3. หลังจากนั้นจะปรากฏการสร้างรายการขายตามภาพด้านล่างนี้
4. กรอกข้อมูลการซื้อสินค้าทั้ง 7 ส่วน
A ข้อมูลของเอกสาร จะแสดงข้อมูในส่วนของเลขที่รายการขาย วันที่สร้างรายการ วันหมดอายุรายการ เลขอ้างอิง ช่องทางการขาย ประเภทภาษีและตัวแทนจำหน่าย (หากมี)
B ข้อมูลของลูกค้า จะแสดงในส่วนของชื่อลูกค้า รหัสลูกค้า เบอร์โทรศัพท์ อีเมลและที่อยู่ลูกค้า
กรณีอยากทราบว่าลูกค้าท่านนี้เคยสั่งซื้อสินค้ารายการขายใดบ้าง ให้คลิกที่ไอคอน “ดูรายการขาย” ระบบจะแสดงข้อมูลรายการขายก่อนหน้านี้ขึ้นมาให้จำนวน 10 รายการ (คลิกเลือกข้อมูลลูกค้าก่อนกดดูรายการขายเดิม)
ตัวอย่างข้อมูลรายการขายก่อนหน้านี้ (ดูรายการขายย้อนหลังได้ 10 รายการเท่านั้น)
C ข้อมูลสินค้า สามารถเลือกสินค้า ช่องทางการจัดส่ง หรือใส่หมายเหตุ ส่วนลดท้ายบิล ค่าส่งเพิ่มเติมได้
D ข้อมูลที่อยู่ผู้รับ กรณีที่อยู้ผู้ติดต่อกับผู้รับเป็นคนละที่กัน สามารถใส่ที่อยู่เพิ่มเติมตรงนี้ได้
E ข้อมูลการจัดส่งสินค้า สามารถกำหนดวันที่ส่งสินค้าได้
F ข้อมูลการชำระเงิน หากลูกค้าชำระเงินแล้วมาแล้วสามารถกดเพิ่มการชำระเงิน หากต้องการแนบสลิปหรือหลักฐานการชำระเงิน ผู้ใช้งานสามารถแนบรูปภาพได้เลย
G ข้อมูลคลังสินค้า/สาขา เลือกสถานะเป็นรอโอนหรือโอนทันที และระบุคลังสินค้าได้
5. หลังจากบันทึก จะปรากฏรายการขายตามภาพด้านล่างนี้
(2) สร้างรายการขายแบบย่อ (สร้างอย่างง่าย) #
ใช้สำหรับรายการขายที่ไม่ต้องการลงรายละเอียดลูกค้า หรือสถานะรายการต่าง ๆ
1. ไปที่เมนู “รายการขาย” หัวข้อ “ดูรายการขาย”
2. กด “สร้างอย่างง่าย”
3. กรอกข้อมูลสินค้า ช่องทางชำระเงินและคลังสินค้าให้ครบถ้วน
4. กด “บันทึก”
5. หลังจากบันทึก จะปรากฏรายการขายตามภาพด้านล่างนี้
(3) สร้างรายการขายจากไฟล์ Excel (นำเข้าไฟล์ Excel) #
การสร้างรายการขายจากไฟล์ Excel จะต้องดาวน์โหลด template จากระบบเพื่อนำเข้าข้อมูล ตามรูปแบบที่ระบบกำหนดเท่านั้น
1. ไปที่เมนู “รายการขาย” หัวข้อ “ดูรายการขาย”
2. กด “นำเข้าไฟล์ (Excel)”
3. เลือก “นำเข้าเข้ารายการใหม่”
4. ดาวน์โหลดไฟล์ template
5. กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
6. กดนำเข้าไฟล์
7. กด “บันทึก”
Notes:
- กรณีร้านค้าสร้างรายการขายแบบไม่เก็บเงินปลายทาง (non-COD) จะเรียกขนส่งได้เฉพาะแบบไม่เก็บเงินปลายทางเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น “เก็บเงินปลายทาง” ในหน้าเรียกขนส่งได้
ตัวอย่างรายการขายแบบไม่เก็บเงินปลายทาง
ตัวอย่างการเรียกขนส่งของรายการขายแบบไม่เก็บเงินปลายทาง
- กรณีร้านค้าสร้างรายการขายแบบเก็บเงินปลายทาง (COD) จะเรียกขนส่งได้เฉพาะแบบเก็บเงินปลายทางเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น “ไม่เก็บเงินปลายทาง” ในหน้าเรียกขนส่งได้
ตัวอย่างรายการขายแบบเก็บเงินปลายทาง
ตัวอย่างการเรียกขนส่งของรายการขายแบบเก็บเงินปลายทาง
- หากร้านค้าต้องการเปลี่ยนรูปแบบ จะต้องกลับมาแก้ไขที่หน้ารายการขายเท่านั้น
- ร้านค้าสามารถกดเรียกขนส่งแบบ COD และ non-COD พร้อมกันได้
เพียงเท่านี้ ร้านค้าก็สามารถสร้างรายการขายบนระบบ ZORT ได้แล้ว