กระแส Thai Made กับพฤติกรรมการชอปปิงของคนแต่ละ Generation

2 views

กระแส Thai Made มาแรง เมื่อสินค้าไทยก็ไม่แพ้ชาติไหนในโลก

 

Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ได้คาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยหลังจากปีใหม่ที่ผ่านมา ว่ามีแนมโน้มรัดเข็มขัดมากขึ้นในช่วงเดือน ก.พ. เนื่องจากเศรษฐกิจ รวมถึงทุ่มกายทุ่มใจกับงานแบบสุดตัว แล้วเตรียมพักผ่อนอย่างเต็มที่อีกครั้งในวันหยุดเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม การมาของกระแส Thai Made ยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้กับเศรษฐกิจไทย มาดูกันว่าพฤติกรรมการซื้อคนไทยในยุคที่สินค้าไทยมาแรง นั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

Highlight & Summary

  • กระแส Thai Made คือ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยซื้อ คนไทยใช้ ไม่เพียงแค่เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าอีกด้วย
  • 3 อันดับความนิยมสินค้าไทยที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดต่อเดือน ได้แก่ แฟชั่นไทย เทศกาลและประเพณีไทย และเพลงไทย
  • ผลสำรวจพบว่าชาว Gen Z ยอมเปย์เงินไปกับ T-POP มากที่สุด ไม่ได้แค่ฟังเพลงเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ผ่านการไปงานอีเวนต์ แฟนมีต หรือคอนเสิร์ตของศิลปิน

 

พฤติกรรมการซื้อคนไทยลดลงในช่วงเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

 

ส่องแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายของคนไทยช่วงต้นปี 2568

แนวโน้มการใช้จ่ายของคนไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลใช้จ่ายลดลงกว่าเดือนธันวาคม 2567 เพราะไม่มีอีเวนต์หรือเทศกาลเฉลิมฉลองอย่างคริสต์มาสหรือส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ บวกกับบริษัทต่าง ๆ ประกาศ Layoff พนักงานมากขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนเลือกจะเก็บออมเงิน ป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินมากกว่าใช้เงินไปกับการชอปปิง

 

นอกจากนี้กลุ่มคนอายุ 20 – 29 ปี ไม่มีความต้องการใช้จ่ายเงินในช่วงเดือนดังกล่าวด้วย เพราะทุ่มเงินจำนวนมากไปกับการซื้อของ ท่องเที่ยวอย่างหนักหน่วงในช่วงปลายปี และอยากเก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายในช่วงรับปริญญามากกว่า

 

กระแส Thai Made ชวนคนไทยหันมาใช้สินค้าไทยมากขึ้น

Thai Made คือ สินค้าและบริการที่ผลิตคิดค้นโดยคนไทย ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จะเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชน เชิญชวนให้คนไทยมาซื้อและใช้สินค้าไทยมากขึ้น เป็นการส่งเสริมเทรนด์สินค้าคนไทยที่มีผลดีทั้งในแง่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทย รวมไปถึงอาจสร้างเป็น Soft Power ไปสู่สายตาคนทั่วโลกได้ด้วย โดย 3 อันดับความนิยมสินค้าไทยที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดต่อเดือน ได้แก่ แฟชั่นไทย, เทศกาลและประเพณีไทย และเพลงไทย ตามลำดับ

สำหรับแฟชั่นไทยนั้นครองอันดับหนึ่งด้วยคุณภาพและดีไซน์เสื้อผ้า ที่เมื่อเทียบแล้วคุ้มค่าราคามากกว่าแบรนด์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ กระแส Thai Made ที่มาแรงมาก ๆ ในช่วงนี้ก็ต้องหนีไม่พ้น T-POP ที่ทำให้ใครหลายคนหันมาฟังเพลงไทยกันมากขึ้น ถ้าเป็นสมัย 10 ปีก่อนจะเห็นว่าพรีเซนเตอร์ของสินค้าไทยมักจะเป็นไอดอลต่างประเทศอย่าง K-POP แต่ ณ ตอนนี้เรียกได้ว่าหันไปทางไหนก็มีแต่ศิลปินไทย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการผลักดันความเป็นไทยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

 

 

กระแส Thai Made ทำให้ Gen Y ใส่ใจการกับทำบุญมากขึ้น

 

พฤติกรรมการซื้อคนไทย Gen X – Y – Z เมื่อคนต่างเจน ชอบเปย์ต่างกัน

  • Gen X (กลุ่มคนที่เกิดปี 1965 – 1979) ถึงเป็นเจนเนอเรชันที่มีอายุเยอะที่สุดก็ตาม ผลสำรวจพบว่าคน Gen X ใช้จ่ายกับสินค้ากลุ่มแฟชั่นไทยมากที่สุด ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพเท่านั้น แต่ต้องแสดงออกถึงความรักสวยรักงาม และการดูแลตัวเองเป็นอย่างดี โดยที่อายุไม่ใช่อุปสรรค

     

  • Gen Y (กลุ่มคนที่เกิดปี 1980 – 1996) คนกลุ่มนี้ในช่วงนี้กำลังอยู่ในวัยกลางคน เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ทำให้มักจะเปย์เงินไปกับเทศกาลไทยเป็นหลัก เพราะมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวจะได้มารวมตัวและมีความสุขร่วมกัน ทุ่มไปกับการซื้อของขวัญ การท่องเที่ยว หรือการร่วมกิจกรรมในประเพณีต่าง ๆ เพื่อสานความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

     

  • Gen Z (กลุ่มคนที่เกิดปี 1997 – 2009) กระแส Thai Made ที่ชาว Gen Z ให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ T-POP นั่นเอง ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแค่ผู้ฟังเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนกระแสให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ผ่านการไปงานแฟนมีต คอนเสิร์ต หรือร่วมซื้อสินค้าที่ศิลปินเป็นฟรีเซนเตอร์ เป็นต้น

 

แบรนด์ควรสร้างคอนเทนต์หรือแคมเปญเชื่อมโยงกระแส Thai Made ให้เข้ากับแบรนด์

 

แจก 2 กลยุทธ์เด็ด เชื่อมโยงกระแส Thai Made ให้เข้ากับแบรนด์

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อคนไทยในช่วงไม่กี่เดือน พร้อมกับกระแส Thai Made ที่แต่ละแบรนด์ควรคว้าโอกาสนี้ไว้ในการสร้างอีเวนต์ คอนเทนต์ หรือแคมเปญต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงหากลุ่มเป้าหมาย ทาง Hakuhodo ได้ให้คำแนะนำดังนี้

 

1. Do Good, Feel Close Campaign

การทำบุญกับคนไทยเป็นของคู่กัน ใคร ๆ ก็อยากสร้างบุญกุศลดี ๆ ติดตัว แบรนด์อาจสร้างแคมเปญให้แฟนคลับได้ใกล้ชิดกับศิลปินคนโปรด ผ่านการไลฟ์สดและโดเนททำบุญไปพร้อมกัน และเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็จะได้ชุดทำบุญ ประกอบไปด้วย ดอกไม้ หนังสือสวดมนต์ สินค้าจากแบรนด์ รวมไปถึงการ์ดขอบคุณจากศิลปิน ได้ทำทั้งความดีและรับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจกลับไปอีกด้วย

 

2. Heart & Heal: เติมเต็มหัวใจ ใส่ใจตัวเอง

กระแสรักตัวเองหรือ Self-Love เริ่มเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในสังคมที่มีแต่การแข่งขัน หรือสนแต่การประสบความสำเร็จมากเกินไป จนลืมดูแลตัวเอง แบรนด์อาจลองสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้ลองบอกรักตัวเอง เขียนข้อความให้กำลังใจถึงตัวเราในอนาคต ส่งเสริมการรักตัวเองและมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากยิ่งขึ้น

 

สรุป

ความนิยมสินค้าไทยในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาเป็นไปในทางที่ดี และดูมีแนวโน้มที่จะนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะด้วยราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องรอรพรีออเดอร์หรือนำเข้า รวมไปถึงสินค้าและบริการบางอย่าง เกิดจากการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและเข้าใจนิสัยของคนไทยเป็นอย่างดี ทำให้คนไทยสามารถใช้งานได้อย่างตอบโจทย์และตรงความต้องการ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการแล้วว่า จะพัฒนาสินค้าอย่างไรให้คนอยากกลับมาซื้อซ้ำ ๆ รวมถึงรักษาคุณภาพสินค้าอย่างไรให้คงที่ไปตลอด

 

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-026-6423

Line: @zort