Brand CI หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Corporate Identity หรือ Brand Identity คือ อัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์ ที่กำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดและเพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภคนั่นเอง ฟังแบบนี้แล้วอาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพกัน แต่ถ้าลองยกตัวอย่างอัตลักษณ์ของแบรนด์พันธมิตร ZORT เช่น J&T Express ทุกคนก็จะนึกถึงสีแดงและโลโก้ตัวอักษร J และ T หรือถ้าเป็นแบรนด์ทั่ว ๆ ไปอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ภาพที่ขึ้นมาในหัวคือสีแดง ส้ม และเขียว พร้อมตัวเลข 7 สาเหตุที่ลูกค้าเกิดภาพในหัวดังกล่าว ก็มาจากการเห็นรูปแบบสี โลโก้เดิมซ้ำ ๆ ตามที่ต่าง ๆ จนเกิดเป็นภาพจำไปในที่สุด นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง Brand Identity นั่นเอง
ความสำคัญของ CI
1. สร้างภาพจำให้กับลูกค้า
เพื่อสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ลองนึกภาพตามว่ามีลูกค้าเคยซื้อสินค้าจากร้านของเราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่จำชื่อร้านไม่ได้ พอค้นหาสินค้าก็เจอสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด แต่ลูกค้าจำได้ว่าเคยซื้อจากร้านที่มีกรอบสีฟ้า จึงกลับมาซื้อสินค้ากับร้านเราถูก
2. กำหนดทิศทางในการสื่อสารของธุรกิจ
ยิ่งธุรกิจของเรามีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีหน้าร้านออนไลน์ มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีแอดมินดูแลหลายคน CI จะยิ่งเข้ามามีบทบาทในการทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารของธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีระเบียบแบบแผน และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
3. ลดความสับสน
การมี Corporate Identity สามารถช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการขายหรือช่องทางการสื่อสารลูกค้าหลายช่องทาง เพราะหากธุรกิจนำ Brand CI มาปรับใช้กับทุกช่องทางการขายหรือช่องทางติดต่อ โดยอาจใช้โลโก้ ฟ้อนต์ และโทนสีเดียวกัน ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของร้านค้าเดียวกัน
ตัวอย่างการทำ CI ของแบรนด์ Araya
ขั้นตอนการทำ CI
หลักการเบื้องต้นของการทำ CI ที่ธุรกิจควรคำนึงถึงมีดังนี้เลย
1. โลโก้
นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานเลยสำหรับแบรนด์ หากธุรกิจของคุณยังไม่มีโลโก้เป็นของตนเอง อาจเริ่มจากการดีไซน์อย่างง่าย ๆ โดยคำนึงเรื่องการเล่าเรื่องให้โลโก้สื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจของเรา ซึ่งสมัยนี้ก็มีโปรแกรมตัวช่วยในการออกแบบโลโก้สำเร็จรูปมากมาย ที่ร้านค้าสามารถนำไปปรับใช้กันได้ หรือหากต้องการให้โลโก้ของเรามีความโดดเด่น ไม่เหมือนใครอย่างแท้จริงก็อาจเลือกใช้บริการออกแบบโลโก้ต่าง ๆ ตามงบประมาณที่มีอยู่ได้เลย
ตัวอย่างโลโก้ร้านเกมจาก Classic Game Shop
2. สี
บางครั้งแล้วลูกค้าก็เกิดการจดจำแบรนด์หรือธุรกิจที่สี ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือธุรกิจขนส่งเจ้าสีเหลือง สีส้ม สีแดง พอพูดแค่นี้ลูกค้าก็ทราบทันทีว่าเป็นเจ้าไหน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้สีที่บ่งบอกถึงธุรกิจเรา โดยอาจเลือกจากความหมายหรืออารมณ์ที่สื่อออกมาผ่านสี และที่สำคัญคือควรเลือกสีที่โดดเด่น ต่างจากแบรนด์คู่แข่ง และเป็นที่น่าจดจำ
ตัวอย่างการใช้สีตาม CI ของร้าน Gorilla
3. ฟ้อนต์
ในการทำ Artwork ต่าง ๆ ของร้านค้า ก็สามารถทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้มากยิ่งขึ้นจากดีไซน์ฟอนต์ที่เราใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ถ้าเป็นร้านค้าเครื่องสำอาง อาจต้องเลือกใช้ฟ้อนต์ที่สื่อถึงความอ่อนหวาน น่ารัก หรือหากเป็นร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็อาจจะต้องเลือกใช้ฟอนจ์ต์ที่ดูทันสมัย ล้ำยุด แต่สิ่งสำคัญคือต้องอ่านง่ายด้วยนะ
ตัวอย่างการใช้ฟ้อนต์ประจำองค์กรของ ZORT
เห็นแล้วใช่ไหมว่าการทำ Brand CI นั้นไม่ได้ทำไปเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว การมี Corporate Identity หรือ Brand Identity ที่ชัดเจนนั้นมีผลต่อธุรกิจมากมายมหาศาลเลยทีเดียว ใครยังไม่มี Brand CI ของธุรกิจ ต้องรีบวางแผนดูได้แล้วนะ
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 02-026-6423
Line: @zort