จัดการสต๊อกจมอย่างไรดีให้มีประสิทธิภาพแบบไม่จมทุน

725 views

สต๊อกจมทำไงดี? เทคนิคบริหารสต๊อกขายไม่ออกอย่างมีประสิทธิภาพ

หลายคนมักให้ความสนใจกับสินค้าขายดี หรือสินค้าที่ทำกำไรให้กับร้าน แต่มักลืมนึกถึงสินค้าที่นอนนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในสต๊อกสินค้าเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า“สต๊อกจม” โดยสินค้าทุกชิ้นล้วนมีต้นทุนทั้งสิ้นซึ่งหากสต๊อกจมแน่นอนว่าเงินของคุณก็จะจมไปด้วย ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นแล้วจะจัดการสินค้าค้างสต๊อกให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร Zort เรามาพร้อททริคการบริหารสต๊อกให้คุณไม่จมทุน

 

เช็คให้ชัวร์ มั่วหรือไม่ 

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าในสต๊อกของตนเองมีสินค้ากี่ตัว แต่ละตัวมีอะไรบ้างและสต๊อกตัวไหนที่จมทุนอยู่ และสต๊อกจมอยู่จำนวนมากมากเท่าไร พร้อมเช็คระยะเวลาสินค้าคลังคลังว่าสต๊อกว่าไม่มีการขายเลยเป็นเวลา 30 วัน 45 วัน 60 วัน 90 วัน 180 วัน หรือมากกว่านั้นเพื่อจะนำไปเริ่มต้นการจัดการสต๊อกผ่านข้อมูลการตรวจเช็คเพื่อความชัวร์ ไม่มั่วนิ่ม

สาเหตุของสต๊อกสินค้าจม

โดยสาเหตุส่วนใหญ่ทำให้สต๊อกจม (Dead Stock) เนื่องจากสินค้านั้นถูกตีคืนจากลูกค้า เกิดความเสียหาย สภาพไม่สมบูรณ์ มีตำหนิ ล้าสมัย มีความต้องการใช้น้อยและขายเฉพาะกลุ่มลูกค้าเท่านั้น (Niche Market) 

ทำให้สินค้าเหล่านี้นั่นถูกนับเป็น Dead Stock ตามระยะกำหนดของแต่ละร้านว่าสินค้าไม่มีการเคลื่อนไหวมาเป็นระยะเวลาเท่าไรตามข้างต้น คือ 30 วัน 45 วัน 60 วัน 90 วัน 180 วัน หรือมากกว่านั้น 1 เดือน 3 เดือน หรือ 6 เดือน เป็นต้น

 

ข้อเสียของสินค้า Dead Stock

หากปล่อยให้สินค้าค้างสต๊อกเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดผลกระทบเหล่านี้ตามมา ได้แก่ 

  • เสียเงิน หากไม่สามารถขายทำกำไรได้ ของค้างสต๊อกแต่ละชิ้นจึงเปรียบเสมือนกับการลงทุนที่สูญเงินโดยเปล่าไม้คุ้มทุน 
  • เสียโอกาส หากสินค้าที่มีไม่มีการเคลื่อนไหวจะทำให้โอกาสเข้าใกล้สายตาลูกค้านั้นทำได้ยากและยังไม่สามารถนำทุนไปใช้กับสินค้าที่ขายออกได้
  • เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่และยิ่งหากมโกดังแล้วไม่สามารถปล่อยสินค้าออกได้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาเพิ่มเติมทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงค่าทำความสะอาด ที่ต้องจ้างคนเข้ามาดูแลหากสต๊อกสินค้าค้างเป็นเวลานาน ๆ 

เริ่มวางแผนจัดการสินค้า Dead Stock ได้อย่างไร 

จะเห็นได้ชัดว่าการบริหารจัดการสต๊อกที่ไม่มีคุณภาพจะเกิดผลเสียตามมาอีกมายซึ่งหากคุณอยากเริ่มวางแผนจัดการสต๊อกนั้นสามารถทำได้หลายวิธีตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ  

ยกตัวอย่างเช่น

  • หากคุณเป็นร้านขายเสื้อผ้าแล้วพบว่า กลุ่มเสื้อมัดย้อมในร้านเป็นรายการสต๊อกจมซึ่งขายไม่ออกมาเป็นเวลา 45 วันแล้วจึงนำเสื้อมัดย้อมมาติดป้ายลดราคาหน้าร้านเพื่อให้มองเห็นง่ายและมีโอกาสขายได้มากขึ้น 
  • หากคุณเป็นร้านรองเท้าที่ของขายไม่ได้เลยมากกว่า 90 วันแล้ว ลดราคาลงแล้วแต่ก็ยังไม่ดึงดูดใจอาจจะเปลี่ยนมาเป็นการจัดเซตคู่กับสินค้าอื่น ๆ เช่น ขายคู่กับกางเกงขาสั้น ขายาว เสื้อ หรือหมวกเพื่อเป็นการระบายสต๊อกแทน

ซึ่งจากตัวอย่างที่ได้กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่าวิธีการจัดการสต๊อกจมนั้นทำได้หลายวิธี แล้วแต่เจ้าของร้านจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับร้านของตนเอง

 

จัดการไม่เก่ง จ้างใครมาช่วยดูแลสต๊อกดี ?

แล้วถ้าคุณจัดการสต๊อกไม่เก่งละ ? จะทำอย่างไรดีเพราะบางทีก็ไม่รู้ว่าคำว่าการจัดการสินค้าDead Stock นั้นต้องมีสินค้าจำนวนเท่าไร สินค้าคงคลังมาแล้วนานกี่วัน กี่สัปดาห์ หรือกี่เดือนถึงจะเรียกว่าต้นทุนจม แล้วสินค้าค้างสต๊อกนั้นมีอะไรบ้าง

 

ZORT ตัวช่วยในการจัดการสินค้า Dead Stock ที่จะทำเรื่องยากให้ง่ายดายด้วยฟังก์ชันที่สามารถดูความเคลื่อนไหวของสินค้าในสต๊อกของคุณได้แม่นยำให้ทราบว่ามีสินค้า Dead Stock มีอะไรบ้างที่กำลังต้นทุนจม ค้างสต๊อกมาเป็นเวลานานด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบที่จะช่วยลดภาระงานเพิ่มเวลาให้คุณได้ไปโฟกัสและพัฒนาส่วนอื่น ๆ ของร้านไปพร้อมกับการจัดการสต๊อกที่ดีเป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

สต๊อกจม จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากคุณรู้วิธีการจัดการสต๊อกสินค้าที่ถูกต้อง หรือถ้าหากไม่มั่นใจกลัวจัดการพลาด ยังงง ๆ กับระบบก็มีผู้เชี่ยวชาญอย่าง ZORT ที่ช่วยให้ Desk Stock ของคุณไม่จมทุนอีกต่อไปด้วยระบบการจัดการบริการสต๊อกสินค้าที่ดีมีคุณภาพผ่านระบบที่ทดลองใช้จริงแล้วเห็นผลในลูกค้าหลายราย 

 

“ทีมงานหวังว่า ZORT จะทำให้คุณสามารถควบคุมสินค้าในสต๊อกไม่ให้เกิดสต๊อกจมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : 02-026-6423
อีเมล: support@zortout.com

Line: @zort

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x