Personal Branding คืออะไร ทำไมถึงตอบโจทย์ผู้บริโภค พร้อมทริคการตลาดพิชิตใจลูกค้าผ่าน Personal Branding

940 views

ส่องกลยุทธ์การตลาดผ่านการทำ Personal Branding ตั้งแต่ต้นจนจบไว้เอาชนะใจลูกค้า

 

หากพูดถึงการสร้างแบรนด์บุคคล ก็มักจะมีคำถามว่า Personal Branding คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ พร้อมชี้ให้เห็นองค์ประกอบหลัก ๆ ของการสร้างแบรนด์บุคคล เทียบข้อดี ข้อเสีย รวมถึงวิธีการสร้าง Personal Branding ให้มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถนำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าคนสำคัญได้ดีขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด ซึ่งเนื้อหาจะน่าสนใจขนาดไหนไปเริ่มกันเลย!

 

Personal Branding คืออะไร

Personal Branding หรือที่เราเรียกว่า “การสร้างแบรนด์บุคคล” ซึ่งนำเอาบุคคลมาเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ในการบ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์ให้ผู้บริโภครับรู้ เช่น ความเชี่ยวชาญ ไลฟ์สไตล์ บุคลิก การ

สื่อสาร ประสบการณ์ แนวคิด หรือการแต่งตัวสื่อสารออกในเชิงสัญลักษณ์ (Iconic) ซึ่ง Personal Branding ตัวอย่างว่ามีใครบ้าง ดังนี้  

  • ไมเคิล แจ็กสัน กับท่าเต้นมูนวอร์ก หรือลูบเป้า ที่เป็นท่าเต้นสัญลักษณ์เฉพาะตัวที่เห็นเมื่อไหร่ก็นึกเขาเมื่อนั้น 
  • สตีฟ จอบส์ ก็ต้องนึกถึงไอโฟน หรือแบรนด์แอปเปิ้ลมีรอยกัด ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอโฟนซึ่งถือได้ว่าเขาเป็นคนพลิกโฉมเทรนด์สมาร์ทโฟนให้คนทั่วโลก
  • อีลอน มัสก์ เจ้าพ่อวงการรถไฟฟ้าและอวกาศ spaceX พร้อมการเข้าซื้อ twitter เปลี่ยนเป็นแอพ X จนกลายเป็นที่ฮือฮาของคนทั่วโลก 
  • พิมรี่พาย กับเอกลักษณ์การไลฟ์สด (LIVE) ขายของจนกลายเป็นที่รู้จัก
  • ท๊อป จิรายุส ตัวพ่อพลิกโฉมวงการผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์กิจิทัลและบลอกเชนอย่างบริษัท Bitkub

 

เทียบข้อดี – ข้อเสีย Personal Branding

คงจะเห็นตัวอย่าง Personal Branding มีใครบ้างกันไปแล้วต่อมาจะเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสียของ Personal branding เพื่อให้ทราบและเข้าใจซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ของแต่ละแบรนด์

 

ข้อดี: จะช่วยในการเสริมสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้โดดเด่น มีความแจกจ่างอย่างชัดเจนซึ่งทำให้การจดจำแบรนด์ของผู้บริโภคมีความแม่นยำมากขึ้น รวมมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อแบรนด์และยังสามารถดึงดูด หรือโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้ดีกว่า

 

ข้อเสีย: ชื่อเสียงของภาพลักษณ์บุคคลนั้นสำคัญมากซึ่งการรักษาก็ทำได้ยากเพราะยุคสมัยเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ตัวบุคคลก็อาจจะเปลี่ยนไปด้วยและหากบุคคลเผลอทำอะไรผิดพลาดก็อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบกับแบรนด์ได้ทันที รวมถึงเงินลงทุนระยะยาว

 

 

 

 

องค์ประกอบของ Personal Branding

ถัดมาจะเป็นการอธิบาย Personal Branding มีอะไรบ้าง ซึ่ง 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ของ Personal Branding ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพการสร้างแบรนด์บุคคลได้ง่ายขึ้น ดังนี้

 

  1. เอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคล ทราบกันดีว่าทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถส่งเสริม หรือสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่จดจำได้จึงจำเป็นต้องคัดคนที่สามารถสื่อสารแบรนด์ออกมาได้ตรงจุด รวมถึงความประพฤติที่จะต้องเหมาะสมอยู่ในกรอบที่ดีงามเพราะหากบุคคลส่อพฤติกรรมในเชิงลบอาจจะกระทบภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ต่อผู้บริโภคก็อาจจะลดลงไปด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้! ส่งผลกระทบระยะยาว

     

  2. เวลาและความต่อเนื่อง นอกจากตัวบุคคลที่ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์แล้ว ยังต้องใช้ระยะเวลาและความต่อเนื่องเพื่อให้สร้างตัวตนของบุคคลให้กลายเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายจึงอาจจะต้องอาศัยวิธีในการสื่อสารเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

     

  3. ช่องทางการสื่อสาร ต่อจากภาพลักษณ์บุคคล การอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่อง ยังต้องพูดถึงการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่แบรนดืจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแบรนด์ หรืออาจจะเลือกทำทุกช่องทางเพื่อดูการตอบรับก็ได้ซึ่งจะช่วยให้ทราบทิศทางว่าควรใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับลูกค้าได้ตรงจุด

 

 

5 วิธีการสร้าง Personal Branding ให้มีประสิทธิภาพ

คงจะทราบกันแล้วว่า Personal Branding สําคัญอย่างไร ? และแบรนด์เองก็สามารถสร้าง Personal Branding ให้มีประสิทธิภาพได้ง่าย ๆ ผ่าน 5 วิธี ดังนี้

 

  1. กำหนดภาพลักษณ์เฉพาะตัว (Personal Brand) ให้ระบุคุณค่า หรือค่านิยมเฉพาะตัวที่อาจหมายถึงบุคลิก ทักษะและความเชี่ยวชาญที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ หรือสื่อสารแบรนด์ได้อย่างน่าเชื่อถือซึ่งแบรนด์จะต้องใช้จุดแข็งเหล่านี้ ? ที่อาจจะคิดเป็นคำโฆษณา (กระชับ ดึงดูดและจดจำง่าย) เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าแบรนด์ต้องการสื่ออะไร

     

  2. สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ (Online Presence) เมื่อตัวตนชัดก็ต้องมาสร้างตัวตนบนโดลกออนไลน์ให้เป็นที่รู้จักไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์ หรือสื่อโปรไฟล์บน Social media เช่น การปรับแต่งโปรไฟล์บน LinkedIn ที่เข้าถึงธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ที่อาจจะเริ่มจากการเพิ่มทักษะ หน้าที่การงาน สิ่งที่เคยประสบความสำเร็จ รวมถึงช่องทางในการติดตามอื่น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้พวกเขารู้จักคุณมากขึ้นนั่นเอง

     

  3. สร้างเครือข่าย (Networking) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธียอดนิยมในการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง (Reach) จากการสร้างความสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเดียวกันผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ที่เห็นได้ง่าย ๆ คือ นามบัตร กลุ่มแฟนเพจต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ความพยายามในการติดต่อสื่อสารกับคนเหล่านั้น ในแวดวงเดียวกัน หรืออื่น ๆ เพื่อขยายแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

     

  4. มีจุดยืน (Value) การสร้าง Impact ให้ตรงกลุ่มผู้ติดตามก็ต้องเริ่มต้นมาจากแบรนด์มีจุดยืนที่แน่ชัดสร้าง เช่น ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิง โดยการแบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ผ่านการเขียนบลอก อัปเดตโพสต์ หรือเนื้อหาวีดิโอ เป็นต้น

     

  5. มีความจริงใจ (Authentic) จุดที่สื่อสารออกไปแล้วได้รับความไว้วางใจคือการสื่อสารด้วยความจริงใจจากการเป็นตัวของตัวเองแล้วสื่อสารเรื่องราวส่วนตัว ประสบการณ์โดยตรงที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับผู้ติดตามได้ในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น เมื่อภาพลักษณ์ที่จริงใจจะสะท้อนความถูกต้องและซื้่อสัตย์ สิ่งเหล่านี้ก็จะเปล่งประกายออกมาจนผู้ติดตามรับรู้ได้

 

 

 

อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะพอเข้าใจแล้วว่า Personel Branding คืออะไร ที่อิงถึงบุคคลสำคัญที่สื่อสัญลักษณ์ออกได้ได้ชัดอย่าง ไมเคิล แจ็กสัน สตีฟ จอบส์ อีลอน มัสก์ พิมรี่พาย หรือท็อปจิรายุสด้วยจุดเด่นที่ชูภาพลักษณ์ให้โดดเด่นกลายเป็นที่รู้จักจากการนำเอาองค์ประกอบอย่างเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล เวลาและความต่อเนื่องและช่องทางการสื่อสารจนสามารถกลายเป็นที่รู้จัก

 

 

และหากอยากเริ่มต้นทำ Personel Branding จากการกำหนดภาพลักษณ์เฉพาะ สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ สร้างเครือข่าย มีจุดยืนและสื่อให้เห็นถึงความจริงใจจะยิ่งช่วยโปรโมตแบรนด์ผ่านตัวบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ส่วนใครที่อยากจัดการสต๊อกสินค้าด้วยระบบสต๊อกสินค้าออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แนะนำให้เข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ZORT ซึ่งเป็นตัวช่วยในการจัดการระบบคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort