การเชื่อมต่อและตั้งค่าของระบบ ZORT กับ Lazada

สำหรับการเชื่อมต่อระบบ ZORT และ Lazada สามารถทำตาม 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 

 

1) เตรียมสต็อกให้พร้อม ร้านค้าจะต้องเปลี่ยนรหัสสินค้าใน ZORT และ Lazada ให้ตรงกั 100% และสินค้าใน ZORT จะต้องมีสต็อกให้เรียบร้อย เพราะเวลาเชื่อมต่อระบบจะดึงสต็อกทันที 

2) เชื่อมต่อ หลังจากเตรียมสต็อกเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดเชื่อมต่อ Lazada เข้ากับ ZORT 

3) ตั้งค่า เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดแก้ไขเพื่อตั้งค่าการส่งและอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ  

4) อัพเดท กดปุ่มอัพเดทเพื่อทำการ Sync สต็อกและข้อมูล 

 

วิธีการเชื่อมต่อ Lazada เข้ากับ ZORT

เมื่อเตรียมสต็อกในขั้นตอนที่ 1) เรียบร้อยแล้ว สามารถทำการเชื่อมต่อตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย 

1. ไปที่เมนู “ตั้งค่า” หัวข้อ “เชื่อมต่อบริการอื่น”

2. กด “เพิ่มการเชื่อมต่อ”

 

 

3. เลือก “Marketplace

4. เลือกประเภทเป็น “Lazada

5. กด “Connect to Lazada

 

 

 

6. ตั้งชื่อร้าน แล้วกด “Save” (กรณีที่มีหลายร้านแนะนำให้ระบุชื่อร้านไปด้วยเพื่อง่ายในการตรวจสอบว่าออเดอร์มาจากร้านค้าใด)

 

 

7. เมื่อตั้งชื่อร้านค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏหน้าต่างให้ทำการอัพเดทให้เลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่าง จะเจอกับหน้ารายการสรุปการตั้งค่าปัจจุบันของเรา หากต้องการเปลี่ยน สามารถคลิกที่ปุ่ม “แก้ไข” ที่มุมบนขวา

 

 

8. เมื่อคลิกปุ่มแก้ไข จะปรากฏหน้าต่างสำหรับตั้งค่าขึ้นมา

การตั้งค่าการส่งข้อมูลสินค้าจาก ZORT ไปที่ Lazada สามารถตั้งค่าได้ดังนี้

1. อัพเดทข้อมูลสินค้าไป Lazada

การส่งข้อมูลสินค้า ได้เเก่ ชื่อสินค้า ราคาขาย รายละเอียดสินค้า น้ำหนัก เมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงข้อมูลดังกล่าวบนระบบ ZORT

2. อัพเดทจำนวนไป Lazada

การส่งจำนวนสินค้าไปยังระบบ Lazada เมื่อจำนวนสินค้าบนระบบ ZORT มีการเปลี่ยนเเปลง

· เลือกประเภทจำนวนที่ต้องการอัพเดท: การส่งจำนวนสินค้านั้น จะสามารถเลือกได้ว่าจะส่งจำนวนสต็อกคงหลือ หรือสต็อกพร้อมขายขึ้นไป

· สินค้าจองโปรโมชั่น: เมื่อมีการจัดโปรโมชั่นหรือ Flashsale บนแพลตฟอร์มสามารถตั้งค่าให้ Zort กันสต็อกสินค้าที่ขายในโปรโมชั่นนั้น ๆ ได้ หากมีสินค้าเหลือจากโปรโมชั่นระบบจะคืนเข้าสต็อกพร้อมขายตามปกติ

· เลือกคลัง/ สาขาที่ต้องการอัพเดทจำนวนสินค้า สามารถเลือกได้ว่าจะนำสต็อกจากคลังสินค้าใดขึ้นไปแสดงบนแพลตฟอร์ม

 

 

สำหรับการตั้งค่าสถานะรายการขายที่มาจากระบบ Lazada สามารถตั้งค่าสถานะได้ ดังนี้

1. นำเข้ารายการขายจาก Lazada สามารถเลือกนำเข้ารายการทั้งหมดเพื่อให้การตัดสต็อกใน ZORT และ Lazada สอดคล้องกัน หรือเลือกนำเข้ารายการที่ชำระเงินและรายการ COD ได้

· ประเภทภาษี สามารถเลือกตามรายการขายจากแพลตฟอร์ม หรือรวมภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากมีค่าส่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้านค้าสามารถติ๊กที่ช่องเพื่อเปิดใช้งาน

· ชื่อสินค้า สามารถเลือกใช้เป็นชื่อตามรายการขายของแพลตฟอร์ม หรือชื่อสินค้าใน ZORT ได้

 

 

2. ตั้งค่าสถานะรายการทั่วไป เมื่อรายการขายจาก Lazada ถูกดึงมาที่ระบบ ZORT สถานะรายการสามารถตั้งค่าได้ ดังนี้

· ตั้งค่าเป็นรอโอนสินค้า: รายการขายจะมีสถานะเป็น “รอโอน” ทางร้านจะต้องมาเปลี่ยนสถานะรายการขายที่ระบบ ZORT อีกครั้งด้วยตนเอง

· ตั้งค่าเป็นโอนทันทีจากคลังสินค้า : สถานะรายการขายที่เข้าใน ZORT จะเปลี่ยนสถานะเป็น “สำเร็จ” ทันที ถึงแม้ทางร้านค้าจะยังไม่ได้จัดส่งสินค้าออกไปก็ตาม

· ตั้งค่าเป็นอัตโนมัติ : สถานะรายการขายจะอ้างอิงจาก shopee เช่น เมื่อมีการกดเรียกขนส่ง จะเปลี่ยนสถานะจาก “รอโอน” เป็น “รอส่ง” อัตโนมัติ ทำให้ทางร้านค้าไม่ต้องปรับสถานะเอง

คลัง/สาขาของรายการถูกยกเลิก (เฉพาะรายการที่ตั้งค่าสถานะอัตโนมัติเท่านั้น) เมื่อรายการขายถูกยกเลิก (ทุกกรณี ) ระบบจะคืนจำนวนสินค้าไปยังคลังที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถเลือกตั้งค่าได้ว่าจะให้ระบบยกเลิกรายการอย่างเดียว หรือยกเลิกรายการแล้วสร้างรายการรับคืนสินค้าด้วย

 

 

3. ตั้งค่าสถานะการชำระเงิน สถานะการชำระเงินของรายการขายที่ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบของ Lazada

· ตั้งค่าเป็นรอชำระ : สถานะการชำระเงินของรายการขาย จะเเสดงเป็น “รอชำระ” ซึ่งทางร้านจะต้องมากดเปลี่ยนสถานะรายการชำระเงินที่หน้าระบบ ZORT อีกครั้งด้วยตนเอง

· ตั้งค่าเป็นชำระครบ : สถานะการชำระเงินของรายการขาย จะเเสดงเป็นชำระครบทันที

· ตั้งค่าเป็นอัตโนมัติ : สถานะการชำระเงินจะเปลี่ยนสถานะตาม Lazada เช่น ถ้าลูกค้าชำระเงินเข้ามา สถานะจะเปลี่ยนจาก “รอชำระ” เป็น “ชำระครบ” อัตโนมัติ

ในส่วนของการตั้งค่าการชำระเงิน สามารถเลือกดึงข้อมูลช่องทางการชำระเงินได้ ดังนี้

1) ดึงข้อมูลช่องทางการชำระเงินจาก Lazada ระบบจะดึงช่องทางการชำระเงินใน Lazada เข้ามาใน Zort ทุกช่องทาง

2) กำหนดช่องทางการชำระเงิน เป็นการกำหนดชื่อช่องทางการชำระเงินจาก Lazada ซึ่งจะเป็น 1 ช่องทางการชำระเงิน/ 1 แพลตฟอร์ม เมื่อระบบดึงช้อมูลเข้ามาจะแสดงชื่อช่องทางตามที่ร้านค้าตั้งค่าเอาไว้

 

 

4. ตั้งค่าสถานะการเงิน

· อัพเดทคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระบบจะมีการอัพเดทเข้ามาให้ว่าทางแพลตฟอร์มจะมีค่าคอมมิชชั่นหรือหักค่าใช้จ่ายอะไรออกไปจากมูลค่าของแต่ละออเดอร์บ้าง

5. ตั้งค่าข้อมูลการโอนเงินจาก Marketplace

· นำเข้าข้อมูลการโอนเงินอัตโนมัติ สามารถติ๊กเลือกให้ระบบนำเข้าข้อมูลการโอนเงินแบบอัตโนมัติได้

6. ลูกค้า

· ดึงข้อมูลลูกค้าจาก Lazada ข้อมูลลูกค้าจะเป็นไปตามรายการขายที่เข้ามา ซึ่งจะแสดงผลตาม Policy ของทางแพลตฟอร์มด้วย

· กำหนดข้อมูลลูกค้าเอง หากมีการกำหนดชื่อลูกค้าเอาไว้ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาจะแสดงเป็นชื่อตามที่ได้ตั้งค่าเอาไว้ เช่น กำหนดชื่อลูกค้าที่มาจาก shopee เป็น “คุณเอ” เมื่อมีออเดอร์เข้ามาระบบจะแสดงชื่อเป็น “คุณเอ” ตามที่ตั้งค่าไว้

8. กด “บันทึก”

 

 

9. จากนั้นกลับมาที่การเชื่อมต่อและอัพเดทต่อข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำการอัพเดทข้อมูลตามที่ทางร้านค้าต้องการ ซึ่งจะมีให้หัวข้ออัพเดท ดังนี้

A. ร้านค้าสามารถทำการนำเข้าข้อมูลรายการสินค้าและจำนวนสต๊อกคงเหลือทั้งหมดจาก Lazada มาที่ระบบ ZORT ได้เลย โดยคลิกที่ปุ่ม “อัพเดท” ในหัวข้อนำเข้าข้อมูลสินค้า (สินค้าที่ถูกลบหรือโดนแบนจะไม่ถูกดึงเข้ามาในระบบ ZORT) 

B. คลิกปุ่ม “อัพเดท” ด้านหลังหัวข้อเชื่อมต่อข้อมูลสินค้า เพื่อทำการเชื่อมต่อข้อมูลสินค้าบน ZORT และ Lazada ให้ตรงกัน

C. หากร้านค้าต้องการนำภาพสินค้าจาก Lazada เข้ามาที่ระบบ ZORT สามารถคลิกที่ปุ่ม “อัพเดท” ด้านหลังหัวข้ออัพเดทรูปภาพสินค้า ระบบจะทำการดึงรูปภาพสินค้ารูปแรกของรายการสินค้าแต่ละรายการบน Lazada มาที่ระบบ ZORT

D. นำเข้าข้อมูลรายการขายย้อนหลัง หากแพ็กเกจของร้านค้าหมดอายุและไม่มีออเดอร์จาก Lazada วิ่งเข้ามาหน้ารายการขาย หลังจากต่ออายุแพ็กเกจแล้วสามารถกดปุ่ม “อัพเดท” เพื่อดึงข้อมูลรายการขายย้อนหลังได้

 

 

เพียงเท่านี้ร้านค้าก็สามารถเชื่อมต่อกับช่องทาง Lazada ได้เรียบร้อยแล้ว

สนใจใช้ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : 02-026-6423
อีเมล: support@zortout.com

Line: @zort