาต่อสู้ เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองประสบความสำเร็จ  ถ้าอย่างนั้นมาดูหัวใจของ CRM คืออะไรบ้าง แล้วลองทำตามขั้นตอนการวาง กลยุทธ์ CRM ดังนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายให้ชัดเจน

สิ่งแรกของการกลยุทธ์ CRM คือ กำหนดวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของธุรกิจให้มีความชัดเจน และให้มีความสอดคล้องต้องกัน เพราะว่าเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมายตั้งวาง เช่น ต้องการเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า เพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

2. ให้ลองกำหนดกลุ่มเป้าหมายและมูลค่าของลูกค้า

เมื่อหัวใจของ CRM คือ “ลูกค้า” ดังนั้นสิ่งต่อมาที่ต้องทำคือให้คุณลองกำหนดคุณสมบัติลูกค้า เพื่อจำลองกลุ่มลูกค้าที่ต้องการว่าเป็นอย่างไร โดยระบุรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิเช่น เพศ อายุ ศาสนา ความสนใจ การรับรู้ รวมถึงลักษณะพฤติกรรม เพื่อจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และตอบสนองตรงความต้องการ โดยอาจจะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างงานวิจัย เช่น

  • จัดทำบทสัมภาษณ์ทีมขายและทีมบริการลูกค้า
  • ให้ศึกษาโปรไฟล์ลูกค้า หรือสัมภาษณ์จากลูกค้าโดยตรง
  • สอบถามความคิดเห็นของลูกค้าที่ใช้บริการโดยทำแบบสำรวจ

โดยข้อมูลได้ทำการเก็บรวบรวมต้องนำมาวิเคราะห์มูลค่าของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นต้องการลงทุนเท่าไหร่ ถึงจะสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ รวมถึงการสร้างลูกค้าใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

3. วิเคราะห์เส้นทางการเดินทางของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึงมากที่สุด

เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการ และการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า รวมถึงการจัดการกับเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องรู้ทุกขั้นตอน พร้อมวิเคราะห์ทุกเส้นทางการเดินทาง ในทุกจุดบริการหรือช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า โดยการวิเคราะห์เส้นทางอาจจะเลือกใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แคมเปญโฆษณา Email Marketing ติดต่อลูกค้าโดยตรงผ่านทางโทรศัพท์ และช่องทางการตลาดอื่น ๆ

4. สร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เกิดความพึงพอใจมากที่สุด

แน่นอนว่าถ้าจะให้กลยุทธ์ CRM ประสบความสำเร็จได้นั้น ก็จะต้องทำการตรวจสอบโครงสร้างการดำเนินงานภายในของธุรกิจ แผนงานที่วางไว้นั้นมีเนื้อหาสอดคล้องเข้ากับกลยุทธ์การตลาด วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อจะได้สร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ดังนี้

  • พรีเซลสินค้า ควรต้องทำอย่างไร เมื่อได้วิเคาะห์ถึงความต้องการของลูกค้า หลังจากรวบรวมข้อมูลมาไว้ด้วยกัน
  • กระบวนการขาย พิจารณางานขายประเภทไหนบ้างที่สามารถนำไปปรับใช้ระบบอัตโนมัติได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขายได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ทันที เพื่อจะได้ปรับข้อเสนอต่าง ๆ ให้ตรงใจและความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
  • บริการหลังการขาย จำเป็นอย่างที่จะต้องมีบริการหลังการขาย เพื่อคอยจัดการแก้ไขปัญหาเมื่อลูกค้าเกิดปัญหาได้อย่างทันท่วงที

5. ควรศึกษาตลาดและรู้ตำแหน่งธุรกิจของตัวเอง

ให้มองหาจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสทางธุรกิจของตัวเอง เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนากลยุทธ์ CRM ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยให้สำรวจความพร้อมของธุรกิจ ดังนี้

  • มองธุรกิจตัวเองเหมาะกับตลาดนี้หรือไม่
  • จุดเด่นของผลิตภัฑณ์หรือสินค้าของเราแตกต่างกับคู่แข่งอย่างไร
  • ผลิตภัฑณ์หรือสินค้าคู่แข่ง สร้างความแตกต่างในตลาดได้หรือไม่
  • โอกาสหรือช่องทางในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจมีอะไรบ้าง
  • ต้องรู้จักปรับตัวและเรียนรู้วิธีที่คู่แข่งรับมือกับการ Customer Relationship คือ ความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • มองให้ขาดกับธุรกิจที่ทำอยู่ว่าตอนนี้มีแนวโน้มในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ตั้งรับมือได้ทัน

6. มีความเข้าใจผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจตัวเอง

ถ้าตัวเราเองยังไม่เข้าใจผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจของเรา แล้วจะหวังให้ลูกค้าหรือคนอื่นเข้าใจ คงเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วต้องรู้ด้วยสิ่งที่จะสื่อสารไปยังลูกค้าคืออะไร แล้วทำไมลูกค้าถึงตัดสินใจเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา

7. การลงทุนกับซอฟต์แวร์ CRM

อีกหนึ่งหัวใจของ CRM คือ การลงทุนกับซอฟต์แวร์ CRM ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการทำงานร่วมกันของทีมงานฝ่ายต่าง ๆ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องการพิจารณาในการเลือกซอฟต์แวร์ CRM คือ ความสามารถในการใช้ง่ายได้เป็นอย่างดี ต้องใช้งานร่วมกับเครื่องมือที่อยู่ได้ดี และที่สำคัญราคาต้องเหมาะสม ทั้งนี้ เมื่อได้ซอฟต์แวร์ CRM แล้วอย่าลือกำหนดกฎการใช้งาน กำหนดแอดมินผู้ดูแลระบบ รวมถึงการตั้งค่าต่าง ๆ ด้วย เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลได้อย่างครบถ้วน

8. ตั้งค่า KPI ให้กับแต่ละฝ่ายขององค์กร

สุดท้ายกลยุทธ์ CRM ต้องกำหนดการตั้งค่า KPI (ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ) เพื่อเป็นตัวกำหนดเป้าหมายให้ทีมงานในแต่ละฝ่ายทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ข้อดีในการตั้ง KPI จะช่วยทำให้เราสามารถวัดผลได้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

กรณีศึกษาที่น่าสนใจในการทำ CRM

ถ้าใครที่อ่าน 8 ขั้นตอนการวางกลยุทธ์ CRM มีอะไรบ้าง แล้วยังมองไม่เห็นภาพ ลองมาดูตัวอย่างการทำ CRM น่าจะพอช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

Amazon : Case Study

บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ยังต้องหันมาใช้ กลยุทธ์ CRM เหมือนกัน โดยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้า ที่เข้ามาใช้บริการบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ในการจัดส่งของ หรือข้อมูลบัตรเครดิต รวมถึงประวัติการสั่งซื้อสินค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ด้วยฟีเจอร์ 1-Click เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ นอกจากนี้แล้ว Amazon ยังมีการแนะนำสินค้าในสิ่งที่ลูกค้าสนใจเฉพาะบุคคล ด้วยการส่ง Email Marketing ให้กับลูกค้าอีกด้วย

Tesco : Case Study

Tesco แบรนด์ Super Market เปิดสาขาให้บริการทั่วโลก หนึ่งในความสำเร็จของแบรนด์ก็มีจากการทำระบบ CRM ด้วยทำการระบบสมาชิก Tesco Clubcard เพื่อสร้างข้อมูลให้ลูกค้าประจำ สร้างความภักดีให้ลูกค้าของแบรนด์ จึงเลือกใช้เป็นระบบสะสมแต้ม มีการจัดส่งคูปองอิเล็คทรอนิกส์ (E-Coupon) เพื่อสร้างยอดขายให้กับ Tesco ได้ แถมยังช่วยให้เพิ่มลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย

McDonald : Case Study  

McDonald’s เลือกเป็น Partner กับ Astute Solutions จึงทำให้เป็นธุรกิจที่มี Insight Data คือเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น และระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่มาใช้บริการ McDonald’s รวมถึงร้านในเครือทั้งหมด ซึ่งการ McDonald’s นำระบบ CRM นี้มาใช้ยังช่วยทำให้สามารถรับรู้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเวลา นอกจากนี้แล้ว McDonald ให้ความสำคัญในการฝึกบุคลากร เพื่อจะให้บริการกับลูกค้าได้สมบูรณ์แบบ

กลยุทธ์ CRM ถือเป็นอีกหนึ่งประตูสู่ความสำเร็จการทำธุรกิจการขาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง แถมยังช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิมให้เหนียวแน่น และเพิ่มโอกาสให้สำหรับลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย แน่นอนว่าความสำเร็จนั้นไม่มีสูตรตายตัวว่าใช้กลยุทธ์ไหนถึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าการใช้ระบบ CRM ได้อย่างแม่นยำมากที่สุด จึงจำเป็นต้องตั้งโจทย์ว่าธุรกิจเราต้องการอะไร ทำกลยุทธ์ CRMเพื่ออะไร และมีเป้าหมายเพื่ออะไร จึงจะได้เก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ได้อย่างที่ต้องการ ใครมือใหม่อยากลองทำกลยุทธ์ CRM ลองนำขั้นตอนเหล่านี้ไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้เลย รับรองธุรกิจการขายปังแน่นอน!!

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

โทร 02.026-6423

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x