5 เคล็ดลับเผด็จศึก ให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขายดี! มีตังค์ใช้!

188 views

บุกตะลุยเช็คเทรนด์การตลาด พร้อมหาเคล็ดลับสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อย่างไรให้ขายดี เงินปัง 2023?

 

ด้วยตัวเลขการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ที่ผ่านมานั้นมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งช่วยขยายสเกลของหลายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักตั้งแต่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็กอย่างชุมชน หรือธุรกิจ SME ให้กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะตลาดค่อนข้างแข่งขันกันอย่างดุเดือด แล้วเราจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง 

 

โดย ZORT จะขอพาคุณผู้อ่านที่กำลังสนใจทำธุรกิจ E-commerce ไปบุกตะลุยหาเคล็ดลับในการสร้างธุรกิจอย่างไรให้ขายดี มีตังค์ใช้ พร้อมแชร์ตัวอย่างธุรกิจที่เคยประสบความสำเร็จว่าเขามีการบริการจัดการธุรกิจอย่างไร ?

 

E-Commerce ธุรกิจสุดฮอตปี 2023

ก่อนอื่นมารู้จักกับนิยามของ E-Commerce ซึ่งเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ที่ในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งก็มาจากการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นและผู้คนเองก็ต้องการความสะดวกสบายซึ่งแค่เพียงโทรศัพท์มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถกดสั่ง พร้อมชำระเงินซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย 

 

และยิ่งในกลุ่มพ่อค้าแม่ขายที่เข้ามาในระบบออนไลน์ยิ่งช่วยให้คุณเปิดขายสินค้าได้ทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงจึงทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังพิ่มยอดขายแบบไม่ต้องลงทุนลงแรงมากนัก รวมถึงยังสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจแบบเรา ๆ ได้อีกหลายด้านเลยทีเดียว

 

6 เทรนด์ E-Commerce ที่กำลังมาแรงในปี 2023

 

โดยเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันในตลาด E-Commerce ที่คนสร้างแบรนด์ควรรู้จาก 6 เทรนด์หลัก ๆ ดังนี้ 

 

  1. Mobile Shopping มือถือไอเท็มที่พกไปทุกที่และได้รับความนิยมในการใช้สำหรับช้อปปิ้งอย่างต่อเนื่องมากกว่าผ่านคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เนื่องจากค่อนข้างสะดวกส่งผลต่อการออกแบบของเหล่านักการตลาดและคนที่เริ่มสร้างแบรนด์จะต้องคำนึงถึงการแสดงบนมือถือที่ในเมื่อก่อนวีดิโอมักจะเป็นแนวนอน แต่ควรจะปรับมาเป็นแนวตั้งเพื่อรองรับการใช้งานบนมือถือที่มากขึ้นและตอบโจทย์ผู้บริโภคให้เห็นถึงเนื้อหาด้วยภาพที่คมชัดได้รายละเอียดครบ

  2. Social Commerce ศูนย์รวมของผู้คนที่หลากหลายเหมาะกับธุรกิจเนื่องจากสามารถคอนเนคกับลูกค้าได้โดยตรงและเป็นส่วนตัว เช่น Tiktok, Facebook, Instagram หรือ Twitter เพื่อสร้างสัมพันธ์กับผู้ซื้อให้มีศักยภาพนำไปสู่การขายที่ตัวแพลตฟอร์มเองก็มีจุดเด่นเรื่อง Business ซึ่งช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนา หรือปรับปรุงให้มีประสิทฺธิภาพเพิ่มขึ้น

  3. Video Shopping แม้จะมีคอนเทนต์มากมาย แต่วีดิโอถือได้ว่าช่วยให้เข้าถึงการมีส่วนร่วมกับผู้ชมทั่วโลกได้ค่อนข้างรวดเร็วจึงมีการปรับมาเป็นกลยุทธ์ โดยการนำมาสร้างเทรนด์ต่าง ๆ ผ่าน Video shopping ที่เรารู้จักกันดีอย่างการ Live Stream การตัดต่อคลิปขายสินค้าแบบสั้น ๆ บน Tiktok หรือ Reel บน Instagarm  โดยจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าและมีผลต่อการตัดสินซื้อ หากคลิปที่ผลิตออกมามีระยะเวลาไม่นาน แต่ทำให้คนเข้าใจได้ตั้งแต่แวปแรกว่าขายอะไรและไม่อัดเนื้อหาแบบ Hard Sale มากเกินไป แต่มีความสนุก รู้สึกผ่อนคลายเมือรับชมจะยิ่งช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น
  4. New Paymentเปลี่ยนการชำระเงินแบบเดิม ๆ ที่ค่อนข้างช้า รอนาน กว่าจะชำระได้ทำให้ลูกค้าหงุดหงิดเลิกซื้อไปเสียก่อน ส่วนนึงก็คงต้องยอมรับว่าในปัจจุบันผู้คนช้อปปิ้งออนไลน์เป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบชำระเงินให้ลูกค้าชำระเงินได้รวดเร็วและง่ายในขณะที่กำลังช้อปอยู่จะยิ่งช่วยให้มีการจ่ายชำระที่เร็วขึ้น เช่น การใช้กระเป๋าเงินบนมือถือ เช่น Apple Pay, Google Pay และ Samsung Pay ที่ค่อนข้างมีการจัดเก็บข้อมูลการชำระเงินที่ปลอดภัยและรวดเร็ว รวมถึง wallet ต่าง ๆ เช่น True money, Dolfin Airpay, Rabbit play เป็นต้น
  5. Personalization กลุ่มเป้าหมายในการสร้างแบรนด์ในปัจจุบันอาจจะไม่ได้เจาะแบบกลุ่ม แต่เป็นการปรับเพื่อให้รู้จักลูกค้าแต่ละคนว่ามีความชอบ ความสนใจ หรือความต้องการของพวกเขาแบบไหน โดยพวกเขาต้องการรับประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร ให้ความเป็นส่วนตัวเพื่อสร้างความภักดีของลูกค้าซึ่งสามารถทำได้โดยวิธีที่หลากหลาย อาทิ การใช้ตั้งค่าส่วนตัวเพื่อส่งอีเมล์แบบกำหนดเอง แจ้งเตือนแบบพุช หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด

  6. Inflation กลายเป็นตัวตึงที่สร้างผลกระทบต่ออีคอมเมิร์ชอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเมื่อราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น การซื้อสินค้าก็ย่อมน้อยลงและผู้ค้าปลีกต่าง ๆ ก็ต้องมีรายได้ลดลงทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกและแบรนด์ รวมถึงตัวผู้บริโภคเองก็พยายามหาโค้ดส่วนลด ดีลต่าง ๆ หรือวิธีอื่น ๆ ในราคาประหยัดจึงนำไปสู่ความอ่อนไหวต่อราคา หากยิ่งราคาสูงยิ่งไม่เต็มใจซื้อนั่นเอง 

 

 

 

 

5 เคล็ดลับสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อย่างไรให้ขายดี เงินปัง

และขอทิ้งท้ายเอาใจคนที่กำลังสร้างแบรนด์บนอีคอมเมิร์ชผ่าน 5 เคล็ดลับสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่จะทำ อย่างไรให้ขายดี เงินปัง ธุรกิจประสบคามสำเร็จ?

 

  1. เลือกหาสินค้าให้ตรงเทรนด์และตรงใจลูกค้า เพราะหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ คือ สินค้า หรือ Product ซึ่งต้องเริ่มสำรวจตลาด ดูเทรนด์โดยอาศัยตัวช่วยอย่าง Google Trends, Social Media, Pantip หรือเว็บบอร์ดต่าง ๆ ในการดูสินค้า หากลุ่มเป้าหมาย ศึกษาตลาดว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่

  2. รู้จักคู่แข่ง แน่นอนว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ยังนำไปใช้ในการศึกษาตลาดของคู่แข่งว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดและเราเองมีความพร้อมในการแข่งขันไหมซึ่งหากตลาดที่เลือกน่าสนใจจริง ๆ ก็ต้องเริ่มต้นวางแผน หากลยุทธ์ที่สร้างจุดแข็งที่เหนือกว่าและแตกต่างเพื่อให้เราตีตลาดได้อย่างอยู่หมัด

  3. สินค้าของคุณหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป..ใช่หรือไม่? หากตอบว่า “ใช่” ก็จะต้องทำการบ้านเพิ่มขึ้นโดยต้องศึกษาหาความเป็นไปได้ หรือหาเทคนิคการขายที่แตกต่าง แต่ถ้าหากไม่ได้ สินค้ายังหาง่ายได้ตามสะดวกซื้อทั่วไปและหาความแตกต่างยังไม่เจอ แนะนำให้เปลี่ยนสินค้า หรือหาทางเลือกใหม่เพื่อที่ลงทุนไปแล้วจะได้ไม่จมทุน

  4. ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แม้จะเป็นเรื่องที่เน้นย้ำกันเสมอทุกกลุ่มธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นขายสินค้าว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นใคร? เพื่อให้เรานั้นเข้าใจว่าพฤติกรรมคนกลุ่มนี้ว่าพวกเขามีไลฟ์สไตล์แบบไหน ความนิยมในการซื้อขายออนไลน์ ความสามารถในการใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น นาย A ต้องการขายเสื้อผ้า โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้คือ กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งมีอายุระหว่าง 15 – 23 ปีซึ่งเด็กในกลุ่มนี้จะอยู่ในช่วงมัธยมไปจนถึงมหาลัย การตั้งราคาขายจึงต้องไม่สูงมากเนื่องจากพวกเขายังไม่มีรายได้และควรให้ชำระเงินแบบเงินโอน (Mobile Banking) ที่ค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีกว่าการตัดผ่านบัตรเครดิต

    TIP! การตั้งกลุ่มเป้าหมายจึงต้องมีการศึกษา เรียนรู้และปรับวิธีการขายเพื่อให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มลูกค้า

  5. เลือกช่องทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ที่ในปัจจุบันนั้นมีช่องทางสื่อสารให้เลือกหลายรูปแบบจึงต้องมีการศึกษาหาจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละช่องทางและเลือกช่องทางที่ลูกค้าสะดวกคุย ตอบโต้กันอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะมีการปรับปรุงช่องทางการตอบคำถามลูกค้าให้เร็วมากขึ้นซึ่งที่นิยมใช้จะเป็น ChatLive, Chatbot ที่ตอบคำถามเบื้องต้นได้ฉับไว ได้ใจลูกค้าไปเลย

 

 

การทำธุรกิจ E-Commerce ให้ประสบความสำเร็จ จะเริ่มต้นมาจากการเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจที่ในปัจจุบันการขายออนไลน์เติบโตขึ้นเป็นจำนวนมากและคนทำธุรกิจต้องโฟกัสกับ 6 เทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยม รวมถึง 5 เคล็ดลับในการสร้างธุรกิจที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ตั้งแต่หาสินค้า รู้จักคู่แข่ง เข้าใจตลาด เลือกกลุ่มเป้าหมายและสุดท้ายคือการเลือกช่องทางการสื่อสารที่จะช่วยแบรนด์ของคุณกลายเป็นที่รู้จัก กระตุ้นยอดขายและสร้างรายได้มากขึ้น

 

โดยในช่วงแรกที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์อยากให้โฟกัสกับ “สินค้า” ในงานส่วนอื่น ๆ สามารถเรียก ZORT ซึ่งเป็นระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้ามาช่วยจัดการทั้งออเดอร์สั่งซื้อ การสรุปยอดขาย บริหารสต๊อกสินค้าที่ง่ายครบจบในระดับเดียว

 

อีกหนึ่งความพิเศษคือ ZORT สามารถเชื่อมต่อกับ Social Commerce อย่าง Facebook Messenger ช่องทาง Marketplace อย่าง Lazada, Shopee ช่องทาง Social Commerce อย่าง Woocommerce, Shopify, KETSHOP Web ให้ร้านค้าของคุณกลายเป็นที่รู้จั

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

โทร : 02-026-6423
อีเมล:[email protected]

Line: @ZORT

 

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x