1. ไปที่เมนู “ตั้งค่า” หัวข้อ “บริษัท/ร้านค้า”
2. เลือกหัวข้อ “ตั้งค่าโปรแกรม”
ตั้งค่าโปรแกรม #
การตั้งค่าส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
A. การตั้งค่าจัดการสินค้า #
· คลังสินค้า/สาขาหลัก : ใช้สำหรับตั้งค่าคลังสินค้าหลักในระบบ โดยสามารถเปลี่ยนได้สูงสุด 3 ครั้ง
· จัดการสินค้า >> สินค้าคงเหลือติดลบได้ / สินค้าพร้อมขายติดลบได้ : ใช้สำหรับตั้งค่าให้จำนวนสินค้าติดลบได้ หรือสำหรับการขายสินค้าพรีออเดอร์
· แก้ไขรายการที่สำเร็จได้ : ใช้ในการตั้งค่าให้สามารถแก้ไขรายการที่สำเร็จแล้วได้
· วันหมดอายุรายการขาย : ใช้ในการตั้งค่ากำหนดวันหมดอายุของรายการขาย หรือระบุวันที่ครบกำหนดการสั่งซื้อ
B. ตั้งค่าการแจ้งเตือน #
กำหนดการแจ้งเตือนจำนวนสินค้าคงเหลือขั้นต่ำ : ซึ่งเมื่อถึงจำนวนที่ตั้งค่าไว้ ระบบจะมีแจ้งเตือนหรือเปลี่ยนสีตรงจำนวนสินค้าเป็นสีเหลือง และสีแดงตามลำดับ โดยการตั้งค่าส่วนนี้จะใช้สำหรับสินค้าทุกรายการในระบบ
C. ตั้งค่าการคำนวณบัญชี #
กำหนดการตั้งค่าการคำนวณข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในหน้ารายงาน เช่น ยอดขาย, กำไรในระบบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
· ภาษีมูลค่าเพิ่ม : กำหนดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นค่าเริ่มในรายการซื้อ – ขาย
· การคำนวณกำไรขั้นต้น : การตั้งค่าการคำนวณกำไรในระบบ โดยสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ คือ
1. Moving Average (คำนวณแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (คำนวณเมื่อโอนสินค้าแล้ว))
2.FIFO (first in first out) (คำนวณแบบเข้าก่อน ออกก่อน (คำนวณเมื่อโอนสินค้าแล้ว)
สามารถดูวิธีการคำนวณในรูปแบบต่าง ๆ ได้ที่ คู่มือ การคิดกำไรแบบ Moving Average และ FIFO
***ทั้งนี้แนะนำร้านค้าปรึกษากับทางฝ่ายบัญชีได้โดยตรงว่าต้องเลือกคำนวณตามรูปแบบใด***
· ตั้งค่าคำนวณกำไรอ้างอิงวันที่รายการ : กำหนดวันที่ที่ใช้ในการคำนวณกำไร โดยหากไม่ติ๊กเลือกระบบจะคำนวณกำไรตามวันที่ที่โอนสินค้า
· การคำนวณต้นทุนสินค้า : การคำนวณต้นทุนสินค้า ซึ่งต้นทุนสินค้านั้นระบบจะนำมาจากราคาในรายการซื้อสินค้าหรือต้นทุนตอนทำการปรับจำนวนสินค้า ซึ่งหากต้องการนำค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มาคำนวณต้นทุนด้วย สามารถตั้งค่าเลือกเพิ่มเติมได้ 3 แบบ ดังนี้
1. รวมค่าส่งในต้นทุน/กำไร
ระบบจะกระจายค่าส่งที่เรียกเก็บจากลูกค้า โดยจะกระจายไปเป็นราคาขายของสินค้า ซึ่งจะเฉลี่ยตามราคาสินค้านั้น ๆ
2. กระจายต้นทุน/กำไรจากส่วนลด, คำส่ง, รายได้จาก Platform
ระบบจะกระจายส่วนลด, ค่าส่ง, และรายได้จาก Platform (เป็นค่ารายได้ที่มาจาก Marketplace) เพื่อใช้ในการคำนวณกำไร
ฝั่งรายการขาย จะกระจายส่วนลด, ค่าส่ง, รายได้ platform โดยจะกระจายไปเป็นราคาขายของสินค้า ซึ่งจะเฉลี่ยตามราคาสินค้านั้น ๆ
ฝั่งรายการซื้อ และรับคืน จะกระจายส่วนลด, ค่าส่ง, รายได้ platform โดยจะกระจายไปเป็นราคาต้นทุนของสินค้าเฉลี่ยตามราคาสินค้านั้น ๆ
3. กระจายต้นทุนจากค่าใช้จ่ายอื่น
ระบบจะนำค่าใช้จ่ายอื่นในรายการขายมาคำนวณเป็นต้นทุนสินค้า เช่น ขายสินค้าราคา 100 ต้นทุน 70 บาท บันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 20 บาท ต้นทุนรวมจะเป็น 90 บาท
4. กระจายกำไรการขายจากค่าใช้จ่ายอื่น
ระบบจะนำค่าใช้จ่ายอื่นในรายการขายมาคำนวณเป็นกำไร เช่น ขายสินค้าราคา 100 บาท ต้นทุน 70 บาท กำไรจากการขายจะเป็น 30 บาท
5. คำนวณต้นทุนรายการรับคืนจากต้นทุนรายการขาย
หากไม่ติ๊กเลือก เมื่อมีการทำรายการรับคืนสินค้า ระบบจะนำราคาสินค้าที่ใส่ในรายการรับคืน มาคำนวณเป็นต้นทุนสินค้าที่มีการขายในรอบถัดไป
หากติ๊กเลือก เมื่อมีการทำรายการรับคืนสินค้า ระบบจะคืนต้นทุนสินค้าเข้าระบบให้ เมื่อมีการทำขายในครั้งถัดไป การคำนวณกำไรจะใช้ต้นทุนเดิม
· การคำนวณยอดขาย : การตั้งค่าเลือกสถานะ และวันที่ที่ใช้ในการคำนวณยอดขาย โดยการคำนวณยอดขายจะสามารถเลือกการคำนวณได้ 2 รูปแบบ คือ
1. คำนวณจากการชำระเงิน ยอดขายจะคำนวณจากรายการขายที่ชำระเงินแล้วเท่านั้น (รายการขายสถานะเป็นรอโอน หรือสำเร็จ และการชำระเงินต้องเป็นชำระครบ)
ซึ่งจะสามารถเลือกวันที่ที่ต้องการคำนวณได้ 2 แบบ คือ
1.1 อ้างอิงวันที่รายการขาย : วันที่ที่ลูกค้าสั่งซื้อ หรือวันที่ของรายการขาย
1.2 อ้างอิงวันที่ชำระเงิน : วันที่ที่ลูกค้าชำระเงิน
2. คำนวณจากการโอนสินค้า ยอดขายจะคำนวณจากรายการขายที่โอนสินค้า หรือส่งสินค้าแล้วเท่านั้น (รายการขายสถานะเป็นสำเร็จ และการชำระเงินเป็นรอชำระหรือชำระครบ)
ซึ่งจะสามารถเลือกวันที่ที่ต้องการคำนวณได้ 2 แบบ คือ
2.1 อ้างอิงวันที่รายการขาย : วันที่ที่ลูกค้าสั่งซื้อ หรือวันที่ของรายการขาย
2.2 อ้างอิงวันที่โอนสินค้า : วันที่ที่มีการโอนสินค้า หรือส่งสินค้า
· มูลค่าสินค้าคงเหลือ : การตั้งค่าคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือในระบบ โดยสามารถคำนวณได้ 2 แบบดังนี้
1. อ้างอิงจากราคาทุนเฉลี่ย : ราคาในรายการซื้อสินค้า หรือราคาจากรายการปรับจำนวนสินค้ามาหารค่าเฉลี่ยกับจำนวนสินค้าที่มี (ไม่ใช่ต้นทุนเฉลี่ยที่แสดงในหน้าสินค้า)
2. อ้างอิงจากราคาซื้อ : ราคาซื้อที่ลงในหน้าสินค้า
สำหรับร้านค้าที่ต้องการเปิดใช้งานฟังก์ชั่นใบเสนอราคาที่เมนูรายการขาย สามารถติ๊กเปิดการใช้งานได้เลย
E. การแพ็คสินค้า
1. รายการขายสำเร็จ เมื่อแพ็คสินค้าครบ : ระบบจะเปลี่ยนสถานะรายการขายเป็นสำเร็จ เมื่อมีการแพ็คสินค้าเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ติ๊กเลือกส่วนนี้ เมื่อผู้ใช้งานทำการแพ็คสินค้า สถานะรายการขายจะเปลี่ยนเป็นแพ็คแล้ว
2. หน้าแพ็คสินค้า ต้องเข้าสู่ระบบก่อนใช้งาน : หากผู้ใช้งานต้องการเข้าใช้หน้าแพ็คสินค้า ผู้ใช้งานจำเป็นต้องล็อกอินต้องเข้าสู่ระบบก่อนใช้งาน แต่ถ้าไม่ติ๊กเลือกส่วนนี้ ผู้ใช้งานจะสามารถใช้ฟีเจอร์แพ็คสินค้าได้โดยไม่ต้อง Log In หรือเข้าสู่ระบบ
F. ตั้งค่าการแสดงผล สามารถเลือกตั้งค่าได้ ดังนี้
1. การตั้งค่าแสดงสถานะการจัดส่ง : ตั้งค่าแสดงคอลัมวันที่จัดส่งในหน้าดูรายการขาย
2. แสดงช่องทางการขาย : แสดงคอลั้มช่องทางการขายในหน้าดูรายการขาย
3. กำหนดล็อตอัตโนมัติ เมื่อขายสินค้าออก : เพื่อให้ระบบใส่ล็อต สินค้าให้อัตโนมัติ เมื่อมีการสร้างรายการขาย
4. อนุมัติแจ้งชำระเงินจากลูกค้าอัตโนมัติ : เมื่อลูกค้า/ผู้ซื้อ แจ้งชำระเงินผ่านลิงค์ (share link, หน้าสั่งซื้อ, หน้า sale page) ระบบจะอนุมัติการชำระเงินทันที และสถานะรายการขายเปลี่ยนเป็นชำระครบให้อัตโนมัติ ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบการชำระเงินได้
5. แนบสลิป เมื่อลูกค้าแจ้งชำระเงิน : ตั้งค่าบังคับการแนบสลิป เมื่อมีการชำระเงินผ่านลิงค์ (share link, หน้าสั่งซื้อ, หน้า sale page)
สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 02-026-6423
Line: @zort