เพิ่มมิติซื้อขายกับการทำ De-Influencing แบบไม่อวยสินค้าเกินจริงดีอย่างไร ?

177 views

De-Influencing คืออะไร ทำไมถึงดีต่อผู้บริโภค

 

เมื่อของมันไม่ต้องมีบ้างก็ได้กับกระแสของ De-Influencing ที่อยากจะพาคุณไปรู้จักกับเทรนด์การตลาดรูปแบบใหม่เอาใจผู้บริโภคที่เกิดมาจากความเบื่อหน่ายจากแบรนด์ที่เอาแต่ป้ายยา หรือบอกต่อจนทำใหเกิดการซื้อตามเทรนด์มากเกินความจำเป็นและในบางครั้งก็ทำให้รู้สึกตามกระแสไม่ทันซึ่ง De-influencing คืออะไรและทำไมการทำ De-influencing จึงเข้ามาเพิ่มมิติการซื้อขาย พร้อข้อดี-ข้อเสียของการทำ De-influencing และทริคที่ช่วยให้นักการตลาดปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

 

De-influencing คืออะไร ?

เมื่อกระแสของมันไม่ต้องมี! ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเทรนด์ De-influencer คืออะไร ซึ่งถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการผลิตคอนเทนต์แบบใหม่ที่เนื้อหาของคลิปวีดิโอ หรือโพสต์นั้นเน้นไปที่ข้อเสียของสินค้าของแบรนด์ต่าง ๆ โดยอาจจะมีการพูดถึงในเชิงเปรียบเทียบกับสินค้าบางอย่าง อาทิ ราคาที่เข้าถึงได้ คุณภาพสินค้า หรือการตอบกลับบางคลิปที่มีการพูดถึงแต่ข้อดีของสินค้า หรือที่เรียกกันว่าอวยสินค้ามากเกินไปซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงประโยชน์และความจำเป็นของสินค้าจึงเป็นที่มาว่า “ของมันไม่ต้องมีบ้างก็ได้”

 

 

ทำไมเทนด์ De-influencing ถึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน  

 

ส่วนหนึ่งที่ได้เกิดเทรนด์ De-influencing ก็มาจากการอวยสินค้าที่มากเกินไปซึ่งส่วนหนึ่งก็เห็นได้จากคลิปป้ายยาผลิตภัณฑ์ หรือใช้ดีบอกต่อซึ่งในบางครั้งก็ส่งผลให้เกิดการซื้อตามเทรนด์ หรือ overconsumption มากเกินไปซึ่งเทรนด์นี้เกิดขึ้นมาไม่นานนี้เองโดยกลุ่ม Influencer ในอเมริกาที่ทำคอนเทนต์แนว De-influencing แล้วใช้ Hashtag #deinfluencer จนกลายเป็นกระแสเพราะคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็มีการบริโภคนิยม หรือซื้อสินค้าเกินความจำเป็นจริง ๆ จึงทำให้ผู้คนในปัจจุบันได้หันกลับมาตระหนักอีกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ช่วยให้ได้ใช้เวลาในการพิจารณาสินค้าก่อนซื้อมากขึ้นนั่นเอง

 

ทำไมเราถึงควรทำการตลาดแบบ De-Influencing

 

ต่อมาจะชี้ให้การตลาดแบบ De-Influencing ข้อดีอย่างไรที่ทำไมเราถึงควรทำคอนเทนต์แบบนี้ซึ่งต้องยอมรับว่าอาจจะไม่ได้ส่งผลดีต่อแบรนด์มากนัก แต่คนที่รับผลดีมากที่สุดคือ Influencer ที่สามารถรับรีวิวสินค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและให้ความจริงใจกับผู้ที่ติดตาม รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อให้แก่ตัวอินฟลูเอนเซอร์เอง ในขณะเดียวกันอีกกลุ่มที่ได้รับผลดีคือ กลุ่ม Consumer (ผู้บริโภค) ที่สามารถเข้ามาช่วยลดการซื้อของที่ไม่จำเป็นลงได้และยังช่วยยกระดับเจ้าของแบรนด์ในการผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ผู้บริโภคจริง ๆ มากขึ้น 

 

 

 

 

ปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับเทรนด์ De-Influencing

 

จากกระแส De-influencing ที่เกิดขึ้นอาจทำให้หลายแบรนด์รู้สึกกังวลว่าจะไม่สามารถทำ Influencer Marketing ได้อีกต่อไปหรือไม่ แต่ถ้าลองพิจารณาดี ๆ จะพบว่า เส้นทางรายได้ของเหล่าอินฟลูก็มาจากสปอนเซอร์ของแบรนด์ นี่จึงอาจหมายความว่า อินฟลูก็ยังคงรับโปรโมต หรือรีวิวสินค้าอยู่เพราะพวกเขาก็ต้องการรายได้เช่นเดียวกัน แต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบในการบอกผู้ติดตาม (Follower) ว่าใช้แบรนด์นี้สิเป็นการบอกว่าเปลี่ยนมาใช้แบรนด์นี้หรือดีกว่าซึ่งส่วนนี้จะเน้นไปที่การเทียบเรื่องคุณภาพ ราคาและอื่น ๆ ว่าแบรนด์นี้ดีอย่างไร และอีกแบรนด์ดีกว่าในเรื่องไหนซึ่งจะช่วยให้แบรนด์นำ Painpoint ที่เจอไปพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นซึ่งเผลอ ๆ จะยิ่งช่วยเพิ่มยอดขายให้ดีกว่าเดิมเพราะไม่เพียงการตลาดดี แต่สินค้ายังคุณภาพดีควบคู่ไปด้วยนั่นเอง

 

ตัวอย่าง De-Influencing

  • เครื่องสำอางค์ตัวไหนไม่ปัง ไม่ต้องซื้อก็ได้
  • Declutter your home & then learn to buy less. It will change your life
  • De-Influencing เครื่องสำอาง
  • My take on this new “de-influencing” trend.
  • De-Influencing you from Amazon products

 

ใช้เทรนด์ De-Influencing อย่างไรไม่ให้ทำลายภาพลักษณ์แบรนด์ 

 

สิ่งที่อยากเน้นย้ำ! สำหรับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่อยากจะใช้เทรนด์ De-Influencing ในการทำคอนเทนต์คือเราสามารถที่จะทำ De-Influencing ให้ิเกิดประโยชน์โดยไม่ทำร้ายใครได้ เช่น การให้ความรู้ในการเลือกเครื่องสำอางค์แบบคุ้มค่ามากกว่าซึ่งคนที่รับชมคอนเทนต์แนว De-Influencing จะต้องมีสติเพราะบางครั้งก็อาจจะมีการโจมตีสินค้าแบรนด์หนึ่งเพื่อนำเสนอสินค้าแบรนด์หนึ่งก็ได้

 

 

 

การทำ De-Influencing จึงถือเป็นกระแสใหม่ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันที่ส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่ช่วยลดการซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น ส่วนอินฟลูเอนเซอร์เองก็ไม่ต้องอวยสินค้าเพื่อให้มีงาน แต่สามารถรับงานรีวิวที่พูดถึงสินค้าได้อย่างตรงไปตรงมากขึ้น แต่ก็ต้องไม่ทำลายภาพลักษณ์แบรนด์เพื่ออวยอีกแบรนด์เพราะถือเป็นการดิตเครดิตและเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและสำหรับแบรนด์สินค้าหากมั่นใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ก็ไม่มีอะไรต้องกลัว 

 

 

ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของแบรนด์ที่มีความต้องการจัดการสต๊อกสินค้าด้วยระบบสต๊อกสินค้าออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรับออร์เดอร์ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือออร์เดอร์ที่มีอยู่ให้เป็นระบบสามารถเข้ามาสอบถาม หรือขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ZORT

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort