วิธีการใช้งาน VAT/ NO VAT ในรายการซื้อ/ ขาย/ คืนและรับคืนสินค้า

ฟังก์ชั่น VAT/ NO VAT เหมาะสำหรับธุรกิจที่จำหน่ายทั้งสินค้าที่มีภาษีและไม่มีภาษี เช่น ธุรกิจพืชผลทางการเกษตร อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง เป็นต้น สำหรับร้านค้าที่สนใจใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าวในรายการซื้อขายต่าง ๆ บนระบบ ZORT สามารถทำขั้นตอนด้านล่างได้ดังนี้

 

VAT/ NO VAT จะมีผลกับรายการดังต่อไปนี้

1. รายการซื้อ

2. รายการขาย

3. รายการคืนสินค้า

4. รายการรับคืนสินค้า

 

***ในคู่มือนี้จะเป็นตัวอย่างการสร้างรายการขาย***

 

1. ไปที่เมนู “รายการขาย” หัวข้อ “ดูรายการขาย”

2. กดปุ่ม “สร้าง”

 

 

3. เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ

4. ระบบจะคำนวณภาษีตามสินค้าและประเภทภาษีที่เลือกเอาไว้

 

 

5. เมื่อกรอกข้อมูลรายการขายเรียบร้อยแล้ว ให้กด “บันทึก”

 

 

 

6. ระบบจะสร้างรายการขายขึ้นมา โดยจะแสดงช่องคอลัมน์ภาษีให้ด้วย

 

 

การคำนวณ VAT/ NO VAT แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

 

1) การคำนวณ VAT/ NO VAT กรณีทั่วไป

 

ยกตัวอย่างเช่น สร้างรายการขายสินค้า A ราคา 100 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สินค้า B ราคา 100 บาท ไม่มีภาษี และสินค้า C ราคา 100 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%

· สีน้ำเงิน : ระบบจะนำเฉพาะรายการสินค้าที่มีภาษีมาคำนวณในช่อง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%)” เช่น สินค้า A ราคา 100 บาท ระบบคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 6.54 บาท มูลค่าก่อนรวมภาษี 93.46 บาท มูลค่ารวม 100 บาท

· สีเหลือง : รายการสินค้าที่ไม่มีภาษี จะแสดงข้อมูลอยู่ในช่อง “มูลค่ารายการไม่มีภาษี” เช่น สินค้า B ราคา 100 บาท จะแสดงข้อมูลมููลค่ารายการไม่มีภาษี 100 บาท

· สีเขียว : รายการสินค้าที่มีภาษี 0% จะแสดงข้อมูลอยู่ในช่อง “มูลค่ารายการภาษี 0%” เช่น สินค้า C ราคา 100 บาท จะแสดงข้อมูลมูลค่ารายการภาษี 0% 100 บาท

 

 

2) การคำนวณ VAT/ NO VAT กรณีใส่ส่วนลดต่อหน่วย

ยกตัวอย่างเช่น สร้างรายการขายสินค้า A ราคา 100 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มีส่วนลดต่อหน่วย 10 บาท ยอดรวมเป็น 90 บาท ระบบจะคำนวณภาษีจากยอดสินค้า 90 เท่านั้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 5.89 บาท มูลค่าก่อนรวมภาษี 84.11 บาท มูลค่ารวม 90 บาท

 

 

 

 

3) การคำนวณ VAT/ NO VAT กรณีใส่ส่วนลดท้ายบิล

 

กรณีใส่ส่วนลดท้ายบิล ระบบจะคำนวณส่วนลดแบบเฉลี่ยตามจำนวนรายการสินค้าที่เลือกไว้ เช่น มีรายการสินค้า 3 รายการ ราคา 100 บาท ใส่ส่วนลดท้ายบิล 90 บาท ระบบจะคำนวณได้ดังนี้ ส่วนลด 90/3 รายการ = 30 บาท แบ่งออกเป็น

· สินค้า A ราคา 100 – 30 = 70 บาท

· สินค้า B ราคา 100 – 30 = 70 บาท

· สินค้า C ราคา 100 – 30 = 70 บาท

***ระบบจะคำนวณภาษีจากยอดหลังหักส่วนลดท้ายบิลแล้ว จากตัวอย่างจะคำนวณจากยอด 70 บาท***

 

ยกตัวอย่างเช่น

· สีน้ำเงิน : สินค้า A ราคาหลังหักส่วนลดท้ายบิล คือ 70 บาท ระบบคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 4.58 บาท มูลค่าก่อนรวมภาษี 65.42 บาท มูลค่ารวม 70 บาท

· สีเหลือง : สินค้า B ราคาหลังหักส่วนลดท้ายบิล คือ 70 บาท จะแสดงข้อมูลมููลค่ารายการไม่มีภาษี 70 บาท

· สีเขียว : สินค้า C ราคาหลังหักส่วนลดท้ายบิล คือ 70 บาท จะแสดงข้อมูลมูลค่ารายการภาษี 0% 70 บาท

· สีแดง : ส่วนลดท้ายบิล 90 บาท

 

 

4) การคำนวณ VAT/ NO VAT กรณีใส่ค่าส่ง

· กรณีใส่ค่าส่งทั่วไป ระบบจะนำค่าส่งคำนวณรวมกับ “มูลค่ารายการที่ไม่มีภาษี” เช่น รายการสินค้า B ราคา 100 บาท ใส่ค่าส่ง 20 บาท ระบบจะนำค่าส่ง 20 บาทไปรวมกับสินค้า B 100 บาท ทำให้ช่องมูลค่ารายการสินค้าไม่มีภาษีแสดงจำนวนเป็น 120 บาท

 

 

· กรณีใส่ค่าส่งแบบมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบจะนำค่าส่งมาคำนวณรวมกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่น สินค้า A ราคา 100 บาท ใส่ค่าส่ง 20 บาทและติ๊กมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบจะนำค่าส่งไปรวมกับสินค้า A 100 บาท เป็นมูลค่ารวม 120 บาท ทำให้ช่องภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณีเป็น 7.85 บาท และมีมูลค่ารวมก่อนภาษีเป็น 112.15 บาท

 

 

ตัวอย่างการแสดงผล VAT/ NO VAT บนเอกสารแบบทั่วไป

 

 

ตัวอย่างการแสดงผล VAT/ NO VAT บนเอกสารแบบฟอร์มใบกำกับภาษี

 

 

วิธีคำนวณหัก ณ ที่จ่าย กรณีกดเพิ่มการชำระเงินรายการที่มี VAT/ NO VAT

 

ในการคำนวณหัก ณ ที่จ่าย ระบบจะคำนวณจากมูลค่ารวมก่อนภาษีเท่านั้น เช่น สินค้า A ราคา 100 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มาคำนวณหัก ณ ที่จ่าย กรณีหากเป็นสินค้าที่ไม่มีภาษีหรือมีภาษี 0% ระบบจะนำจำนวนเต็มมาคำนวณหัก ณ ที่จ่าย

 

 

ตัวอย่างการหัก ณ ที่จ่าย

 

 

 

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line: @zort

โทร 02-026-6423